ปัญหารางรถไฟไทย

ถึงเวลาแล้วที่ไทยจะต้องปฏิวัติรถไฟเพราะปล่อยให้ล้าหลังมานานมาก ทั้งที่การขนส่งทางรางมีต้นทุนต่ำกว่าทางถนนมากคือทางถนน 2.12 บาท/ตัน/กิโลเมตร ในขณะที่ขนส่งทางรางต้นทุนเพียง 0.95 บาท/ต้น/กิโลเมตร 

สถิติในปี 2556 คนไทยดินทางระหว่างจังหวัดใช้รถโดยสาร 34.6% รถส่วนตัว 51.37% เครื่องบิน 7.36% รถไฟมีเพียง6.67% ส่วนการขนส่งสินค้าขนทางรางมีเพียง 2.24%
   
ปัญหาที่กำลังถกเถียงกันมากขณะนี้คือรถไฟไทยที่กำลังจะปฏิวัติจะเป็นรางคู่หรือเดี่ยว หรือผสม ขนาดของราง และความเร็ว
    
ก่อนอื่นจะกล่าวถึงขนาดของรางก่อน เริ่มต้นของการสร้างทางรถไฟไทย นายเบทเก (Bethge) วิศวกรเยอรมันและอธิบดีกรมรถไฟคนแรกได้วางระบบไว้ดีมาก คือใช้ขนาดความกว้าง 1.435 เมตรซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานโลก (standard guage)

แต่ต่อมาตอนจะสร้างทางรถไฟสายใต้ อังกฤษคัดค้าน เพราะเกรงว่าเยอรม้นจะเข้าไปมีอิทธพลในภาคใต้และมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ขณะนั้นไทยเป็นผู้น้อยและได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษ (5 เมษายน 2440) ให้อังกฤษคุ้มครองไทย

แต่มีเงื่อนไขว่าภาคใต้ของไทยตั้งแต่เมืองบางสะพานลงไป ไทยจะให้สัมปทานแก่ชาติใดไม่ได้ถ้าอังกฤษไม่ยินยอม รัชกาลที่ 5 (2411-2453) ทรงแก้ปัญหาด้วยการแยกกรมรถไฟเป็น 2 กรมคือกรมรถไฟเหนือดูแลทางรถไฟฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา) รวมภาคอีสาน ภาคเหนือ-ภาคตะวันออก) มีคนเยอรมันเป็นอธิบดี ฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนสุดชายแดนใต้ ให้กรมรถไฟใต้ซึ่งมีคนอังกฤษเป็นอธิบดี การสร้างทางรถไฟสายใต้จึงใช้รางแบบที่ใช้ในมลายูและจะได้เชื่อมต่อกันได้

คือขนาด1เมตร การมีราง 2 ระบบได่สร้างปัญหมากมาย เวลาหัวรถจักรและตู้โดยสารหรือตู้สินค้าเสียหรือไม่พอ จะใช้แทนกันไม่ได้ระหว่างกรมรถไฟทั้งสอง เพราะขนาดของรางกับล้อไม่เข้ากัน

ปัญหาหนี้ยืดเยื้อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 (2453-2468) เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยจึงรวมกรมรถไฟเป็นกรมรถไฟหลวงมีกรมพระกำแพงเพชรอัค่รโยธินเป็นผู้บัญชาการ และให้ใช้ระบบรางแบบ1เมตรเหมือนกันทั้งประเทศ

ในปัจจุบันรถไฟต้องมีความเร็วสูงกว่าเดิมมาก แต่ขนาดของรางเมตรจึงล้าสมัย และอันตรายเวลาวิ่งเร็วเพื่อรักษาเวลาทำให้รถไฟตกรางเสมอ ดังปรากฏในภาคเหนือบ่อยและหากมองในภาพรวมของรถไฟโลก มีความยาวของรางแบบ1เมตรของทุกประเทศรวมกัน 7% ในขณะที่ 93% ใช้รางขนาดกว้างกว่า1เมตร หากนับเฉพาะชนิด 1.435 เมตรมีผู้ใช้ 60% ของรางรถไฟทั้งโลก ผู้เขียนจึงเสนอให้ใช้แบบนี้เพราะมีผู้ผลิตทั้งหัวรถจักร

ตู้โดยสาร ตู้สินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้เราเลือกได้มาก ต่อไปถ้าเราผลิตได้เองก็อาจผลิตขายก็มีคนต้องการมาก

อนึ่งประเทศที่ใช้ราง 1.435 เมตร มีทุกทวีปทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ อาฟริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย รวม720,000 กิโลเมตร โดยเฉพาะจีน ซึ่งตั้งใจจะสร้างทางรถไฟเข้าลาวและไทยก็ใช้รางแบบนี้  ขณะนี้ไทยมีทางรถไฟแบบ 1 เมตร 4,042 กม เป็นแบบ 1.435เมตร 29กม

แต่มีผู้ทักท้วงว่าควรใช้รางแบบ 1 เมตร เพราะพม่า เขมร เวียดนาม มาเลเซีย เป็นรางแบบ 1 เมตร จะได้เชื่อมต่อกันได้ ผู้เขียนเห็นว่าการเชื่อมกับลาวและเวียดนามไม่น่ามีปัญหามากเพราะลาวมีทางรถไฟไม่ถีง 10 กิโลเมตร ส่วนเวียดนามก็สร้างแบบ 1.435  เมตรถึง 527 กิโลเมตรในภาคเหนือที่จะเชื่อมกับจีน ก็เหลือเขมรซึ่งมีทางรถไฟเพียง 690 กิโลเมตร คงจะเจรจาไม่ยากนัก คงต้องใช้ความพยายามมากหน่อย

สำหรับพม่าซึ่งมีทางรถไฟถึง 5031กิโลเมตรกับมาเลเซียซึ่งมีทางรถไฟแบบนี้ 1793 กิโลเมตร แต่ระหว่างเจรจาทำข้อตกลงเราก็ควรสร้างแบบมาตรฐาน 1.435 เมตรต่อไป ควรจะสร้างแบบรางคู่ มิฉะนั้นเราจะเพิ่มความเร็วไม่ได้

ส่วนรถไฟความเร็วสูงตามมาตรฐานโลกต้อง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ไหนๆจะสร้างแล้วก็ทำให้ทันสมัยไปเลย เพราะถ้าเราสร้างแบบ 160 กิโลเมตรกว่าเราจะสร้างเสร็จอีก 5-8 ปี ถึงตอนนั้นก็ยิ่งล้าสมัย ผู้เขียนได้นั่งรถไฟ TGV ของฝรั่งเศสเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ความเร็ว 320 กิโลเมตร/ชม มันนิ่มมาก อยากให้เมืองไทยมีของดีๆ แบบนี้ (ฝรั่งเศสมีประชากร 60 กว่าล้านคนพอๆ กับไทย)
   
แผนที่ในภาพสุดท้ายจะเห็นว่าสีม่วงเเป็นประเทศที่ใช้รางขนาด 1 เมตร ไทยก็อยู่กลุ่มนี้ ส่วนสีฟ้ามีมากที่สุดถึง 60% ใช้ขนาดราง 1.435 เมตร

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต เบื้องลึกการเสียดินแดนและปัญหาปราสาทพระวิหารจากรศ 112 ถึงปัจจุบัน (กรุงเทพ สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ 2553) thaipublica.org/2014/08/the_truth


*เผยแพร่ครั้งแรก 29 มิย. 2558
  suwit-history.blogspot.com



ภาพที่ 1   แผนที่เชื่อมต่อทางรถไฟอาเซียนกับจีนในอนาคต


ภาพที่ 2  รถไฟไทยในปัจจุบัน


ภาพที่ 3  รถไฟความเร็วสูงของจีน


ภาพที่ 4  ผู้เขียนกับรถไฟ tgv ที่สถานีรถไฟดีจอง ฝรั่งเศส พค 2558 



ภาพที่ 5 
อ่านเพิ่มเติม »

ผลกระทบของรถไฟอีสานในอดีต

หลังจากมีการเปิดเดินรถไฟสายอีสานในปี 2443 แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในภาคอีสาน สรุปได้ดังนี้

1. การเพิ่มขึ้นของการขนส่งสินค้า ก่อนสร้างทางรถไฟ สินค้าเข้าออกอีสานเฉลียปีละ 2100 ตัน หลังมีทางรถไฟ เพิ่มเป็น 22,565 ตันในปีเดียว หรือเพิ่มเป็น 10.7 เท่า ในปี 2461 เพิ่มเป็น 91,299 ตัน (43.5เท่า)

2. ชนิดของสินค้าเข้าออกอีสานได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สินค้าเข้า อาทิ ไม้ขีดไฟ ตะเกียง ตะเกียงเจ้าพายุ น้ำมันก๊าด สบู่ ด้าย สีย้อมผ้า ร่ม เทียนไข กระจก เครื่องเหล็ก เครื่องทองเหลือง น้ำตาลทราย กะปิ น้ำปลา อาหารกระป๋อง แม้กระทั่งสังกะสี หลังมีทางรถไฟบ้านที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟและมีฐานะดีพากันเปลี่ยนจากมุงแฝกไปมุงสังกะสีแทน ส่วนสินค้าออก อาทิ ไม้ ครั่ง เกล็ดลิ่น ชัน ผลเร่ว (ใช้ทำยารักษาโรคท้อง) เขากวาง กระดูกเสือ น้ำมันยาง

3. ชาวนาที่อยู่ในรัศมีราว 50 กม. จากทางรถไฟ พากันปลูกข้าวเพิ่มขึ้น เพื่อขายและนำเงินไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ในปี 2454 มณทลนครราชสีมาปลูกข้าว 213,213ไร่ ในปี 2465 เพิ่มเป็น 549,420 ไร่

4. ปริมาณคนเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2443 จำนวนตั๋วโดยสารรถไฟสายโคราชขายได้ 37,693 ใบ ในปี 2444 เพื่อเป็น 111,500 ใบ ปี 2447 เพิ่มเป็น 199,020 ใบ

5. การค้าขายใกล้สถานีรถไฟขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีตลาดเกิดขึ้นมากมาย

6. เกิดอาชีพใหม่ๆ ได้แก่
6.1  อาชีพกรรมกร กรรมกรสร้างทางรถไฟ กรรมกรแบกของขึ้นลงรถไฟ
6.2  อาชีพโสเภณี เกิดตามชุมชนใหม่ใกล้สถานีรถไฟเช่น โคราช บ้านไผ่ ขอนแก่น
ในช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นหญิงจีน
6.3  อาชีพบริการที่พัก ตามเมืองใหญ่ที่มีสถานีรถไฟเช่นโคราช อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานีมีโรงแรมตั้งขึ้นเพื่อบริการคนเดืนทางที่ต้อง้ดินทางต่อไปที่อื่น
6.4  อาชีพขนส่งอาทิให้เช่าเกวียนขนส่งสินค้าต่อมาก็มีรถรับจ้างนานาชนิด
6.5  อาชีพเจ้าของโรงยาฝิ่น ส่วนมากเป็นคนจีนเช่นเดียวกับเจ้าของโรงแรม
6.6  อาชีพอุตสาหกรรม เช่นเจ้าของโรงสีข้าว โรงเลื่อย โรงฟอกหนัง โรงน้ำแข็ง
6.7  วิชาชีพชั้นสูง เช่นในปี2480มีการสำรวจอาชีพในมณทลอุบล มีครูอาจารย์ 2,893 คน วิศวกร 23 คน ทนายความ 22 คน แพทย์ 11 คน คนเหล่านี้ส่วนมากมาจากภาคกลาง
7. อาชีพหัตถกรรมลดลงเช่นการทอผ้า การตีเหล็ก เพราะมีของนอกเข้ามามีคุณภาพดีกว่าเดิม หัตถกรรมจึงค่อยเลิกผลิตไป โดยเฉพาะพื้นที่ไม่ห่างสถานีรถไฟ

8. มีการย้ายสถานที่ราชการเช่น ที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย ศิขรภูมิมา อยู่ใกล้สถานีรถไฟ ย้ายศาลากลางจังหวัดขุขันธ์มาอยู่ที่สถานีรถไฟศรีสะเกษ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดศรีสะเกษ

9. มีคนอีสานส่วนหนึ่งมีโอกาสได้ไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ซึ่งมีทั้งโรงเรียนมัธยมมากมาย และมีมหาวิทยาลัย คนเหล่านี้ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสูงในเวลาต่อมา 


ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต:ประวัติศาสตร์อีสานเล่มที่ 2 (ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2557 หน้า 106-175.

*เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิย. 2558
  suwit-history.blogspot.com


ภาพที่ 1  ชาวนาอีสานที่อยู่ในรัศมี 60 กม. จากสถานีรถไฟผลิตข้าวเพื่อขาย


ภาพที่ 2  โรงสีไฟของชาวจีนซื้อข้าวจากชาวนามาสีเพื่อขาย


ภาพที่ 3  ตลาดวารินชำราบในปัจจุบัน


ภาพที่ 4  ตลาดอ.จีระขอนแก่น ในปัจจุบัน


ภาพที่ 5  ตลาดท่าเสด็จ  หนองคายในปัจจุบัน


ภาพที่ 6  โรงแรมรุ่นแรกในอีสานสร้างด้วยไม้


ภาพที่ 7  โรงแรมรุ่นแรกในอีสานสร้างด้วยไม้


ภาพที่ 8  โรงฟอกหนังในปัจจุบัน


ภาพที่ 9  โรงน้ำแข็งในปัจจุบัน


ภาพที่ 10  โรงเลื่อย

อ่านเพิ่มเติม »

รถไฟอีสาน

รัชกาลที่ 5 ทรงอนุมัติให้สร้างทางรถไฟสายอีสานเป็นสายแรกของประเทศไทย เหตผลสำคัญคือ

 (1) ภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นได้ยึดเขมร เวียดนามกับสิบสองจุไทยของไทยไปแล้ว

 (2) การขนส่งในภาคอีสานลำบากมากต้องใช้เกวียนหรือหาบและ ไม่มีถนนมีแต่ทางเกวียน จากโคราชไปกรุงเทพฯเดินทางด้วยเกวียนใช้เวลา 16-27 วัน จากกาฬสินธุ์ไปถึงอุบลใช้เวลา 14 วัน

การสร้างทางรถไฟสายอีสานใช้วิธีประมูล บริษัทอังกฤษชนะการประมูลด้วยเงิน 9.96 ล้านบาท โดยจะต้องสร้างให้เสร็จใน 5 ปี แต่เวลาสร้างจริงใช้เวลาถึง 9 ปี เพราะผู้สร้างมีทุนน้อย สร้างล่าช้าจนรัฐบาลต้องยึดสัมปทานมาทำเอง

รัชกาลที่ 5 ทรงเปิดการก่อสร้างโดยทรงขุดดินริมคลองผดุงกรุงเกษมหน้าวัดเทพศิรินทร์เป็นปฐมฤกษ์เมื่อ 9 มีนาคม 2434 

26 มีนาคม 2439 เปิดเดินรถช่วงกท-อยุธยา การก่อสร้างช่วงดงพระยาเย็นแถวปากช่อง สีคิ้วเจอปัญหาไข้ป่า ทำให้คนงานตายไป 414 คน วิศวกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยอรมันตายไป 36 คน ทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปมาก

21 ธันวาคม 2443 จึงมีการเปิดเดินรถสาย กทม.-นครราชสีมา รวมเวลาก่อสร้าง 9 ปี ใช้เงิน 17.59 ล้านบาท (เฉลี่ย 66,360 บาท/กม) ระยะทาง 265 กม  เป็นรางเดี่ยว กว้าง1.435 เมตร (standard guage)
หลังจากสร้างทางรถไฟถึงโคราชแล้ว รัฐบาลพักการก่อสร้างในอีสานราว 20 ปี เพราะมีเงินนัอยสร้างพร้อมกันทั้งประเทศไม่ได้ เมื่อสร้างทางภาคใต้และภาคเหนือเสร็จพร้อมกันในปี 2464 (รัชกาลที่ 6) จึงกลับมาสร้างสายอีสานต่อ
 @ อีสานใต้ เปิดเดินรถถึง บุรีรัมย์ 1 เมษายน 2468    
      * สุรินทร์ 1 พฤษภาคม 2469
      * ศรีสะเกษ1 สิงหาคม 2471
      * อุบลราชธานี (อำเภอวารินชำราบ) 1 เมษายน 2473
 @ อีสานเหนือ
      * บัวใหญ่1พฤษภาคม 2474
      * บ้านไผ่ 2475
      * ขอนแก่น 1 เมษายน 2476
      * อุดรธานี 24 มิถุนายน 2484
      * หนองคาย 2  - กันยายน 2499
# ภาพ 1 รัชกาลที่ 5 (2411-2453) เสด็จเปิดทางรถไฟสายอีสาน 21 ธ้นวาคม 2443
# ภาพ 2 รถไฟรุ่นเก่าที่ใช้ในภาคอีสาน
# ภาพที่เหลือสถานีรถไฟสำคัญในภาคอีสานปัจจุบัน

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต:ประวัติศาสตร์อีสานเล่มที่ 2 (ขอนแก่น:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557 หน้า106-175


*เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิย 2558
  suwit-history.blogspot.com




ภาพที่ 1


ภาพที่ 2

ภาพที่ 3


ภาพที่ 4


ภาพที่ 5


ภาพที่ 6


ภาพที่ 7


ภาพที่ 8

อ่านเพิ่มเติม »

ประวัติรถไฟไทยโดยสังเขป

รถไฟไทยเริ่มต้นในรัชกาลที่ 5 (2411-2453) เป็นรถไฟของบริษ้ทเอกชนเดนมาร์กที่ได้รับสัมปทานในปี 2429 แต่กว่าจะเปิดเดินรถก็ 11 เมษายน 2436 เพราะบริษัทมีทุนน้อยจนรัฐบาลต้องให้ยืมเงิน 

แต่รถไฟที่มีบทบาทในประเทศไทยคือ รถไฟของรัฐบาล กล่าวคือในปี 2430 รัฐบาลได้จ้างวิศวกรชาวอังกฤษสำรวจภาคเหนือและอีสาน ต่อมาในเดือนตุลาคมรัฐบาลได้ตั้งกรมรถไฟ โดยจ้างนายเบทเก (Bethge) วิศวกรเยอรมันเป็นอธิบดี มีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ   

ต่อมารัฐบาลได้ตัดสินใจสร้างรถไฟสายอีสานเป็นสายแรก เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสมีท่าทีคุกคามไทยมากที่สุด โดยยึดเขมรและเวียดนามและสิบสองจุไทไปแล้ว ในปี 2434 มีการประมูลสร้างรถไฟสายอีสานช่วงกรุงเทพฯ-โคราช 

บริษัทอังกฤษชนะการประมูลในราคา 9.96 ล้านบาท เงินค่าก่อสร้างนำมาจากการขายหุ้นๆ ละ 100 บาท จำนวน 160,000 หุ้น แต่ปรากฏว่าบริษัทอังกฤษสร้างช้ากว่าสัญญามาก รัฐบาลจึงเลิกสัญญาและสร้างเองช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา เสร็จเปิดเดินรถ 26 มีนาคม 2439 และเสร็จถึงโคราชเปิดเดินรถ 21 ธันวาคม 2443 ขนาดความกว้างของราง แบบ Standard Guage (1.435 เมตร)
@ ภาคอีสานเปิดเดินรถถึงอุบลราชธานี (สถานีปลายทางอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ) เมื่อ 1 เมษายน 2473 ถึงขอนแก่นปี 2476 ถึงอุดรธานีปี 2484 และหนองคายปี 2499 (ร.9)
@ ภาคเหนือถึงปากน้ำโพปี 2848 ถึงเชียงใหม่ปี 2464 ช่วงที่เสียเวลาถึง 11 ปี คือตอนสร้างอุโมงค์ขุนตาลซึ่งยาว 1.3 กม.
@ ภาคใต้ถึงสุไหงโกลกปี 2464 (ร 6)
@ ภาคตะวันออกถึงฉะเชิงเทราปี 2450 อารัญประเทศปี 2469 (ร.7)
@ ภาคตะวันตกถึงสุพรรณบุรี ปี 2502 (ร.9)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปิดใช้ทางรถไฟ 932 กม. กำลังก่อสร้าง 690 กม. รัชกาลที่ 6 มีทางรถไฟเปิดใช้ 2581 กม. กำลังก่อสร้าง 497 กม.
ในปัจจุบัน(พย2557)ไทยมีทางรถไฟยาว4034กมโดย91.5%เป็นรางเดี่ยว ทำให้รถไฟไทย
ซิ่งช้ามากและไม่ค่อยตรงเวลา จากปี2494ถึงปัจจุบันรวม63ปีไทยมีทางรถไฟเพิ่มเพียง666กม
@ ภาพ1 รัชกาลที่ 5ทรงขุดดินพระฤกษ์ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดเทพศิรินทร์ 9 มีนาคม 2434 นับเป็นการเริ่มการสร้างทางรถไฟขนานใหญ่ในประเทศไทย
@ ภาพ 2 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงทำให้การรถไฟไทยก้าวหน้าในอันดับต้นๆ ของเอเชีย 
@ ภาพ 3-4 รถไฟไทยรุ่นแรกๆ
@ ภาพ 5-6 รถไฟที่ใช้เครื่องดีเซล
@ ภาพ 7 สถานีรถไฟหัวลำโพงสร้างปี 2453 เสร็จปี 2559 (ร.6) ด้านหลัง
@ ภาพ 8 สถานีรถไฟหัวลำโพง ด้านหน้า
*เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิย 2558

ภาพที่ 1


ภาพที่ 2


ภาพที่ 3


ภาพที่ 4


ภาพที่ 5


ภาพที่ 6


ภาพที่ 7


ภาพที่ 8

อ่านเพิ่มเติม »

รถไฟยุคพัฒนา

รถไฟในยุคแรกใช้ไอน้ำเป็นตัวผลักดันลูกสูบ ใช้ฟืนหรือถ่านหินเป็นต้นกำเนิดพลังงาน ซึ่งมีปัญหาเรื่องควันและฝุ่นมาก หลังสงครามโลกครั้งที่สองหลายประเทศหันมาใชัเครื่องดีเซลซึ่งไม่ค่อยมีควันและมีแรงขับสูงมากทำใหัวิ่งได้เร็วขึ้นและลากตู้ได้มากขึ้น

ต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์นำระบบพลังแม่เหล็กจากพลังไฟฟ้ามาใช้ ทำให้รถไฟไม่สัมผัสรางแต่ลอยอยู่เหนือราง ช่วยลดการสะเทือนและวิ่งได้เร็วขึ้นมาก เราเรียกว่า high speed train ซึ่งทั่วโลกตกลงให้นับ 200 กม/ชมขึ้นไปเป็น hst

เป็นที่ยอมรับกันว่า hst หรือ ชินกันเซน ของญี่ปุนและรถ TGV ของฝรั่งเศส นับเป็นระบบที่มีคุณภาพสูงมากมีหลายประเทศนำไปใช้ แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้จีนมาแรงมากสร้าง hst ได้และขยายทางรถไฟแบบ hst ไปอย่างรวดเร็วจนมีรางยาวเกินกว่าครึ่งของรางรถไฟแบบนี้ของโลกรวมกัน

  • ภาพ 1,2, เป็นรถไฟดีเซล
  • ภาพ 3 รถไฟฝรั่งเศส
  • ภาพ 4 รถไฟเยอรมัน
  • ภาพ 5 รถไฟญี่ปุ่น
  • ภาพ 6 รถไฟจีน ทั้ง 3-6 เป็น high speed train หรือ hst ปัจจุบันมีกว่า 20 ประเทศที่มี hst วิ่งบริการ
  • ฝรั่งเศสบริษัท SNCF รถผลิตโดย Alstom ความเร็วที่ใช้บริการ 300 และ 320 กม/ชม
  • ญี่ปุ่นมีห้าบริษัท รถผลิตโดย Hitachi, Kawasaki ,Kinki Sharyo ,Nipping Sharyo ความเร็ว 260/275/285/300/320 กม/ชม
  • เยอรมันมีบริษัท DB รถผลิตโดย Siemens, Krauss_Maffei, Thyssen_Hanschel เป็นต้น ความเร็ว 280/320 กม/ชม
  • จีนมีบริษัท China Railway Corporation รถผลิตโดย Sinfang, Tangs​hun, Alstom, Kawasaki, Siemens etc ความเร็ว 250/300 ม/ชม

ประเทศอื่นที่มีรถ hst ได้แก่ สหรัฐ, อ้งกฤษ, อิตาลี, สเปน, สวิส, ฟินแลนด์, รัสเซีย, นอรเวย์, เดนมาร์ก, สวีเดน, ฮอลแลนด์, เบลเยียม, โปรตุเกส, อุซเบกิสถาน, ตุรกี, เกาหลีใต้ และไต้หวัน ประเทศเหล่านี้ส่วนมากใช้รถที่ผลิตโดยฝรั่งเศส รองลงมาเป็นเยอรมัน

*เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิย 2558






อ่านเพิ่มเติม »

พัฒนาการรถไฟโลกโดยสังเขป

รถไฟเป็นการปฏิวัติโลจิสติกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก คนเลิกใช้รถม้า เกวียน คนที่มีคุณูปการต่อการปฏิวัติดังกล่าวคือ เจมส์ วัตต์ และยอร์จ สตีเฟนสัน

วัตต์เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1739 ที่เมืองกรีนนอค อังกฤษ เป็นนักประดิษฐ์และวิศวกรเครื่องกล เขาพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำของโทมาส นิวโคเมนจนสามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ (ดูภาพ1-2)

ยอร์จ สตีเฟนสัน (เกิดวันที่ 9 มิถุนายน 1781 และเสียชีวิตเมื่อ 12 สิงหาคม 1848) เขาเกิดที่เมือง wylam ประเทศอังกฤษ เขาเป็นนักประดิษฐ์ วิศวกรโยธาและเครื่องกล เขาเป็นผู้ประดิษฐ์รถไฟคันแรกที่นำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เขาตั้งชื่อมันว่า Blucher (ตามชื่อแม่ทัพปรัสเซียที่รบชนะนโเลียน) 

รถไฟนี้ใช้บรรทุกถ่านหินจากเหมืองในปี 1819 (ตรงกับต้นรัชกาลที่ 2) ที่เมืองซันเดอแลนด์ต่อมาในปี 1821 เขาได้สร้างทางรถสายแรกของโลกระหว่างเมือง Darlington-Stockton เปิดใช้ในปี 1825 (ต้นรัชกาลที่ 3) ใช้รางกว้าง 4 ฟุตครึ่งนิ้ว ต่อมาเขาได้พัฒนาหัวรถจักรจนในปี 1829 วิ่งได้เร็ว 36 ไมล์/ชม ซึ่งเร็วกว่าม้าเขาตั้งชื่อมันว่า Rocket

ในปี 1830 Duke of Wellington วีรบุรุษที่รบชนะนโปเลียนที่ Waterloo และนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ไปเปิดการเดินรถไฟสาย  Liverpool-Manchester

เทคโนโลยีที่สตีเฟนสันคิดได้แพร่ขยายไปสู่ประเทศอื่นรวมทั้งสหรัฐอเมริกา รถไฟคันแรกแม้เจ้าบลูเชอร์จะวิ่งช้าคือ 4 ไมล์/ชม แต่สามารถลากตู้สินค้า 8 ตู้ หนัก 30 ตัน ต่อมาประสิทธิภาพของรถไฟได้เพิ่มขึ้นความเร็วและน้ำหนักบรรทุกก็เพื่อขึ้นรถไฟ 1 คันลากตู้สินค้าได้ถึง 20 ตู้ มากกว่าเกวียน 600 เล่ม และเร็วกว่าเกวียน 15-20 เท่า (ดูภาพ3, 4 และ 5)

  • รถไฟได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ รวมทั้งอังกฤษต้นตำหรับ (ดูภาพที่ 6-7)
  • ภาพที่ 8 การแข่งขันรถไฟ
  • ภาพที่ 9 รถไฟเยอรมัน
  • ภาพที่ 10 รถไฟฝรั่งเศส (ปี1930)
  • ภาพที่ 11 รถไฟรัสเซีย (มีดาวแดง)

*เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิย 2558
  suwit-history.blogspot.com



ภาพที่ 1


ภาพที่ 2


ภาพที่ 3


ภาพที่ 4


ภาพที่ 5


ภาพที่ 6


ภาพที่ 7


ภาพที่ 8


ภาพที่ 9


ภาพที่ 10


ภาพที่ 11


อ่านเพิ่มเติม »

ระลึกถึง 83 ปี ประชาธิปไตยไทย

วันนี้เป็นวันครบรอบ 83 ปี ของการปฏิวัติ 2475 เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยไทย แม้ในช่วง 83 ปีที่ผ่านมา มันจะลุ่มๆ ดอนๆ ก็ตามรัฐบาลได้ถือเอาวันที่ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติไทย จนสามทศวรรษต่อมาจอมพลสฤษดิ์ได้ยกเลิก วันที่ 24 มิถุนายน มิให้เป็นวันชาติไทย

แต่หมุดประชาธิปไตยก็ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นจุดที่พันเอกพหลพลพยุหเสนาได้ยืนประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม

พันเอกพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เกิดที่บ้านหน้าวัดราชบูรณะ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และสอบได้ทุนไปเรียนจนจบโรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน โรงเรียนช่างแสง ประเทศเดนมาร์ก

พันเอกพหลพลพยุหเสนาเป็นทหารปืนใหญ่เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ 2475 ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองหลังชิงทำรัฐประหารในเดิอนมิถุนายน 2476 ก่อนที่ฝ่ายขวาจะยึดอำนาจกลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหมือนเดิม ท่านเป็นนายกช่วง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476-11 กันยายน พ.ศ. 2481 ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นนายกที่มือสะอาดที่สุดเท่าที่มีมาในประเทศนี้

ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 อายุ 59 ปี เหลือเงืนติดบ้านเพียง 8 สลึงเท่านั้น ท่านทำพินัยกรรมยกศพให้รัฐบาลให้ช่วยจัดการ

ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ต้นคิดปฏิวัติพ.ศ. 2475 และผู้นำปฏิวัติฝ่ายพลเรือน ทั้งยังเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับที่สอง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ที่อยุธยา เรียนโรงเรียนวัดศาลาปูน เรียนมัธยมโรงเรียนวัดเบญจมบพิธ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนกฏหมายกระทรวงยุติธรรม และปริญญาเอกทางกฏหมายเกียรตินิยมดีเยี่ยมจากมหาวิทยาลัยปารีส

ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านเป็นนายกช่วง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ถึง 5 ธันวาคม 2488 ท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านถึงแก่อสัญกรรมที่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 

เราขอคารวะท่านผู้มีคุณูปการต่อประชาธิปไตยไทย ผู้ทำให้คนไทยเริ่มมีความรู้สึกเท่าเทียมกันเป็นครั้งแรก และเป็นครั้งแรกที่กฏหมายบัญญัติให้คนไทยเท่าเทียมกัน

*เผยแพร่ครั้งแรก 24 มิย 2558
  suwit-history.blogspot.com



ภาพที่ 1


ภาพที่ 2


ภาพที่ 3


ภาพที่ 4

อ่านเพิ่มเติม »