ปัญหาการเก็บส่วยในภาคอีสาน

อีสานเดิมอยู่ใต้อาณาจักรล้านช้าง ต่อมาในสมัยสมเด็จเจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยาจึงตีอีสานใต้ส่วนที่ปัจจุบันคือนครราชสมาและบุรีรัมย์ได้เพื่อใช้โคราช พนมรุ้งคุมเขมรมิให้ต่อต้านไทยได้

ต่อมาสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ไทยได้ควบคุมแถบนี้ไปถึงสุรินทร์

ในปี2318 ไทยได้ปกครองถึงร้อยเอ็ด

ในปี 2319 เมืองนางรองเป็นกบฎ และไปขึ้นกับจำปาสัก ไทยจึงยกทัพไปตีในปี   2320  ตีอีสานใต้ที่เหลือและอาณาจักรจำปาสักได้

ปี  2321  ไทยยกทัพใหญ่ไปตีอาณาจักรเวียงจันทน์เพราะ เวียงจันทน์ส่งทัพมาตีก๊กพระวอที่มาขึ้นกับไทยแล้ว ปี 2322 ไทยตีได้ ลาว รวมทั้งหลวงพระบางและอีสานทั้งหมดก็มาขึ้บกับไทย

การปกครองไทยก็ให้ลาวปกครองแบบเดิมคือระบบอาญาสี่ กษัตริย์ทรงแต่งตั้งเฉพาะสี่ตำแหน่งใหญ่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตรทั้งระดับเมืองและอาณาจักร ที่เหลือเจ้าเมืองก็แต่งตั้งกันเอง




การเก็บภาษีก็เก็บส่วยแบบเดิม แต่ต้องส่งไทย หนึ่งในสาม เจ้าเมืองได้สองในสาม

ปัญหาคือเจ้าเมืองแจ้งจำนวนไพร่ที่จะเสียส่วยต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ส่วนกลางจึงได้ภาษีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก

ต่อมาส่วนกลางเริ่มระแคะระคายว่าได้ภาษีน้อยกว่าที่ควรจะได้ จึงให้เจ้าเมืองส่งส่วยสองส่วน เจ้าเมืองกรมการเมืองได้หนึ่งส่วน ส่วนกลางพอใจที่ได้เงินเพิ่มขึน

แต่จากการตรวจสอบเอกสารที่นักสำรวจฝรั่งเศสสำรวจอย่างละเอียด ทั้งจำนวนไพร่และจำนวนเงินส่วยที่เจ้าเมืองส่งกรุงเทพ พบว่าจำนวนไพร่ที่แจ้งต่อกรุงเทพและส่วยที่ส่งโดยเฉลี่ยไม่ใช่สองในสาม แต่มีเพียงหนึ่งในสาม เจ้าเมืองยังยักยอกไว้ราวสองในสามเหมือนเดิม (แต่ละเมืองยักยอกไว้มากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน)

ที่มา https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcThPH2b2PpdI8454CNYNa3tmntS-IcyztAi62qPJRCDWtzPISJSDA

สรุปว่าการคอรัปชั่นภาษีสมัย ร  1-5 เกิดจากการขาดตัวเลขประชากรที่ถูกต้อง ดังนั้นตอนปลาย ร. 5   จึงมีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ปัญหาการเก็บส่วยยังเกิดจากการที่ไพร่ไปแต่งงานเมืองอื่นทำให้ทางการตามตัวไพร่ไม่พบ

อีกประการหนึ่ง กฎหมายยอมให้ไพร่เลือกสังกัด ย้ายสังกัดได้ทำให้เวลาเปลี่ยนเจ้าเมืองมักจะมีการย้ายนายจนวุ่นวายทำให้การเก็บส่วยยุ่งยาก

การตั้งเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ สมัย ร.1-4  ทำให้ พื้นที่เมืองเปลี่ยนแปลงทำให้จำนวนไพร่สับสน ก็ส่งผลต่อการเก็บส่วย ในป๊  2426  ร. 5 จึงให้ยุติการตั้งเมืองใหม่ในอีสาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น