กบฎผู้มีบุญหนองหมากแก้ว 2467

กบฎผู้มีบุญหนองหมากแก้วเกิดปี 2467 ปลายสมัยรัชกลาลที่หก(2453-2468) พื้นที่กบฎคือ บ้านหนองหมากแก้ว ต.สวนพุง อ.ภูกระดึง จ.เลย
หัวหน้ากบฏคือ พระอาจารย์บุญมา จัตุรัส ไม่ทราบบ้านเดิม แกนนำคือพระอาจารย์สายทอง อินทรไชยศรี คนบ้านหนองคัน ใกล้บ้านหนองหมากแก้ว พระอาจาย์สังข์ คนอุบล
พระทั้งสามจำศีลในถ้ำวัวแดงใกล้บ้านหนองคัน มีชาวบ้านเล่าว่า เห็นพระทั้งสามกับเณรน้อยเดินข้ามลำธารปวนพุโดยจีวรไม่เปียกเพราะเดินไปบนผ้าที่ท่านโยนไปบนลำธาร ชาวบ้านจึงให้ความศรัทธาต่อพระเณรกลุ่มนี้มาก
ต่อมาพระทั้งสามได้ลาสิกขาและแต่งงานกับสาวบ้านหนองหมากแก้ว
  สาเหตุของกบฎคือความไม่พอใจที่ถูกทางการเก็บภาษีรัชชูปการคนละสี่บาท ต่อมาในสมัย รัชกาลที่หกได้เก็บภาษีการศึกษา(ศึกษาพลี) อีกคนละสองบาท รวมเป็นคนละ หกบาท(หกบาทในอีสานขณะนั้นซื้อควายได็หนึ่งตัว) เนื่องจากสังคมอีสานขณะนั้นอยู่กันแบบไม่ต้องใช้เงินเพราะผลิตอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สร้างเรือนได้เองโดยไม่ต้องซื้อจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ต้องหาเงิน เมื่อทางการเก็บภาษีเป็นเงินชาวบ้านจึงเดือดร้อนในการหาเงินเพราะตลาดสมัยนั้นมีน้อยมากหากมีก็อยู่ในตัวเมือง คนอยู่ไกลเมืองจึงลำบากมากในการจะหาบของหลายสิบกิโลเมตรไปขายตลาดในเมือง เพราะสมัยนั้นนการคมนาคมแย่มากอีสานมีแต่ทางเกวียนและบางสายอาจมีลูกรังบ้าง(ในปี2480 หลังกบฎ13ปี อีสานทั้งภาคมีรถยนต์เพียง 453 คัน)
วิธีการของฝ่ายกบฎคือจัดงานบุญในเดือนเมษายน 2467 มีคนมาเป็นจำนวนมากหลายตำบลงานมีทั้งทั้งกลางวันและกลางคืน มีสาวงามฟ้อนรำ มีกลอนลำ ผู้มาใหม่ต้องดื่มน้ำมนต์ ระหว่างชุมนุมเจ้าผู้มีบุญจะเลือกหญิงสาวไปนอนด้วย ถือว่าเข้าฌาน เจ้าผู้มีบุญประกาศว่าพระศรีอริเมตไตรยจะมาปรากฏที่บ้านหนองหมากแก้ว เมื่อนั้นจะไม่มีเจ้านาย ใบไม้จะกลายเป็นเงิน เวียงจันทน์จะฟื้นขึ้นมาใหม่และยิ่งใหญ่กว่าเดิม มีการร้องเพลงระลึกถึงการทำลายเมืองเวียงจันทน์โดยกองทัพไทยด้วยมีชาวบ้านมาชุมชุมถึง 4000 คน
23 พค.2467 ชาวบ้าน 50-60 คน พร้อมคณะเจ้าผู้มีบุญ 7 คน มีปืนเพียงสองกระบอก กับดาบ ค้อน ยกกำลังไปที่ว่าการอำเภอวังสะพุงซึ่งห่างจากบ้านหนองหมากแก้ว 25 กม.
ทางปลัดอำเภอขวาได้เกณฑ์ราษฎรและเสมียน ราวๆ 40 คน ออกไปจับแต่ ฝ่ายกบฎไม่ยอมให้จับ ทางจังหวัดเลยซึ่งหาก อ.วังสะพุง ราว 20  กม. ก็ส่งตำรวจ 24 คนอาวุธปืนครบมือ มาปราบ จับแกนนำ 7คนไปซ้อม และจับชาวบ้านไปด้วยราว100คนโดยไม่มีการต่อสู้ ศาลตัดสินจำคุกแกนนำ 7 คน คนละ 3 ปี ส่วนชาวบ้านก็ปล่อยไป

ที่มาภาพ https://encrypted_tbn1.gstati.com

ที่มา  สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 เล่ม 2 หน้า 201-202 (ขอนแก่น ; คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข.2557)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น