ฮิลเลอร์ขึ้นมาเป็นผู้เผด็จการเหนือเยอรมนีได้อย่างไร

ฮิตเลอร์เกิดในวันที่ 20 เมย.1889 ชายแดนออสเตรียต่อกับเยอรมัน พ่อเป็นข้าราชกรมศุลกากรชั้นผู้น้อย แม่เป็นแม่บ้านมีพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน 7 คน เขาเป็นลูกคนที่3 เพราะเขาเกเรชอบทะเลาะกับเพื่อนเรียนก็ไม่ดี ฐานะทางบ้านก็ไม่ดี พ่อจึงให้ออกจาก รร.เขาจึง จบเพียง ม.4  เขาชอบอยู่วิชาเดียวคือวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งครูชื่อ Dr Leopold Poetsch ที่สอนให้เขาภูมิใจในชาติและเกียรติยศของชาติเยอรมัน

เขาเคยอยากเป็นบาทหลวงแต่ก็เป็นไม่ได้ เขาอยากเป็นจิตรกรพยายามสอบเข้าสถาบันวิจืตรศิลป์ที่เวียนนาถึงสองครั้งแต่ก็สอบตก เขาทำงานหลายอย่างตั้งแต่คนรับใช้ วาดภาพโปสเตอร์  ภาพโฆษณา ช่างทาสี ช่างอิฐ ช่างปูนแต่ก็เอาดีไม่ได้สักอย่าง เขาเกลียดยิวที่เป็นนายจ้างงานที่กล่าวมาแล้วและเอาเปรียบเขา

งานที่เขารักและประทับใจที่สุดคือทหาร เพราะเขาสมัครเป็นทหารออสเตรียตอนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ออสเตรียไม่รับติว่าเขาผอมไป เขาจึงมาสมัครเป็นทหารเยอรมันๆรับไว้ในกรมทหารราบที่16 มีหน้าที่เดินสาร เขารบอย่างกล้าหาญ เคยถูกแก๊สพิษจนตาบอดไปหลายวัน เขาคนเดียวเคยจับทหารอังกฤษเป็นเชลยถึง16 คนเขาจึงได้เหรียญกล้าหาญถึงสองเหรียญและได้เลื่อนยศจากพลทหารเป็นสิบโท เมื่อเขาเป็นใหญ่ในพรรคนาซี เขานำวินัยไปใช้ในพรรคและใช้กับคนเยอรมันทั้งประเทศ

สงครามโลกยุติลงโดยเยอรมันแพ้สงคราม เขาถูกปลดประจำการ แต่ไม่นานกองทัพก็เรียกเขามาทำงานด้านข่าว ในกรมการเมือง ของกองทัพบกงานนี้ทำให้เขาเข้าถึงชีวิตของกรรมกร ในที่สุดเขาก็ลาออกจากกองทัพมาร่วมตั้งพรรคกรรมกร ในไม่ช้าก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้น เขาจึงเปลียนชือพรรคเป็นพรรคสังคมชาตินิยมหรือพรรคนาซีในปี1920

ปัจจัยที่ทำให้พรรคนาซีได้เป็นรัฐบาลในต้นปี1933และมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือเยอรมัน สรุปได้สี่ประการ

1 สถานการณ์เอื้ออำนวย ทั้งสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ  พอสงครามโลกครั้งที่1 จะยุติก็เกิดการปกิวัติเปลียนจากราชาธิปไตย เป็นสาธารณรัฐซึ่งคนเยอรมันไม่คุ้นเคย เนื่องจากเป็นของใหม่จึงมีความคิดเห็นแตกต่างกันมากในแนวทางการเมืองและนโยบายแก้ปํญหาเศรษฐกิจของเยอรมัน กลุ่มฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายมีความพยายามจะยึดอำนาจในบาวาเรียถึงสามครั้ง ฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายก็เคยยึดอำนาจในเบอลิน แต่ก็ถูกปราบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับที่บาวาเรีย นอกจากนี้ปํญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากทำให้แก้ยากต้องใช้เวลาแต่คนเยอรมันรอไม่ได้จึงพากันเดินขบวนขับไล่ จนต้องเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ การเมืองจึงไม่มีเสถียรภาพ

2 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยิ่งสาหัสกว่าการเมืองเสียอีก เพราะเมืองขึ้นของเยอรมัน1 ล้านกว่าตารางไมล์ถูกฝ่ายชนะยึดไปหมด ตลาดและแหล่งวัตถุดิบหายไปมหาศาล การคืนแคว้นอัลซาสและลอเรนน์ ให้ฝรั่งเศสทำให้เยอรมันเสียแหล่งอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหิน  เยอรมันต้องยกเรือสินค้าให้กับผู้ชนะเกือบหมด ทหารที่ถูกปลดประจำการนับล้านทำให้คนว่างงานที่มากอยู่แล้วมากยิ่งขึ้น ปํญหาเงินเฟ้อก็เพิ่มขึนเรื่อยๆ ที่ร้ายแรงที่สุดคือเยอรมันต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามปีละ 50 ล้านปอนด์ 49ปี ใช้ได้สามปีก็ไม่มีเงินจ่าย ฝรั่งเศสจึงยึดแคว้นรูห์ไว้เป็นประกัน กรรมกรเยอรมันจึงสไตรค์ และไม่ได้ค่าแรง รัฐบาลเยอรมันเกรงว่ากรรมกรจะอดตายจึงพิมพ์ธนบัตรมาจ่ายให้กรรมกร ผลคือในปี1923 เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน เงิน1พันล้านมาร็ก ซื้อไม้ขีดไฟได้กล่องเดียว คนที่อาศัยบำนาญและกินเงินเดือน รวมทั้งคนที่มีเงินฝากในธนาคารพากันหมดตัว

3 พรรคนาซีมีนโยบายที่คนกลุ่มต่างๆพอใจมากกว่าพรรคอื่นกล่าวคือเกษตรกรก็พอใจนโยบายประกันราคาพืชผล และลดภาษีให้เกษตรกรที่ซื้อเครื่องจักร กรรมกรก็พอใจที่พรรคนี้มีนโยบายฟื้นฟูอุตสาหกรรม พวกทหารเก่าและพวกชาตินิยมพอใจนโยบายฉีกสัญญาแวซายส์โดยการเอาดินแดนที่มีคนเยอรมันทีถูกยกให้โปแลนด์และเชคโกสโลวาเกียกลับคืน และเยอรมันจะต้องสร้างกองทัพและอุตสาหกรรมผลิตอาวุธอีกครั้งซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างงานจำนวนมาก นายทุนก็เอาเงินมาให้หลายล้านมาร์กเพราะพรรคนาซีมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ พวกเดียวที่ไม่ชอบพรรคนาซีคือชาวยิวเพราะพรรคนาซีมีนโบายต่อต้านยิวทั้งอาชีพ การศึกษารวมทั้งการห้ามคนเยอรมันแต่งงานกับยิว นโยบายต้านยิวจะรุนแรงขึ้นเมื่อพรรคนาซีมีอำนาจเบ็ดเสร็จ

4 พรรคนาซีมีประสิทธิภาพสูงเพราะมีวินัยเข้มงวดแบบทหาร มีการจัดตั้งสาขาพรรคและเพื่มสมาชิกที่เป็นระบบมาก ตัวฮิตเลอร์และ ดร.เกิบเบิลโฆษกพรรคมีความสามารถในการพูดชักจูงให้มวลชนเชี่อถือมาก

จากปัจจัยดังกล่าวทำให้พรรคนี้ได้ที่นั่ง สส.เพิมขึ้นๆเลือกตั้งในปี 1930 ได้ สส.107 คน  ปี1932 230คน  ปี 1933 ได้ 288 คน(43.5%) ซึ่งมีเสียงเป็นอันดับ 1 จึงได้รับสิทธิ์ในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคนาซีจึงเอาพรรคฝ่ายขวามารวมจัดตั้งรัฐบาลได้เป็นครั้งแรก เมื่อ 30มค.1933โดยมีฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมา23 มีค .1933 รัฐสภาก็ออกกฏหมาย Enabling Act ให้ฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการ 4  ปี (ต่อมาขยายอำนาจจนเป็นตลอดชีวิต)  2 สค.1934 ประธานาธิบดีฮินเดนเบิร์ก ถึงแก่กรรม ฮิตเลอร์ก็รวมตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี แล้วเรียกว่าท่านผู้นำหรือ Fuhrer อิตเลอร์รวบทั้งอำนาจบริหาร ตุลาการและนิติบัญญัติมาไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เขาเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าราชการทุกแคว้น ศาลเก่าถูกยุบหมดแล้วฮิตเลอร์ก็ตั้งศาลประชาชนมาแทน เขาเป็นคนตั้งผู้พิพากษา พรรการเมืองอื่นถูกยุบเหลือแต่พรรคนาซี

ภายในุ6 ปี ฮิตเลอร์ก็ทำให้เศรษฐกิจเยอรมันมีเสถียรภาพและแข็งแกร่งอีกครั้ง เยอรมันมีกองทหารที่เกรียงไกร สามารถเอาออสเตรีย เชคโกสโลวาเกียมารวมกับเยอรมันได้ ทำให้ฮิตเลอร์ย่ามใจและไม่มีผู้ใดในรัฐสภาและใน ครม.กล้าคัดค้านเมื่อฮิตเลอร์ ผนวกฉนวนโปแลนด์ในวันที่ 1 กย.1939 ผลคือเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้เยอรมัน ยุโรป อาฟริกาเหนือและบางส่วนของเอเชียย่อยยับ มีทหารและพลเรือนตายราว40 ล้านคน ฮิตเลอร์ยิงตัวตายเมื่อ30 เมย.1945 อายุ  56ปี 10วัน มีอำนาจ 12ปี 3 เดือน
ที่มาสองภาพบน https://encrypted-tbn2.gstatic.com
ตัวเลขเงินเฟ้อในปี1923

ที่มา https://encrypted-tbn1.gstatic.com
 ผู้หญิงเยอรมันกับกองเงินที่เฟ้ออย่างไม่เคยมีมาก่อน ในปี 1923


ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต ฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นผู้เผด็จการเหนือเยอรมนีได้อย่างไร วารสารประวัติศาสตร์ ปีที่8 ฉบับที่2  พค.-สค.2526 หน้า 107-132
อ่านเพิ่มเติม »

สภาพัฒน์ฯเกิดขึ้นได้อย่างไร

 เก้าปีก่อนการตั้งสภาพัฒน์ฯหรือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ในวันที่ 4 กค.2502 ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจของประเทศ แต่มีหน่วยงานหนึ่งเรียกว่าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ตั้ง  วันที่ 15 กพ.2493 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีหน้าที่เสนอแนะต่อรัฐบาลทางด้านเศรษฐกิจ

คณะกรรมการ สภาเศรษฐกิจแห่งชาติดโดย มล.เดช สนิวงศ์ มีความเห็นว่าประเทศไทยเสื่อมโทรมไปมากระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้นมา การจะฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมา จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นจำนวนมากเงินในประเทศไม่พอ ต้องกู้เงินต่างประเทศ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ต่างประเทศจะให้เงินกู้ ไทยจะต้องมีโครงการที่ที่ดี แต่จะทำได้อย่างไร ในเมื่อไทยไม่มีข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคมที่เพียงพอ รัฐบาลรัฐบาลจึงขอทุนจากธนาคารโลกมาสำรวจเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศไทย ธนาคารโลก อนุมัติ ส่งผู้เชี่ยวชาญมา9 คน จาก 6 ประเทศ มี ศ.ดร. Paul T. Ellworthแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ เป็นหัวหน้า ฝ่ายไทยได้ตั้ง กรรมการ 15 คนเข้ารวมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญ มี มล.เดช(อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอดีต ผจก. ธนาคารเพื่อการสหกรณ์) เป็นประธาน  ผู้เชี่ยวชาญชุดที่ว่าทำงานสำรวจอยู่1ปี(กค.2500-มิย.2501) ก็สำเร็จ ได้เสนอรายงานชื่อ โครงการพัฒนาของรัฐสำหรับประเทศไทยต่อรัฐบาลไทย และยังได้เสนอให้รัฐบาลตั้งหน่วยงานกลางเพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ในวันที่ 20 ตค.2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหารครั้งที่สองและเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ จึง ออก พรบ.ตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติให้มีหน้าที่วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่หน่วยราชการเสนอมา เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่นั้นมาสภาพัฒน์ฯก็คือผู้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ตั้งแต่แผนหนึ่ง (2504-2509)มาจนถึง ปัจจุบันนี้ 54ปีแล้ว

นอกจากนี้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ยังได้ ออก พรบ.เพื่อตั้งหน่วยงานช่วยเหลือสภาพัฒน์ฯและพัฒนาบางเรื่องที่ไม่มีหน่วยงานทำ เช่น สภาวิจัยแห่งชาติ 29 ตค.2502 สภาการศึกษาแห่งชาติ 29สค.2502  BOI 13 เมย. 2502 กรมพัฒนาชุมชน 30 กย.2505 สำนักงานสถิติแห่งชาติ 5 พค.2506 กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ  23 พค.2506เป็นต้น

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีผู้ให็กำเนิดสภาเศรษฐกิจชาติ
ที่มาภาพhttps://encrypted-tbn3.gstatic.com


มล.เดช สนิทวงศ์ ผู้เสนอให้มีการสำรวจเศรษฐิจทั่วประเทศอย่างเป็นระบบและมีการนำผลการสำรวจมาทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรก
ที่มาภาพhttps// encrypted-tbn0-gstatic.com

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ผู้ตั้งสภาพัฒนาการเศรษ
ที่มา https:// encrypted-tbn2.gstatic.com





ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัตและคณะ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินอีสาน(ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคคะวันออกเฉียงเหนือ 2558)
อ่านเพิ่มเติม »

มหาวิกฤติเศรษฐกิจเยอรมัน ปี1923

ที่เรียกมหาวิกฤติเศรษฐกิจก็เพราะเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมันและอาจร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลก

สาเหตุมาจากการที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(1914-1918) ถูกมหาอำนาจฝ่ายชนะคือสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีบังคับให้ลงนามในสํญญาแวซายสร์ในปี1919 ตามสัญญานี้เยอรมันต้องเสียอาณานิคมที่มีทั้งหมดคือ1,027,120 ตารางไมล์ หมายความว่าเยอรมันสูญเสียแหล่งวัตถุดิบและตลาดจำนวนมหาศาล ยังเสียแค้วนอัลซาสและลอเรนน์ ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักคือเหล็กและถ่านหินที่สำคัญ คืนไปให้ฝรั่งเศส แคว้นซาร์ถูกฝั่งเศสยึดเพื่อขุดถ่านหินใช้หนี้ค่าปฏิกรรมสงคราม 7ล้านตัน ใช้หนี้เบลเยี่ยม 8 ล้านตัน ใช้หนี้อิตาลี่ 7.7ล้านตัน  เรือสินค้าเยอรมัน รวม 5.2 ล้านตัน ถูกยึดใช้หนี้ค่าที่เยอรมันยิงเรือสินค้าฝ่ายพันธมิตรระหว่างสงคราม เหลือเรือให้เยอรมันใช้ขนสินค้าเพียง ห้าแสนตัน และเยอรมันจะต้องสร้างเรือสืนค้าใช้หนี้ฝ่ายชนะอีกปีละ สองแสนตัน

เยอรมันยังต้องจ่ายเงินค่าปฏิกรรมให้ฝ่ายชนะ 132 พันล้านมาร์คทองคำ โดยทะยอยผ่อนส่งปีละ 50 ปอนด์ เป็นเวลา 49 ปี ค่าปฏิกรรมสงครามนี้ มีปริมาณถึง 10 เท่าของค่าปฏิกรรมสงครามทั้งหมดในศตวรรษที่19

ยิ่งกว่านั้นเยอรมันยังต้องรับภาระเลี้ยงดูทหารนับล้านที่ปลดประจำการ กับบูรณะประเทศที่ทรุดโทรม แต่รายได้ก็ลดลงจากการผลิตที่ลดลงเพราะ ขาดวัตถุดิบ ขาดเงินทุนหมุนเวียน เครื่องจักรขาดอะไหล่ การส่งสินค้าก็ลำบากเพราะเรือถูกยึดไปเกือบหมด ทางรถไฟก็มีขาดการซ่อมแซม ปํญหาคนว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ นี่คือภาระอันสาหัสที่รัฐบาลซึ่งเพิ่งเริ่มต้นประชาธิปไตยทันทีตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง

ฟางเส้นสุดท้ายขาดลง เมื่อเยอรมันไม่มีเงินจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ฝรั่งเศสกลัวจะไม่ได้เงินก็ส่งทหารมายึดแค้วนรูห์เป็นประกัน คนงานเยอรมันในแคว้นนี้จึงประท้วงฝรั่งเศสด้วยการสไตรค์ คนงานพวกนี่จึงขาดรายได้ รัฐบาลเยอรมันกลัวคนงานจะอดตายจึงพิมพ์ธนบัตรมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้คนงาน

ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะเวินเฟ้ออย่างรุนแรง(hyperinflation) อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก เงินพันล้าร์นมาร์กซื้อไม้ขีดไฟได้เพียงกล่องเดียว ค่าแรงกรรมกรจ่ายเป็นรายวันเพราะต้นเดือนกับปลายเดือนต่างกันมาก กรรมกรได้รับค่าแรงวันละ 1 ตะกร้า ต่อมาไม่กี่วันค่าแรงเท่านั้นไม่พอกิน ค่าแรงจึงปรับเป็นวันละ สองตะกร้า ต่อมาค่าแรงก็ต้องขึ้นทุกวัน แต่ต่อมาไม่นานค่าแรงต้องขึ้นวันละหลายครั้ง ทางรัฐบาลเวลาพิมพ์ธนบัตรต้องเพิ่มตัวเลขในแบงค์ทุกวัน

ผลของเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้มนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะข้าราชการบำนาญ คนที่มีเงินเก็บไว้ในธนาคารมีสภาพหมดตัว

ผลต่อการเมืองทำให้รัฐบาลล้มไปหลายชุดเพราะแก้ปัญหาไม่ทันใจ ผลการเลือตั้งทำให้พรรคที่เดินสายกลางคะแนนลดลงไปเรื่อยๆ แต่พรรคหัวเอียงซ้ายและเอียงขวาอย่างพรรคนาซีที่เสนอนโยบายแก้ปํญหาด้วยวิธีที่รุนแรงเฉียบขาดได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้เป็นรัฐบาลในที่สุด

เยอรมันยังโชคดีมากที่มีนักการธนาคารและนักการทูตอเมริกันชื่อCharles G. Dawes ได้เข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจเยอรมันแผนนี้จึงเรียกว่าDawes Plan โดยทุ่มเงินจำนวนมากเข้ามาช่วย และออกมาตรการหลายอย่างทำให้เศรษฐกิจเยอรมันหลุดออกมาจากเหวได้ 7 ปี จึงเกิด The Great Depession

ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต ฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นผู้เผด็จการเหนือเยอรมันได้อย่างไร วารสารประวัติศาสตร์ ปีที่8 ฉบัยที่2 พค.-สค.2526 หน้า 118-121
ธนบัตรที่รัฐบาลพิมพ์เตรียมไว้จ่ายเงินเดือน
ที่มา https://encrypted-tbn1.gstatic.com

เงินไร้ค่าพ่อแม่ก็ปล่อยให็ลูกๆเอาเล่น
ที่มาhtpps://encrypted-tbn2.gstatic.com

บางคนก็ทิ้งเงินจนกลายเป็นขยะรกถนน
ที่มา https://encrypted-tbn3.gstatic.com

ธนบัตรเยอรมันในปี1923 
ที่มา https://encrypted-tbn0.gstatic.com
อ่านเพิ่มเติม »

ทุ่งไหหิน : ไหหินใช้ทำอะไร?

ผู้เขียนได้ไปเที่ยวทุ่งไหหินครั้งแรกในวันที่ 25 กค.2549 กับเพื่อนร่วมภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข. อีก 3คนคือ ผศ.ชลิต ชัยครรชิต เป็นนักโบราณคดีคนแรก ของ ม.ข. รศ.ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ นักประวัติศาสตร์  และ อ.ดร.เบ็ญจวรรณ นาราสัจจ์ นักมานุษยวิทยา เราออกจากด่านลาวที่ท่านาแล้ง ตรงข้าม อ.ศรีเชียงใหม่ ราวสองโมงเช้าด้วยรถตู้เช่า มาทางสามแยกภูคูน จุดยุทธศาสตร์ถ้าใครยึดได้จะควบคุมเส้นทางสาย13 ที่จะไปหลวงพระบางและภาคเหนือ เลี้ยวขวาไปแขวงเชียงขวาง ซำเหนือและเวียดนามภาคเหนือ เราเลี้ยวขวาไปจนถึงเมืองโพนสวรรค์ แขวงเชียงขวาตอนหกโมงเย็น เราพักที่ โรงแรมซึ่งมีแต่เล็กๆแต่ก็เย็นสบายเพราะที่นี่เป็นที่สูงมากแม้ไม่เปิดแอร์

รุ่งขึ้น26 กค 49 พวกเราพากันไปชมทุ่งไหหิน ซึ่งมีสี่กลุ่ม กลุ่มแรกห่างลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง 7.5 กม. กลุ่มนี้ใหญ่ที่สุด มีไหหิน ราว 200 ใบ และใกล้ๆมีถ้ำใหญ่ ตอนสงครามเวียดนามชาวบ้านมาหลบระเบิดอเมริกันที่นี่ แต่ไม่พบไหหิน  กลุ่มที่สอง ห่างจากเมืองลงไปทางใต้ 25 กม. มีไหราว 90 ใบ กลุ่มที่สามเลยกลุ่มที่สองไปทางใต้อีกราว 10 กม.มีไหหิน ราว150 ใบ

ทั้งสามกลุ่มเหมือนกันหมดคือไหทำด้วยหินแบบเดียวกัน ไกด์บอกว่าไหเหล่านี้สกัดมาจากภูเขาใกล้ๆห่างไปราว 10 กม. เพราะยังมีร่องรอยการสกัด บางใบยังไม่เสร็จ คนสมัยนั้นต้องเก่งมากเลยที่ขนไหหินใหญ่เล็กหนัก ราว 5-15 ตันมาได้ซึ่งยังไม่รู้ว่าขนมาได้อย่างไรในสมัยที่ยังไม่มีรอก ปั้นจั่น รถยก รถสิบล้อ

อายุ ผศ.ชลิตบอกว่ามีนักโบราณคดีญี่ปุ่นและฝรั่งเศสมาขุดค้น บอกว่าไหหินนี้ทำขึ้นยุคเหล็ก เมื่อ 2500-3000 ปีมาแล้ว

มาถึงปํญหาสำคัญที่จั่วหัวเป็นชื่อบทความ ว่าไหหิน เหล่านี้ใช้ทำอะไร  ในตำนานหลายเวอชั่นของลาวบอกว่า ไหหินนี้ขุนเจื๋อง วีรบุรุษของหลายชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงได้ฉลองชัยชนะสงตราม ถึงเจ็ดเดือน ขึ้นที่นี่โดยใช้ไหหินเหล่านี้หมักเหล้า และ คนลาวในสมัยปัจจุบันยังเชื่อว่าไหหินคือไหเหล้าของขุนเจื๋อง

แต่พวกเราทั้งสี่คน ได้พิจารณาไหหินแล้วมีความเห็นว่า ไหหินนี้คือโลงศพ เพราะไหบางใบ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมยาวราว 2.5 เมตร กว้าวราว 80-90 ซม.เหมือนโลงศพมาก และจากบันทึกของนักโบราณคดี พบว่าในไหบางใบพบกระดูกและเครื่องเซรามิค แต่ในปัจจุบันไม่เหลืออะไร ในสมัยที่โจรฮ่อเข้าปล้นเชียงขวาในต้นสมัย ร.5 ได้เข้ามารื้อค้นเปิดฝาไหเพื่อค้นสมบัติที่คิดว่ามีในไห หลักฐานจึงศูนย์หายไป ไหหินมีขนาดแตกต่างกันมาก เข้าใจว่า ไหใบใหญ่สุดน่าจะทำไว้ใส่ศพของหัวหน้าเผ่าที่มีอำนาจมาก ไหขนาดรองๆลงไปก็คง สำหรับคนที่มีฐานะ ทางสังคมการเมืองลดลั่นกันลงไป

 ตอนที่ผู้เขียนไปอียิปต์ได้เห็นปิรามิดรุ่นแรกโผล่มาจากพื้นดินทรายชั้นเดียวเพียงสามสี่เมตร ทีฝังศพอยู่ข้างใต้ลึกไปราว 7-8เมตร ต่อมาทำสามชั้น ต่อมาทำปิรามิดห้าชั้นสูงจากพื้นดินทรายราวๆ 20 กว่าเมตร และในยุครุ่งเรืองทำใหญ่มากที่เรามักเห็นในภาพปิรามิดสามหลังที่กิเซ สูงสุดคือปิรามิดของฟาโรห์คูฟูสูงถึง 147 เมตร สร้างเมื่อ 4700 ปีมาแล้ว แต่ไหหินมิได้พัฒนาไปใหญ่โตแบบปิรามิดเพราะล่มสลายไปเสียก่อนโดยที่เราไม่ทราบว่าใครสร้างไหหิน

ในเมื่อเราทราบแล้วว่าไหหินทำเพื่อใช้เป็นโลงศพ จึงน่าจะเรียกชื่อเสียใหม่ว่า โลงหิน ทุ่งไหหิน ก็น่าจะเรียกว่าทุ่งโลงหิน


ที่มาสองภาพแรก https:encrypted-tbn3.gstatic.com

ที่มาภาพ htpps://encrypted-tbn0.gstatic.com




นี่คือโลงศพที่ทำด้ายหินรูปร่างคล้ายโลงศพในปัจจุบัน

โลงศพหินทรงคล้ายโอ่งน้ำ โลงนี่ใหญ่ที่สุดในทุ่งไหหิน(ดร.เบญจวรรณ  รศ.ดร.ดารารัตน์และผู้เขียน)







อ่านเพิ่มเติม »

กบฎผู้มีบุญอีสาน 2445 :เป้าหมายและการต่อสู้

เนื่องจากกบฎนี้ใหญ่มากและเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัดโดยไม่มีศูนย์สั่งการกลาง ดังนั้นเป็าหมายของกบฎจึงหลากหลาย หากดูกลุ่มใหญ่ กลุ่มองค์มั่นซึ่งมีอิทธิพลแถบอุบล ยโสธร อำนาจเจริญ นครพนมและลาวใต้ กลุ่มนี้ต้องการขับไล่อำนาจไทยออกไปจากอีสาน และขับไล่ฝรั่งเศสออกไปจากลาวใต้ หากสำเร็จ จะตั้งรัฐใหม่ขึ้นมาโดยมีองค์มั่นปกครองอยู่ที่เวียงจันทน์ สมเด็จลุนวัดบานชัย ปกครองอุบล องค์พระบาทและองค์คุธ ปกครองที่พระธาตุพนม องค์แก้วและองค์กมมะดำซึ่งเป็นข่า ปกครองลาวใต้ กลุ่มที่สองมีอิทธิพลในเมืองขุขันธ์และมโนไพร(หลังกบฎไม่กี่เดือนไทยยกเมืองมโนไพรและจำปาสักให้ฝรั่งเศส)มีหัวหน้าคือบุญจันซึ่งเป็นลูกของเจ้าเมืองคนเก่า ต้องการเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทนพี่ชายซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนปัจจุบัน ที่เหลือเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยไม่พบว่ามีเป้าหมายแน่ชัดทางการเมืองว่าต้องการอะไร แต่ทุกกลุ่มชาวบ้านนับถือและมาขอให้องค์ที่เป็นห้วหน้าเป่ากระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์เพื่อเป็นศิริมงคลบ้าง รักษาโรคบ้าง

การต่อสู้ระหว่างฝ่ายกบฎกับฝ่ายรัฐ จะขอยกเพียงสามกรณีโดยสังเขป

กรณีกบฎผีบุญกลุ่มบุญจัน มีศูนย์กลางที่ภูฝ้าย ทางใต้ของเมืองขุขันธ์(ปัจจุบันอยู่ใน ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ)มีคนเข้ามาร่วมมากที่สุดคือ6000 คน แต่ไม่มีอาวุธมากกว่ามีดพร้า มีปืนไม่กี่กระบอก เมื่อกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณทลอีสานทรงทราบการชุมชุมของกบฎที่ภูฝ้าย ก็โทรเลขรายงานให้ ร.5 ทรงส่งกองทหารจากโคราชมาช่วย แต่ระหว่างที่กำลังหนุนจากโคราชยังมาไม่ถึง กรมขุนสรรพสิทธิ์ก็ส่งกองทหารจากอุบลซึ่งเป็นทหารสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับพระองค์ตอนรับตำแหน่ง กับกองกำสังพื้นเมืองชุขันธ์ราว 50 คน เข้าไปยังภูฝ้าย เกิดการปะทะกับกองหน้าของกบฎในวันที่ 11และ 13 มีนาคม 2445(นับตามปฎิทินสากล) ฝ่ายกบฎตาย 10 คน รวมทั้งบุญจัน ทางการได้ตัดหัวบุญจันเสียบประจานเพื่อปรามมิให้คนติดกบฎอีก ฝ่ายกบฎที่เหลือก็แตกหนีเข้าป่าไป กลุ่มท้าวติด ท้าวฮูก็แตกหนีจากเมืองมโนไพรเข้าไปในเขตฝรั่งเศส

กรณีกลุ่มองค์มั่น เรี่มต้นมีกำลังราว 300คน จากสองฟากแม่น้ำโขงจากโขงเจียมถึงเขมราฐ ต่อมาได้กำลังเพิ่มอีก500คนตอนยึดเมืองเขมราฐ ฆ่ากรมการเมืองนี้สองคนที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือและจับเจ้าเมืองไปเป็นหุ่นเชิด จากนั้นฝ่ายกบฎก็มุ่งเดินทัพมาที่อุบล จึงมีคนมาเข้าจนมีกำลังรวมกันถึง4000 คน มาปักหลักที่บ้านสะพือใหญ่ อ.ตระการพืชผล ทางกรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ทรงโทรเลข ขอกำลังจาก ร. 5 อีกสองกองพัน ระหว่างที่รอกองหนุนจากโคราช กรมขุนส่งกองลาดตระเวณหลายกอง กองละ 7-16คน ไปหาข่าว  ปรากฎว่ามีกองหนึ่งถูกกบฎฆ่าตาย 11คน อีกกองหนึ่งถูกโจมตีแตกกลับมา ทำให้ฝ่ายกบฎหึกเหิมขึ้น กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์จึงทรงส่งกองทหารปืนใหญ่ มีปืนใหญ่สมัยใหม่2 กระบอกกับทหารราว100 คนกับกองกำลังพื้นเมืองจากอุบลอีกจำนวนหนึ่ง การปะทะเกิดขึ้นที่บ้านสะพือใหญ่ กำลังของกบฎมีปืนไม่กี่กระบอก ที่เหลือเป็นหอกดาบ แหลน หลาว ถูกปืนใหญ่ถล่มตรงกลางกลุ่ม พอแตกหนีก็ถูกทหารที่ซุ่มอยู่อยู่สองฝากทางใช้ปืนไรเฟิลยิง รวมกบฎถูกฆ่าตาย 200-300คน บาดเจ็บราว500คน ฝายกบฎถูกจับราว400คน แกนนำถูกศาลตัดสิน ประหารชีวิต ที่เหลือจำคุกตลอดชีวิต ลงมาจนไม่ถึงปี แล้วแต่อยู่ในระดับใหน หัวหน้าคือองค์มั่นหนีไปฝั่งซ้าย ไปรวมตัวกับกองกำลังข่าขององค์แก้ว องค์กมมะดำ ยึดเมืองสุวรรณเขต สู้กับฝรั่งเศสอย่างดุเดือดที่สุดและองค์แก้วถูกฆ่าตาย ส่วนองค์กมมะดัมได้มาตั้งกองกำลังข่าเป็นจำนวนมากสู้กับฝรั่งต่อมาอีกหลายปีจึงถูกฆ่าตาย

กลุ่มกบฎผู้มีบุญทิดเข้ม กลุ่มนี้มีอิทธิพลในอีสานเหนือ มีศูนย์กลางที่วัดบ้านมาย อ,บ้านม่วง จ.สกลนคร มีทิดเข้มเป็นหัวหน้า ท่ายเคยบวชจนเป็นที่นับถือของชาวบ้านมาก ต่อมาสึก นุ่งขาวห่มขาวบอกศิษย์ว่าท่านเป็นท้าววิษณุกรรมเทวบุตร มีชาวบ้านจากอุดร หนองคาย สกลนครเดินทางมาให้ท่านเป่ากระหม่อม รดน้ำมนต์ เพื่อรักษาโรคและเป็นศิริมงคล เฉลี่ย กลางวันราว100คน กลางคืน 700คน ต่อมีทิดรัน ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษ อ้างว่ามีไม้เท้าวิเศษต้นชี้ตาย ปลายชี้เป็น เกิดความขัดแย้งและท้าทายอำนาจระหว่างทิดเข้มกับทิดร้น ทิดรันบอกว่าไม้เท้าวิเศษของเขาฝังไว้ในที่นา ทิดเข้มไม่เชื่อถ้ามีจริงเขายอมถวายหัว แต่ถ้าไม่มีจริงทิดรันจะยอมถวายหัวมั้ย ทิดรันให้สัญญาจะหาไม้เท้าวิเศษมาให้ในสามวัน พอครบกำหนดทิดรันหาไม้เท้าวิเศษไม่ได้จีงถูกทิดเข้มตัดคอ ตามสัญญา ทิดเข้มบอกว่าถ้าไม่ประหารทิดรันจะกลายเป็นยักษ์  การตายของทิดรันรู้ไปถึงทางการๆจึงส่งตำรวจมาจับทิดเข้มและสานุศิษย์ ในวันที่ 8 พค.2445 .ในขณะที่ทิดเข้มกำลังบริกรรม ชาวบ้านพากันมามุงดูเจ้าหน้าที่ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเจ้าหน้าที่จึงใช้ปืนยิงชาวบ้าน ทิดเข้มและพวกตายถึง 48 คน แล้วโยนศพทั้งหมดลงในบ่อน้ำแล้วถมดิน ชาวบ้านยังชี้ให้ผู้เขียนได้ว่าบ่อน้ำนี้อยู่ตรงใหน

แม้ฝ่ายกบฎจะมีกำลังมากกว่ากำลังทหารของฝ่ายรัฐบาล 20-40 เท่า แต่ต้องพ่ายแพ้ เพราะอาวุธปืนไรเฟิลและปืนใหญ่สมัยใหม่ที่ฝ่ายกบฎไม่มี
ทหารที่ถูกส่งมาปราบกบฎผู้มีบุญ 2445


กบฎผู้มีบุญกลุ่มบุญจัน เมืองขุขันธ์
ที่มาของภาพทั้งสอง https://encrypted-tbn0.gstatic.com


ที่มา:สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488เล่ม  2 หน้า 181-182 193-200(คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข. 2557)


อ่านเพิ่มเติม »

กบฎผู้มีบุญอีสาน 2445: สาเหตุและวิธีการ

กบฎผู้มีบุญอีสานเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นใปปี 2445 เกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด(13 จังหวัด)ในภาคอีสาน มีผู้ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญ ถึง60 คน จังหวัดที่มีผู้มีบุญ10คน ขึ้นไปมี อุบล 14 คน ศรีสะเกษ 12 คน มหาสารคาม 10 คน

สาเหตุของกบฏครั้งนี้มีทั้งการเมือง และเศรษฐกิจ

สาเหตุทางการเมือง มีทั้งการเมืองภายนอกคือ การที่ฝรั่งเศสขยายอำนาจเข้ามาครอบครองดินแดนในอินโดจีนซึ่งไทยมีอำนาจเกินครึ่งของพื้นที่ ปี2410 ไทยเสียเขมรส่วนนอก ปี2431 เสียสิบสอบจุไทย ปี2436 เสียลาวฝั่งซ้ายและไทยยังเข้าไปตั้งกองกำลังใดๆ แม้แต่เก็บภาษีในเขต 25กิโลเมตรทางฝั่งขวา(ฝั่งอีสาน)มิได้ ทำให้เกิดข่าวลือว่าฝรั่งจะมายึดบางกอกและจะเกิดผู้มีบุญขึ้นทางฝั่งตะว้นออก เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นได้ชัดว่าอำนาจของไทยลดไปมาก

ส่วนการเมืองภายใน เจ้า ขุนนางเดิมในพื้นที่อีสานไม่พอใจจากการเสียอำนาจและผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองของ ร.5 กล่าวคือส่งข้าหลวงและข้าราชการจากส่วนกลางมาทำงานแทน เจ้าเมืองกรมการเมืองเดิม เมื่อเจ้าเมืองกรมการเมืองตายก็ยุบตำแหน่งนั้นไปเลย แต่ที่ไม่พอใจที่สุดคือทางส่วนกลางส่งคลัง และสรรพกรมาเก็บภาษีแทนเจ้าเมืองกรมการเมือง และแบ่งผลประโยชน์ให้นิดเดียวเช่น ภาษีรัชชูปการเก็บไพร่คนละสี่บาท แต่แบ่งให้เจ้าเมืองกรทการเมืองและกำนัน แค่ 13.67% อีก 86.33% ส่งเข้าส่วนกลางนี่คือการทุบหม้อข้าวในสายตาของผู้มีอำนาจเก่า ผลคือผู้มีอำนาจเก่าที่เคยได้เงินส่วยจากไพร่ถึงสองในสามส่วน พอไม่ได้ก็ยากจนลงและไม่พอใจส่วนกลาง

ส่วนสาเหตุทางเศรษฐกิจสังคมคือ เกิดฝนแล้งในอีสานใต้ติดต่อกันสองสามปี ยิ่งกว่านั้นการที่รัฐบาลให้ไพร่จ่ายภาษีรัชชูปการเป็นเงินแทนสิ่งของคนละสี่บาท ทำให้ไพร่ต้องลำบากมาก เพราะสังคมอีสานก่อนหน้านั้นตลอดมาไม่ต้องใช้เงินก็อยู่ได้เพราะทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ตลาดมีน้อยมากๆเมื่อรัฐต้องการเงินชาวบ้านถ้าไม่ขายควาย(ตัวละ6 บาท)ให้นายฮ้อย ก็ต้องหาอย่างอื่นไปขาย บางคนหาบไก่ 16 ตัวไปขายเจ๊กที่ตลาดโคราชซึ่งห่างจากหมู่บ้านถึง140 กม. ที่แย่กว่านั้นรัฐบาลยังออกกฎหมายให้คนนำช้าง ม้า วัว ควาย ไปตีทะเบียนที่ว่าการอำเภอ เเละต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย ใครไม่ตีทะเบียนจะส่งไปขายภาคอื่นไม่ได้  ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะหมู่บ้านจำนวนมากห่างไกลอำเภอเกิน 30 กม.และเมื่อเอาฝูงสัตว์ไปถึงอำเภอตีทะเบียนไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่อ้างว่าแบบฟอร์มจดทะเบียนหมด และไม่ทราบว่าส่วนกลางจะส่งมาถึงเมื่อใด แต่ถ้าแอบเอาเงินให้ จนท. จนท.ก็หาแบบฟอร์มมาให้จนได้

สำหรับวิธีการกบฎก็ใช้คล้ายๆกันคือกลุ่มแกนนำมักใช้หมอลำซึ่งเป็นการแสดงที่ชาวบ้านชอบมากที่สุดนอกจากมีเรื่องนิทานพื้นบ้านแล้วยังมีคำพยากรณ์ว่า หมูและควายเขาตู้จะกลายเป็นยักษ์ หญิงโสดจะถูกยักษ์กิน เงินทองจะกลายเป็นเหล็ก ตัวหม่อนจะกลายเป็นงูและเงือก ขบกัดเจ้าของ ฟักเขียวจะกลายเป็นช้าง  ในวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 120 (2445) จะเกิดพายุ 7 วัน 7 คืน พัดแรงมากจนคนตัวปลิว ให้ปลูกต้นตะไคร้เอาไว้เกาะ ไม่ให้ปลิวไปกับพายุ จะมีผู้มีบุญมาปรากฎตัว ใครที่รักษาศีล ทำบุญเคารพพ่อแม่ครูอาจารย์และท่องคาถาจะอยู่รอดและยักษ์จะไม่กิน ใครอยากร่ำรวยให้เก็บก้อนกรวดมาบูชา พอผู้มีบุญปรากฎตัว ท่านสามารถเสกให้ก้อนกรวดเป็นเงินเป็นทองได้

คำพยากรณ์และคาถาที่ว่านี้ได้มีการคัดลอกต่อๆกันแบบจดหมายลูกโซ่ หรือส่ง ไลน์หรือ fb ในปัจจุบันทำให้ข่าวผู้มีบุญซึ่งจะมาสร้างสังคมใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ไม่มีการขูดรีดจากเจ้านาย แพร่กระจายในอีสานอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านส่วนมากพากันเชื่อ แล้วคัดจดหมายลูกโซ่ ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า หนังสือผู้มีบุญ บ้าง เรียก หนังสือท้าวธรรมิกราช บ้าง หนังสือ พระยาอินทร์ บ้าง คนเป็นจำนวนมากไปเก็บก้อนกรวดในแม่น้ำลำธารมาบูชาเพื่อรอผู้มีบุญเสก มีหลายพื้นที่คนเอาเงินที่มีบ้างมาซื้อของจากร้านเจ๊กโดยไม่เอาเงินทอน บางคนเอาเงินทอนมาโยนทิ้งข้างทาง สินค้าจึงขายดีมาก บางคนทิ้งข้าวไว้ให้วัวควายกินเพราะผู้มีบุญกำลังจะมาทำให็รวยแล้ว

การต่อสู้กับอำนาจรัฐของชาวอีสานจะเป็นอย่าง โปรดอ่านใน บทความต่อไปครับ
แผนที่ การกระจายของกบฎผู้มีบุญอีสาน 2445
กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่ มณทลอีสาน ขณะเกิดกบฎผู้มีบญ2445



ที่มา:สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 เล่ม 2 หน้า178-192 (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข. 2557)
อ่านเพิ่มเติม »

เพราะเหตุใดคนไทยสมัยก่อนจึงค้าขายสู้คนจีนไม่ได้

คำถามตามชื่อบทความนี้ คำตอบคือคนจีนขยันมัธยัสถ์และขยันกว่าคนไทย คำตอบนี้ไม่ผิด แต่ก็มิใช่จะมีแค่นี้ เมื่อผู้เขียนได้วิจัยประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสมัย กรุงธนบุรีถึงสมัย ร.3 จึงได็คำตอบที่แท้จริงว่าการค้าไทยถูกคนจีนครอบครอง นอกจากเพราะคนจีนขยัน ประหยัดแล้วยังมีเหตุผลอีกสามประการ

1.ระบบไพร่ทำให้คนไทยไม่มีเวลาค้าขาย การค้าต้องทำต่อเนื่องมิฉะนั้นลูกค้าหายหมด คนไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ราว 83% เป็นไพร่และทาส ไพร่ชายทุกคนจะต้องเข้าเดือนออกเดือน(ไปอยู่เวรรักษาป้อม ประตูเมือง ขุดคูซ่อมวัง  กำแพงเมืองฯลฯ)ปีละ 6เดือนโดยเข้าเวรหนึ่งเดือน ออกเวรหนึ่งเดือนสลับกัน ต่อมาต้น ร.1ลดเหลือเข้า 1 เดือน ออก 2 เดือนสมัย ร.2-5  เข้า 1 ออก 3 เดือน ในระหว่างเข้าเดือนไพร่ไม่มีเบี้ยเลี้ยง ไม่มีอาหาร เสื้อผ้าแจก ไพร่ต้องจัดหามาเองทุกอย่าง

2,ระบบภาษี   เจ้า ขุนนางไม่ต้องเสียภาษี แต่ไพร่รับภาระภาษีทุกอย่าง ในสมัย ร.3 ภาคกลาง เสียอากรมากชนิดที่สุดคือ17ชนิด เช่น อากรค่านา เสียไร่ละ สองสลึง 1 เฟื้อง หรือเสียเป็นข้าวเปลือกไร่ละ 2 ถัง ทำสวนต้องเสียอากรสวนใหญ่ มีไม้ผล สิบชนิดที่ต้องเสีย เช่น ทุเรียน มะม่วง ต้นละ 1 บาท(ทองสมัยนั้นหนัก 1บาทราคา10-11 บาท) มังคุด ลางสาดต้นละ 1 เฟื้อง(12.5 สต) แต่ถ้าอากรสมพัตสร ที่เก็บจากผู้ปลูกไม้ล้มลุก เสียเป็นไร่ ถ้าปลูกสามคร้งก็ต้องเสียสามครั้งในปีนั้น เช่น ปอกระเจา  ถั่วเขียว ถั่วแระ มันเทศ กัญชาไร่ละ 2 สลึง ฝ้าย ขิง ถั่วสิลง ไร่ละ 1 บาท มีพืช 37 ชนิดที่ต้องเสียอากรนี้ ใครจับสัตว์น้ำก็ต้อง อากรค่าน้ำตามชนิดของเครื่องมือเช่น อวน ปากละ 16 บาท แหคนละ บาท  เบ็ดราว คนละ 2สลึง มีเครื่องมือจับปลา 76 ชนิดที่เสียอากรค่าน้ำ ใครค้าขายเสียอากรตลาดตามขนาดของแผง ร้านเช่นกระเดียดเร่ วันละ 10 เบี้ย หาบเร่ 15 เบี้ย แผงลอย 20  เบี้ย ร้านขายเครื่องทองเหลือง ผ้า  เครืองทอง ปีละ 4-6 บาท นอกจากนี้มีภาษีอีก 42 ชนิด รวมอากรและภาษี 59 ชนิด เพื่อให้การเก็บอากรได้มากที่สุด โดยรัฐเสียค่าจัดเก็บภาษีอากรน้อยที่สุด รัฐจึงให้คนมาประมูลใครให้เงินรัฐมากที่สุด คนนั้นจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าภาษีอากร แน่นอนคนที่เข้ามาประมูลส่วนมากเป็นขุนนางและคนจีน แต่ในระยะหลังจะเป็นคนจีนเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้พยายามเก็บภาษีให้ได้มากที่สุดตามอัตราที่รัฐกำหนด ไพร่ต้องเสียภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมสูงถึง 59.53% ได้ทั้งหมด เมื่อคนไทยต้องเสียภาษีมากขนาดนี้ จึงไม่มีเงินเหลือไปลงทุนทำธุรกิจการค้าใดๆ

3.คนจีนได้รับอภิสิทธิ์ คือหนึ่ง) ไม่ต้องสังกัดกรมกองเหมือนไพร่ จึงมีเสรีที่จะเดินทางไปค้าขายหรือตั้งรกรากที่ใหนก็ได้ สอง) คนจีนไม่ต้องเข้าเดือนออกเดือนจึงค้าขายได้อย่างต่อเนื่อง สาม) คนจีนเสียภาษีรายหัวเพียงหกสลึงต่อสามปี ต่อมาสมัย ร. 3 เสีย  4-8บาท ต่อสามปี(1.33-2.66 บาทต่อปี) ในขณะที่ไพร่ หากมีความจำเป็นเช่นเมียออกลูก พ่อแม่ตายต้องไปจัดงานศพ หรือตัวเองป่วย ไพร่ต้องเสียเงินแทนเดือนละ 6 บาท จะเห็นว่าตนจีนมีโอกาสสะสมทุนได้มากกว่าคนไทยหลายเท่า  ยิ่งนานไปทุนสะสมของคนจีนก็ยิ่งมากจนเขยิบฐานะ จากขายแรงงาน มาหาบของขาย มีร้านของตัวเองภายในหนึ่งชั่วคนก็กลายเป็นเจ้าของร้าน บางคนก็กลายเป็นเจ้าสัว
ที่มาภาพPendleton ;University of Wisconcin



ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต รายงานการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์เเศรษฐกิจการเมืองไทยรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัยรัชการที่3 (2310-2394)(สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2525)
อ่านเพิ่มเติม »

กบฎผู้มีบุญสาเกียดโง้ง

กบฎสาเกียดโง้งเกิดในปี 2360 หรือเมื่อ 200ปีที่แล้ว ตรงกับสมัย รัชกาลที่สอง  พื้นที่กบฎคือบรเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แขวงจำปาสัก
หัวหน้ากบฎชื่อสา แม่เป็นลาว พ่อเป็นข่า มีบ้านเรือนที่บ้านหนองบัว ไม่ห่างจากเมืองจำปาสักนัก ต่อมาได้บวชจนมีคนนับถือว่ามีอาคมและระลึกชาติได้ว่าเมื่อชาติก่อนเป็นขุนเจื๋อง วีรบุรุษของข่าและอีกหลายกล่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขง ต่อมาสาพระสาได้เลนส์มาอันหนึ่งเมื่อส่องแสงอาทิตย์ก็สามารถจุดไฟได้ พระสาบอกชาวบ้านว่าเทวดาให้มาเป็นกระจกวิเศษ เขาจึงมีอำนาจที่จะเผาโลกได้ ชาวบ้านยิ่งนับถือ
สาเหตุของกบฎเกิดจากการกดขี่ทางชนชาติ ชาวลาวชอบรวมกลุ่มันมาตีข่า จับข่าไปเป็นทาส ข่ามีน้อยกว่าและมีหลายกลุ่มย่อยซึ่งไม่ค่อยจะถูกกันด้วยจึงกลายเป็นเหยื่อของคนลาว นอกจากนี้ข่ายังต้องเสียส่วยเป็นทองให้กับเจ้าเมืองลาวด้วย ต่อมาเมื่อลาวตกเป็นประเทศราชของไทย ในปี 2322 ลาวต้องเสียส่วยให้ไทย ลาวจึงมาไล่เบี้ยเอากับข่า และยังหักเอาส่วนใหญ่เข้ากระเป๋าเจ้าเมืองกรมการเมืองด้วย ข่าจึงต้องเสียส่วยหนักเป็นสองเท่า ความทุกข์ยากดังกล่าวคือสาเหตุหลักของกบฏครั้งนี้
พระสาได้ชักชวนชาวข่าหลายเผ่ามาร่วมต่อสูได้ถึง 6000 คนยกกำลังมายึดเมืองจำปาสักได้อย่างง่ายดายและเผาเสียด้วย
รัชกาลที่สามทรงทราบจึงมีรับสั่งให้เมืองเวียงจันทน์และโคราชไปปราบ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์เวียงจันทน์จึงให้เจ้าราชบุตรโย้ไปปราบ การปราบเป็นไปอย่างรุนแรง ในการรบที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่งข่าถูกทหารลาวฆ่าตายจนน้ำแดงเป็นสีเลือด
ข่าจำนวนมากถูกจับตัว ส่วนหนึ่งส่งมาที่ กทม. รัชกาลที่สองทรงขังพระสาเอาไว้ตลอดชีวิต ส่วนเชลยที่เหลือให้ไปตั้งบ้านเรือนที่บางบอนรอยต่อระหว่างเขตธนบุรีกับสมุทรสาคร ปัจจุบันถูกกลืนเป็นไทยไปหมดแล้ว
ปัญหาข่าต่อมาได้กลายเป็นเหตุหนึ่งที่นำไปสู่กบฎเจ้าอนุวงศ์ในสมัยต้นรัชกาลที่สาม

ที่มาภาพ https;encrypte_tbn0.gstatic.com

ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต . ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 เล่ม 2 หน้า 177  (ขอนแก่น. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข.2557)
อ่านเพิ่มเติม »

กบฎผู้มีบุญหนองหมากแก้ว 2467

กบฎผู้มีบุญหนองหมากแก้วเกิดปี 2467 ปลายสมัยรัชกลาลที่หก(2453-2468) พื้นที่กบฎคือ บ้านหนองหมากแก้ว ต.สวนพุง อ.ภูกระดึง จ.เลย
หัวหน้ากบฏคือ พระอาจารย์บุญมา จัตุรัส ไม่ทราบบ้านเดิม แกนนำคือพระอาจารย์สายทอง อินทรไชยศรี คนบ้านหนองคัน ใกล้บ้านหนองหมากแก้ว พระอาจาย์สังข์ คนอุบล
พระทั้งสามจำศีลในถ้ำวัวแดงใกล้บ้านหนองคัน มีชาวบ้านเล่าว่า เห็นพระทั้งสามกับเณรน้อยเดินข้ามลำธารปวนพุโดยจีวรไม่เปียกเพราะเดินไปบนผ้าที่ท่านโยนไปบนลำธาร ชาวบ้านจึงให้ความศรัทธาต่อพระเณรกลุ่มนี้มาก
ต่อมาพระทั้งสามได้ลาสิกขาและแต่งงานกับสาวบ้านหนองหมากแก้ว
  สาเหตุของกบฎคือความไม่พอใจที่ถูกทางการเก็บภาษีรัชชูปการคนละสี่บาท ต่อมาในสมัย รัชกาลที่หกได้เก็บภาษีการศึกษา(ศึกษาพลี) อีกคนละสองบาท รวมเป็นคนละ หกบาท(หกบาทในอีสานขณะนั้นซื้อควายได็หนึ่งตัว) เนื่องจากสังคมอีสานขณะนั้นอยู่กันแบบไม่ต้องใช้เงินเพราะผลิตอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สร้างเรือนได้เองโดยไม่ต้องซื้อจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่ต้องหาเงิน เมื่อทางการเก็บภาษีเป็นเงินชาวบ้านจึงเดือดร้อนในการหาเงินเพราะตลาดสมัยนั้นมีน้อยมากหากมีก็อยู่ในตัวเมือง คนอยู่ไกลเมืองจึงลำบากมากในการจะหาบของหลายสิบกิโลเมตรไปขายตลาดในเมือง เพราะสมัยนั้นนการคมนาคมแย่มากอีสานมีแต่ทางเกวียนและบางสายอาจมีลูกรังบ้าง(ในปี2480 หลังกบฎ13ปี อีสานทั้งภาคมีรถยนต์เพียง 453 คัน)
วิธีการของฝ่ายกบฎคือจัดงานบุญในเดือนเมษายน 2467 มีคนมาเป็นจำนวนมากหลายตำบลงานมีทั้งทั้งกลางวันและกลางคืน มีสาวงามฟ้อนรำ มีกลอนลำ ผู้มาใหม่ต้องดื่มน้ำมนต์ ระหว่างชุมนุมเจ้าผู้มีบุญจะเลือกหญิงสาวไปนอนด้วย ถือว่าเข้าฌาน เจ้าผู้มีบุญประกาศว่าพระศรีอริเมตไตรยจะมาปรากฏที่บ้านหนองหมากแก้ว เมื่อนั้นจะไม่มีเจ้านาย ใบไม้จะกลายเป็นเงิน เวียงจันทน์จะฟื้นขึ้นมาใหม่และยิ่งใหญ่กว่าเดิม มีการร้องเพลงระลึกถึงการทำลายเมืองเวียงจันทน์โดยกองทัพไทยด้วยมีชาวบ้านมาชุมชุมถึง 4000 คน
23 พค.2467 ชาวบ้าน 50-60 คน พร้อมคณะเจ้าผู้มีบุญ 7 คน มีปืนเพียงสองกระบอก กับดาบ ค้อน ยกกำลังไปที่ว่าการอำเภอวังสะพุงซึ่งห่างจากบ้านหนองหมากแก้ว 25 กม.
ทางปลัดอำเภอขวาได้เกณฑ์ราษฎรและเสมียน ราวๆ 40 คน ออกไปจับแต่ ฝ่ายกบฎไม่ยอมให้จับ ทางจังหวัดเลยซึ่งหาก อ.วังสะพุง ราว 20  กม. ก็ส่งตำรวจ 24 คนอาวุธปืนครบมือ มาปราบ จับแกนนำ 7คนไปซ้อม และจับชาวบ้านไปด้วยราว100คนโดยไม่มีการต่อสู้ ศาลตัดสินจำคุกแกนนำ 7 คน คนละ 3 ปี ส่วนชาวบ้านก็ปล่อยไป

ที่มาภาพ https://encrypted_tbn1.gstati.com

ที่มา  สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 เล่ม 2 หน้า 201-202 (ขอนแก่น ; คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข.2557)

อ่านเพิ่มเติม »

กบฎเกือกขาว 2476-2477

กบฎเกือกขาวเกิดขึ้นในปี2476-77 ช่วงหลังการเปลี่น
ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยเพียงปีสองปี ซึ่งรัฐบาลกำลังกวาดล้างกบฎบวรเดช(2476) ผู้นำกบฏเกือกขาวคือหมอลำคำสา สุมังกะเศษ เป็นคนร่างเล็ก และเที่ยวบอกชาวบ้านแถวบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ว่าเมื่อชาติก่อนเขาคือ พระชาดาเป็นพวกกบฎผู้มีบุญปี 2445  ถูกฆ่าตายแล้วมาเกิดเป็นเขา ชาวบ้านจึงเรียกเขาว่าหมอลำน้อยชาดา ท่านชอบนุ่งขาวห่มขาวและใส่เกือก(รองเท้า)ขาวเสมอ สานุศิษย์ซึ่งมีจำนวนมากก็แต่งกายแบบเดียวกัน  จนร้องเท้าสีขาวในเมืองมหาสารคามขาดตลาด เกือกขาวจึงกลายเป็นสัญลักณ์ของกลุ่มนี้

หมอลำน้อยชาดาเที่ยวสั่งสอนและให้คำทำนายว่า ต่อไปคนจะเดือดร้อน ไฟจะไหม้ แผ่นดินจะไหว คนจะตายมากมายนอกจากคนที่อยู่ในศีลในธรรม แล้วจะมีศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยเกิดขึ้น คนจะเสมอภาพกัน จะมีต้นกัลปพฤกษ์เกิดขึ้น ใครไปยืนใต้ต้นนี้แล้วจะขอสิ่งใดก็จะได้ อีกสองสามปีพระศรีอริยเมตไตรยก็จะปรากฎ

เขาบอกชาวบ้านว่าไม่ต้องส่งลูกไป รร.หลอกเสียเวลาทำมาหากิน และอย่าไปกราบไหว้พระสงฆ์ พวกนี้ไม่ใช่พระแต่เพียงนุ่งเหลืองเฉยๆ เขายังทำนายว่าเวียงจันทน์จะกลับมารุ่งเรือง เขาจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองเวียงจันทน์ จะเกิดรบกันกับภาคกลาง เขาจะชนะ

เขาพาชาวบ้านชุมนุมอยู่สองสามเดือน โดยไม่มีอาวุธ ทางการจับเขา ศาลตัดสินจำคุกเขาสี่ปี

แต่เรื่องไม่จบเพราะเขามีลูกศิษย์ที่ยังศรัทธาในดัวเขาและอุดมการณ์ ลูกศิษย์ 17 คน จึงชุมนุมกันต่อ มีนายชาลี มหาวงษ์ นายบึ้ง ข่ายเพชร ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษอ้างว่าเหาะเหินเดินอากาศได้ พวกเขายังเผยแพร่คำสอน คำทำนายของหมอลำน้อยชาดาต่อไปและบางคืนก็ไปชุมนุมโห่ร้องใกล้เรือนจำ ตะโกนว่าจะบุกไปแย่งตัวหมอลำน้อยชาดาออกจากคุก

ทางการจึงจับ 17คน นี้  ศาลจำคุกนายชาลี และนายสีสมุด คนละ 6 เดือน ที่เหลืออีก 15 คน ถูกปรับคนละ 6 บาท

แต่เรื่องก็ยังไม่จบง่ายๆ แกนนำอีกสี่คนที่หนีไปได้คือ นายบึ้ง  นายโส  นายอำ นายแก้ว แห่ง ตำบลแวงนั่ง(ปัจจุบันคือที่ตั้งศาลากลางหลังใหม่ของจ.มหาสารคาม) ได้ปลุกระดมชาวบ้านต่อ จึงถูกตำรวจจับ ศาลตัดสินเมื่อ 25 มิย. 2477 นายโส นายแก้ว คนละ 1 ปี

ศิษย์คนสุดท้ายของหมอลำน้อยชาดาที่ก่อการคือ นายสิงโต บ้านดงน้อย ต. ท้ายโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ แต่งตัวแบบหมอลำน้อยและสั่งสอนให้ราษฎรถือศีลอย่างเคร่งครัด เขาบอกชาวบ้านว่าเขาเป็นโอรสของเจ้าอนุวงศ์ชื่อเจ้าฝ่าตีนแดงที่หนีรอดไปได้ เขาชักจูงใให้ราษฎรอพยพไปอยู่ฝั่งลาวหลายครัวเรือนรวมทั้งครอครัวของเขาด้วย
สำนักงานเทศบาลตำบลแวงน่าง


ตลาดสดเทศบาลตำบลแวงน่าง
ที่มาภาพทั้งสองhttp:encrypted_tbno.gstants.com



ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 เล่ม 2 หน้า 202-203 (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข. 2557)
อ่านเพิ่มเติม »

กบฏผู้มีบุญโสภา พลตรี บ้านสาวะถี

กบฎผู้มีบุญโสภา พลตรี เกิดในปี 2483 ที่บ้านสาวะถี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น หัวหน้าคือ พ่อใหญ่โสภา พลตรี เกิดบ้านโนนรัง 2425 ไม่ห่างบ้านสาวะถีนัก เป็นชาวนามีอันจะกินมีนา 70-100 ไร่ และเป็นหมอลำ มีความจำเป็นเลิศ จึงมีสานุศิษย์หลายหมู่บ้าน มีภรรยาหลายคน แกนนำมีพ่อใหญ่สิงห์ พ่อใหญ่เสริมและพ่อใหญ่คุย

สาเหตุที่เกิดกบฎนี้มาจากความไม่พอใจของแกนนำและชาวบ้านแถบนี้มีสามประการ ประการแรกไม่พอใจ พรบ.ประถมศึกษา 2464 ที่บังคับให้ส่งเด็กไปเรียนใน รร. ซึ่งบังคับให้เรียนภาษาไทย พ่อใหญ่โสภา เห็น ว่า รร .จะทำให้เด็กกลายเป็นคนไทย ภาษาไทยกินเด็ก แต่ภาษาธรรมที่อีสานสอนกันมาแต่โบราณสอนให้คนอยู่ในศีลในธรรม พ่อใหญ่แกนนำทั้งสี่จึงไม่ยอมส่งลูกไป รร.

ประการที่สอง แกนนำและชาวบ้านต่อต้านกฏหมายป่าไม้ ซึ่งห้ามคนตัดไม้ ใครจะตัดต้องไปขออนุญาตป่าไม้ แม้แต่จะมาทำเรือน เล้าข้าว ก็ไม่ได้ ท่านเห็นว่าต้นไม้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รัฐบาลไม่ได้ปลูกจะมาห้ามได้อย่างไร

ประการที่สาม แกนนำและชาวบ้านต่อต้านภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งออกมาแทน ภาษีรัชชูปการ ภาษีบำรุงท้องที่เก็บตามขนาดถือครองที่ดิน ท่านเห็นว่าที่ดินชาวบ้านต้องลงแรงถางป่า ขุดตอ ยกคันนาเหนื่อยยากกว่าจะได้นาแต่ละไร่ ที่นาจึงเป็นของชาวนาไม่ใช่ของรัฐจะมาเก็บภาษีได้อย่างไร พวกแกนนำไม่ยอมเสียภาษีบำรุงท้องที่ และมีคนไม่ยอมเสียตาม

ทางนายอำเภอเมืองคือขุนวรรณวุฒิวิจารณ์เห็นว่าจะมีชาวบ้านไม่ยอมเสียภาษีตามจึงเชือดไก่ให้ลิงกลัวโดยยึดที่ดินของพ่อใหญ่สิงห์ พ่อใหญ่เสริม สองพี่น้อง 40 ไร่ ขายเจ๊กพก คนรวยในบ้านสาวะถี 125 บาท แต่ลิงไม่กลัว  สองพี่น้องไม่สนใจเจ๊กพกและนายอำเภอ ยังเข้าไปทำนาตามปกติ เจ๊กพกไปขอเงินคืนนายอำเภอก็ไม่คืน เจ็กพกจึงเสียเงินฟรีไป 125 บาท เท่ากับวัว 30 ตัวในสมัยนั้น ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจ และมีคนศรัทธาพ่อใหญ่โสภามากขึ้นเรื่อยๆ เวลาพ่อใหญ่โสภาไปเล่นหมอลำที่ใหนแฟนคลับจะมากันหลายตำบล

ในที่สุดทางการก็จับหัวหน้าและแกนนำไปขังไว้ 11 คน ขัง 15 วันก็ปล่อยมา พอออกมาพ่อใหญ่โสภากับแกนนำก็พูดถึงการกดขี่ของเจ้านายอีก จึงถูกจับไปขังครั้งที่สอง 20 คน แต่คนเหล่านี้ก็ไม่กลัว การจับใหญ่จึงเกิดชึ้น ในวันที่ 16 ธันวาคม 2483ราวสามทุ่ม ขณะที่พ่อใหญ่โสภา กำลังแสดงหมอลำ มีชาวบ้านหลายตำบล บางคนมาไกลถึง 40 กม. คืนนั้นมีคนมาดูหมอลำ 200-300 คน ทางการจับชาวบ้านทั้งชายหญิงไปขัง 116 คนขังประมาณสองเดือน บางคนคลอดลูกในเรือนจำ ศาลตัดสินแกนนำและหัวหน้า รวม สี่คน จำคุกตลอดชีวิตตามข้อหากบฎภายใน แต่ศาลกรุณาเพราะเห็นว่าชาวบ้านไม่ได้ต่อสู้ขัดขืนการจับกุมจึงพิพากษาให้จำคุก 16 ปี

แต่อย่างก็ตามไม่มีใครถูกจำคุกถึง 16ปี เพราะ พ่อใหญ่เสริมเป็นอหิวาต์ตาย ส่วนพ่อใหญ่โสภา พ่อใหญ่สิงห์ พ่อใหญ่คุยทาง จนท.เอาไปเสี่ยงทายถ่วงน้ำที่คลองบางซื่อ แต่ไม่ตายทางการจึงปล่อยตัวที่เรือนจำขอนแก่น

แต่โชคร้ายก่อนวันปล่อยตัว เพียงหนึ่งวัน พ่อใหญ่โสภา ปวดฟัน ทางเรือนจำจึงให้เสมียนคำมาฉีดยา รุ่งขึ้นพ่อใหญ่โสภาก็ตาย ระหว่างรอญาติมารับศพก็เอาร่างไปฝัง พอญาติมาขุดศพก็พบแต่เสื่อที่ห่อศพกับผ้าขาวม้าของพ่อใหญ่โสภา

ชาวบ้านชื่อว่าทางการฆ่าพ่อใหญ่โสภาโดยการฉีดยาพิษ  และเมื่อศพหายไป ชาวบ้านเชื่อว่าพ่อใหญ่โสภาเป็นผู้วิเศษ

แต่ผู้เขียนสันนิษฐานว่าทางการอาจเกรงว่าถ้าชาวบ้านได้ศพไปทำพิธ๊อาจปลุกความไม่พอใจต่อต้านทางการและจะทำให้พ่อใหญ่โสภากลายเป็นฮีโร่ยิ่งขึ้น จึงเอาศพไปฝังที่อื่น เอาเสื่อกับผ้าขาวม้าฝังอีกที่ก็ได้

อย่างไรก็ตามแม้ท่านจะจากไปนานแล้วตอนที่ผู้เขียนสัมภาษณ์ พ่อใหญ่คุย แดงน้อยแกนนำ(ตายปี 2530 อายุ 106ปี) และพ่อใหญ่พิมพ์ รัตนคุณศาสน์ ซึ่งอยู่ในเหตการณ์แต่อยู่ฝ่ายรัฐในปี 2528  ทั้งคู่และชาวบ้านรุ่นหลังที่นั่งฟังอยู่ด้วยก็ยังจำคำทำนายเหตูการณ์ในอนาคตของท่านได้ ซึ่งตอนทำนายชาวบ้านก็ไม่เข้าใจเพราะสิ่งนั้นยังไม่เกิดขึ้น มาเข้าใจภายหลัง ทำให้ชาวบ้านนับถือพ่อใหญ่ผู้ะล่วงรู้อนาคตยิ่งขึ้น

เช่นทำนายว่า ม้าซิโป่งเขา เสาซิออกดอก (อันแรกคือจักรยานยนต์ อันหลังคือเสาไฟฟ้า)
 โบกกุมภัณฑ์ สิบห้าวันจึงจะเปิดเทียหนึ่ง แต่บ่อมีไผเป็นหนี้กัน(คือลอตเตอรี่)
เหมิดบ้านซิมีไถ 2-3 ดวงเอาไว้ไถนากัน(คือรถไถเดินตาม)
เขาตีมวยอยู่เมืองนอก จะนอนฟังอยู่บ้านก็ได้(คือวิทยุ)






อ่านเพิ่มเติม »

การปฏิรูปการเก็บภาษีในอีสานสมัย ร.5

การเก็บภาษีในภาคอีสานตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงสมัย ร.2 เก็บส่วยเพียงอย่างเดียว ซึ่งน้อยกว่าภาคกลางมาก ต่อมาในสมัย ร.3 จึงมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกสามชนิดคืออากรค่านา อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย และเก็บเฉพาะเมืองที่ขึ้บกับโคราช 10 เมืองคือ โคราช พิมาย นางรอง ปักธงชัย จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ ชัยภูมิ พุทไธสง ประโคนชัย และบุรีรัมย์ เมืองอีกราว80% ที่เหลือเสียชนิดเดียวคือส่วยในขณะที่ภาคกลางต้องเสียภาษีถึง 59 ชนิด

การเก็บอากรสุราและบ่อนเบี้ยใช้วิธีประมูล ใครเสนอราคาสูงสุดรัฐบาลก็ตั้งคนนั้นเป็นนายอากร เก็บได้ก็ส่งรัฐตามที่ประมูลส่วนที่เก็บได้เกินเท่าไรก็เป็นของนายอากรทั้งหมด ในพื้นที่ประมูลใครจะตั้งบ่อน ผลิตสุราไม่ได้ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากนายอากรๆจึงผูกขาดกิจการที่ว่าคนเดียว

ในสมัย ร.5 จึงได้มีการปฏิรูปการเก็บภาษีครั้งใหญ่คือ หนึ่ง เปลี่ยนการเก็บส่วยจากสิ่งของเป็นเงินตรา ตอนแรกปี2442ทดลองเก็บชายฉกรรจ์ คนละ 3.50 บาทแต่ได้เงินน้อยเพราะยกเว้นให้คนหลายจำพวกคือ ข้าราชตั้งแต่สมียน กำนันขึ้นไป ลูกหลานข้าราชการสัญญาบัตร ครู นักดนตรี นักปราชญ์ ช่าง นักพรต นักบวช คนพิการ คนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี สตรี และคนรวย(คนที่ช้าง 1เชือก ขึ้นไป หรือม้า 5ตัว หริอแม่ควาย 15 ตัวขึ้นไป หรือ แม่วัว 30 ตัวขึ้นไป) ต่อมาในปี 2444 จึงประกาศเก็บอตราใหม่ ชายฉกรรจ์คนละ 4 บาทและยกเลิกข้อยกเว้นไปเกือบหมด





ประการทีสอง รัฐบาลตั้งสรรพกรจาก กระทรวงมาเก็บเงินภาษี เงินรัชชูปการที่กำนัน เก็บมาคนละสี่บาท ให้ส่งสรรพกร 91.25%  ที่เหลือ 8.75% ให้เจ้าเมืองกรมการเมืองและกำนัน นอกจากนั้น ภาษีที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้งหมดให้ส่งที่สรรพกร และเก็บทั่วทั้งประเทศ

การปฏิรูปภาษีดังกล่าวทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่า มีเงินมาสร้างทางรถไฟ สร้างโรงเรียน สถานที่ราชการต่างๆ สร้างกองทัพสมัยใหม่และจ่ายเงินเดือนให้ช้าราชการทั้งประเทศเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย

แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มเจ้าเมืองเก่าก็ไม่พอใจเพราะรายได้ลดไปมากเนื่องจากยักยอกส่วยแบบเก่ามิได้ ชาวบ้านก็ไม่พอใจที่ต้องหาสินค้าไปขายไกลๆเพื่อหาเงินสี่บาทมาเสียภาษีรัชชูปการ อันเป็นสาเหตุหนึ่งในการก่อกบฏผู้มีบุญ ปี2445
อ่านเพิ่มเติม »

ภาคอีสานสมัยก่อนเก็บส่วยกันอย่างไร

รัฐไทยปกครองภาคอีสานทั้งหมดและลาวครั้งแรกในปี 2322ผลประโยชน์ที่รัฐไทยสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัชกาลที่สามคือ ส่วย แรงงาน และในส่วนที่เป์นประเทศราชเช่น หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาสักต้องส่งคือเครื่องราชบรรณาการได้แก่ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องประกอบบรรณาการเช่นงาช้าง ผ้าไหม ต้องส่งสามปีต่อคร้ง ส่วนแรงงานก็ถูกเกณฑ์เป็นครั้งคราวเช่นเกณฑ์ไปขุดคูเมือง สร้างกำแพงกรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่หนึ่ง สร้างพระเมรุสมัยต้นรัชกาลที่สาม

ดังนั้นรายได้หลักของรัฐไทยจากภาคอีสานคือส่วย

ใครที่ต้องเสียส่วย  เฉพาะชายฉกรรจ์ที่สูงสองศอกคืบ คือ 125 ซม(วัดจากเท้าถึงไหล่). คนที่ได้รับยกเว้น คือ ภิกษุสามเณร ผู้หญิง ชายอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปี ขุนนาง คนพิการ บัา ไบ้ ข้าทาส

อัตราที่เสียและสิ่งของที่เสีย รัฐบาลเป็นผู้กำหนด เช่นผลเร่ว ครั่งคนละ 12 กก. ขี้ผึ้ง  งาช้าง  2.4 กก. ป่าน  15-30 กก. เส้นไหม 0.6 กก. ทองคำผุย(ทองคำผง) 2-3 สลึง แต่ละเมืองจะเสียอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นและเสียเท่ากันทุกปี




ระบบการเก็บแต่ละเมืองจะมี ขุนนางสี่กองรับผิดชอบคือกองเจ้าเมือง กองอุปฮาด กองราชวงศ์ และกองราชบุตร ไพร่สักกัดกองใดถึงเวลาก็นำไปส่งกองนั้น

เมื่อรวบรวมครบจำนวน พอถึงกำหนดที่ต้องส่งกรุงเทพฯ เจ้าเมืองจะมอบให้อาญาสี่คนหนึ่ง ส่วนมากมักจะเป็นราชวงศ์นำกองคาราวานส่วยไปส่งกรุงเทพฯ

เส้นทางทางบกจะใช้เกวียน หรือโคต่างบรรทุกกระทอที่สานด้วยไม้ไผ่ใส่ส่วย มุ่งตรงไปโคราช จากโคราชไปได้สองทางคือทางปากช่อง กับทางวังน้ำเขียว กบินทร์บุรี ที่กบินทร์จะเปลี่ยนกระทอเพราะเดินทางมานานมักจะชำรุด และชั่งน้ำหนักส่วยแล้วเจ้าเมืองกบินทร์จะรายงานให้สมุหนายกทราบ จากนี้จะใช้เรือล่องไปตามแม่น้ำปราจีน บางปะกง คลองแสนแสบ ปลายทางที่ กทม. ถ้าลงไปทางปากช่อง ถึงสระบุรีก็เปลี่ยนกระทอ ชั่งน้ำหนักรายงานให้สมุหนายก แล้วลงเรือไปตามแม่น้ำป่าสัก เจ้าพระยาถึง กทม.

ปัญหาสำคัญของส่วยคือการคอรัปชั่นส่วยโดยแจ้งจำนวนไพร่ต่ำกว่าความจริงมาก ซึ่งผู้เขียนได้แยกเขียนอีกบทความหนึ่งแล้ว






อ่านเพิ่มเติม »

ปัญหาการเก็บส่วยในภาคอีสาน

อีสานเดิมอยู่ใต้อาณาจักรล้านช้าง ต่อมาในสมัยสมเด็จเจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยาจึงตีอีสานใต้ส่วนที่ปัจจุบันคือนครราชสมาและบุรีรัมย์ได้เพื่อใช้โคราช พนมรุ้งคุมเขมรมิให้ต่อต้านไทยได้

ต่อมาสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ไทยได้ควบคุมแถบนี้ไปถึงสุรินทร์

ในปี2318 ไทยได้ปกครองถึงร้อยเอ็ด

ในปี 2319 เมืองนางรองเป็นกบฎ และไปขึ้นกับจำปาสัก ไทยจึงยกทัพไปตีในปี   2320  ตีอีสานใต้ที่เหลือและอาณาจักรจำปาสักได้

ปี  2321  ไทยยกทัพใหญ่ไปตีอาณาจักรเวียงจันทน์เพราะ เวียงจันทน์ส่งทัพมาตีก๊กพระวอที่มาขึ้นกับไทยแล้ว ปี 2322 ไทยตีได้ ลาว รวมทั้งหลวงพระบางและอีสานทั้งหมดก็มาขึ้บกับไทย

การปกครองไทยก็ให้ลาวปกครองแบบเดิมคือระบบอาญาสี่ กษัตริย์ทรงแต่งตั้งเฉพาะสี่ตำแหน่งใหญ่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตรทั้งระดับเมืองและอาณาจักร ที่เหลือเจ้าเมืองก็แต่งตั้งกันเอง




การเก็บภาษีก็เก็บส่วยแบบเดิม แต่ต้องส่งไทย หนึ่งในสาม เจ้าเมืองได้สองในสาม

ปัญหาคือเจ้าเมืองแจ้งจำนวนไพร่ที่จะเสียส่วยต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ส่วนกลางจึงได้ภาษีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก

ต่อมาส่วนกลางเริ่มระแคะระคายว่าได้ภาษีน้อยกว่าที่ควรจะได้ จึงให้เจ้าเมืองส่งส่วยสองส่วน เจ้าเมืองกรมการเมืองได้หนึ่งส่วน ส่วนกลางพอใจที่ได้เงินเพิ่มขึน

แต่จากการตรวจสอบเอกสารที่นักสำรวจฝรั่งเศสสำรวจอย่างละเอียด ทั้งจำนวนไพร่และจำนวนเงินส่วยที่เจ้าเมืองส่งกรุงเทพ พบว่าจำนวนไพร่ที่แจ้งต่อกรุงเทพและส่วยที่ส่งโดยเฉลี่ยไม่ใช่สองในสาม แต่มีเพียงหนึ่งในสาม เจ้าเมืองยังยักยอกไว้ราวสองในสามเหมือนเดิม (แต่ละเมืองยักยอกไว้มากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน)

ที่มา https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcThPH2b2PpdI8454CNYNa3tmntS-IcyztAi62qPJRCDWtzPISJSDA

สรุปว่าการคอรัปชั่นภาษีสมัย ร  1-5 เกิดจากการขาดตัวเลขประชากรที่ถูกต้อง ดังนั้นตอนปลาย ร. 5   จึงมีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ปัญหาการเก็บส่วยยังเกิดจากการที่ไพร่ไปแต่งงานเมืองอื่นทำให้ทางการตามตัวไพร่ไม่พบ

อีกประการหนึ่ง กฎหมายยอมให้ไพร่เลือกสังกัด ย้ายสังกัดได้ทำให้เวลาเปลี่ยนเจ้าเมืองมักจะมีการย้ายนายจนวุ่นวายทำให้การเก็บส่วยยุ่งยาก

การตั้งเมืองใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ สมัย ร.1-4  ทำให้ พื้นที่เมืองเปลี่ยนแปลงทำให้จำนวนไพร่สับสน ก็ส่งผลต่อการเก็บส่วย ในป๊  2426  ร. 5 จึงให้ยุติการตั้งเมืองใหม่ในอีสาน
อ่านเพิ่มเติม »

ทำไมคนอีสานสมัยก่อนจึงต้องแลกเปลี่ยนค้าขาย

คนอีสานสมัยก่อนเมื่อราว 60 ปีก่อนขึ้นไปมีการค้าขายน้อยกว่าคนภาคอื่นมาก แต่ก็มีการแลกเปลียนอยู่บ้าง สาเหตุที่คนอีสานต้องมีการแลกเปลี่ยน

ประการแรก เกิดจากในบางปีเกิดภัยแล้ง สมัยก่อนไม่มีระบบชลประทานเหมือนสมัยปัจจุบันต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ทำให้ข้าวไม่พอกิน ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาโดยการเข้าป่าขุดเผือกมัน แม้กระทั่งกลอยเอาต้มกิน บางคนก็กินขุยไผ่คือเมล็ดไผ่ แต่ถ้าของเหล่านี้ไม่พอก็ต้องไปแลกข้าวกับหมู่บ้านที่พอมีข้าวให้แลก ของที่เอาไปแลกก็แล้วแต่มีอะไร เช่น หน่อไม้ ปลาแดก เครื่องจักสาน แย้ กะบอง(ขี้ไต้)

ประการที่สองเกิดจากหลายหมู่บ้านไม่มีดินเค็มจึงผลิตเกลือไม่ได้ บางหมู่บ้านไม่มีช่างปั้นหม้อไม่มีดินเหนียวที่เหมาะกับการทำหม้อไห หลายหมู่บ้านไม่มีช่างตีเหล็ก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านที่มีกับไม่มีสิ่งของที่จำเป็นอัตราการแลกไม่แน่นอน ไม่มีการตีราคาเป็นเงิน แต่บางอย่างก็ทำคล้ายๆกันเช่นหม้อดิน 1 ใบแลกข้าวได้ 1หม้อแล้วแต่หม้อใหญ่เล็กที่แลกกัน

ถ้าเป็นเสี่ยวกันหรือญาติต่างหมู่บ้านจะให้มากเป็นพิเศษ

การแลกกันดังกล่าวจึงเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน เห็นอกเห็นใจกันในยามตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งหมู่บ้านส่วนมากก็ล้วนแต่เคยผ่านประสบการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วม จึงคิดเสมอว่าวันนี้เขามาพึ่งเรา วันหน้าเราก็อาจไปพึ่งเขา

ส่วนการคัาขายคือการเอาของไปแลกเงินในอีสานเกิดจากรัฐเปลี่ยนระบบการเสียส่วยที่เป็นสิ่งของเช่นผลเร่ว(หมากแหน่ง)ชายฉกรรจ์คนละ 12กก. หรือผ้าขาวคนละ สิบผืน ป่านคนละ12  กก. ในปี 2444  รัฐบาลเปลี่ยนมาให้เสียเป็นเงิน คนละ  4 บาท(เงินสี่บาทสมัยนั้นซื้อวัวได้  1  ตัว)เรียกว่าเงินรัชชูปการ

ต่อมาในสมัย ร. 6 รัฐบาลได้เพิ่มภาษีการศึกษาหรือศึกษาพลีอีกคนละ     2 บาท รวมรัชชูปการอีก  4   บาทเป็น     6   บาท (เท่ากับควายตัวหนึ่ง)

ผลคือชาวบ้านเดือดร้อนมากเพราะสังคมอีสานสมัยนั้นเป็นสังคมที่พอเพียงพึ่งทรัพยาการในปริมณฑลของหมู่บ้านและแรงงานคนในครอบครัว ถ้าเหลือบ่าฝ่าแรงก็ไหว้วานญาติ เพื่อนบ้านมาช่วยได้เสมอเช่นยกเรือน เกี่ยวข้าว จึงเป็นสังคมที่ไม่ใช้เงินตรา ชาวบ้านก็อยู่ได้ เมื่อรัฐต้องการเงินชาวบ้านจึงต้องหาของไปขายซึ่งลำบากมากเพราะไม่ค่อยมีตลาด ผู้เขียนสัมภาษณ์ผู้เฒ่าวัย88 ปีที่อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2526 เล่าว่าต้องหาบไก่สิบหกตัวไปขายเจ๊กที่ตลาดโคราช ซึ่งไกลจากหมู่บ้านถึง ถึง 140  กม,

อีสานเมื่อศตวรรษก่อนมีควายมากมาย ใครที่ควายสามสี่ตัวถือว่ายากจน คนที่มีฐานะดีมีควาย    40    ตัว บางคนมีเป็นร้อยตัว ควายจึงเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่คนอีสานสมัยนั้นเอาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน แต่ในอีสานคนมีควายมากแล้วขายไม่ได้ตลาดควายจึงอยู่ที่ภาคกลางและพม่า บางส่วนแถวอุบลก็เอาขายในโคชินจีนของฝรั่งเศส

ภาคกลางของไทยพิ้นที่นาขยายตัวมากหล้งสัญญาเบาริ่งไม่นานจึงต้องการควายมาก ตอนล่างของพม่าก็ขยายตัวเหมือนกันจึงมีนายฮ้อยกุลาซื้อควายไทยปีละราวสี่หมื่นตัวส่วนมากมาจากอีสาน

การเก็บภาษีเป็นเงินทำให้เกิดการคีาขายในภาคอีสานและเกิดอาชีพนายฮ้อยด้วย
อ่านเพิ่มเติม »

เพราะเหตุใดภาคอีสานสมัยก่อนจึงมีการค้าน้อยกว่าภาคอื่น

สาเหตุที่การค้าในภาคอีสานเมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีน้อยกว่าภาคอื่นเพราะภาคอีสานไม่มีแม่น้ำเชื่อมกับภาคอื่นๆ ในขณะที่ภาคเหนือมีแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก ชื่อมกับภาคกลาง ส่วนภาคใต้ก็มีทะเลเชื่อมกับภาคกลางและมลายู คนสมัยก่อนหากจะไปมาระหว่างภาคอีสานกับภาคกลางจะต้องเดินเท้า ใช้ม้า เกวียนแต่ก็ยากลำบากมากเพราะต้องผ่านภูเขา และดงพญาไฟซึ่งมีอันตรายมากจากไข้ป่าหรือไข้มาเลเรีย ตอนที่ฐบาลสร้างทางรถไฟสายแรกคือสายกรุงเทพฯ-โคราชในสมัย ร.5 มีกรรมกรจีนตายจากไข้ป่า มากกว่า400คน มีวิศวกรเยอรมันตายกว่า30คน จนมีคำกล่าวว่าใครจะเดินทางผ่าดงพญาไฟจะต้องสะพายหม้อดินเอาใส่กระดูกตัวเอง เมื่อตายเพื่อนที่ไปด้วยจะเผาศพเอากระดูกใส่หม้อดินไปฝากพ่อแม่ ลูกเมีย


ข้าราชการสมัยก่อนหากถูกย้ายมาภาคอีสาน จะเสียใจมากเพราะกลัวว่าจะเอาชีวิตมาทิ้งแถวดงพญาไฟ บางคนถึงกับลาออกจากราชการก็มี

ประการที่สองการเดินทางสมัยนั้นยังต้องเสี่ยงภัยกับสัตว์ร้ายเช่นเสือ งูซึ่งมีชุกชุมมากเนื่องจากเมื่อร้อยปีก่อนพื้นที่ป่าใภาคอีสานมีมากกว่า80%ของพื้นที่ภาค ป่าจึงเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายที่คร่าชีวิตคนเดินทางเสมอๆ

ประการที่สาม มีโจรคอยปล้นฆ่าพ่อค้าเสมอๆ มีหลักฐานในสมัย ร.3 พ่อค้าจีนที่ค้าขายระหว่างอุบลกับร้อยเอ็ดถูกปล้นถูกฆ่าตายระหว่างรอยต่อเมืองสุวรรณภูมิกับอุบล ในสมัย ร.5มีพ่อค้ากุลาถูกโจรปล้นหลายครั้ง เหตุที่มีโจรเพราะอีสานมีพื้นที้กว้างที่สุดของประเทศเมืองก็อยู่ห่างๆกัน เจ้าหน้ามีน้อยมากสมัยก่อน มีขุนเมืองดูแล ไม่มีตำรวจอาชีพ หลังกบฎผู้มีบุญอีสานปี2445จึงมีกาสร้างตำรวจอาชีพเป็นครั้งแรก คือ รร.นายร้อยตำรวจที่ จอหอ ผลิตตำรวจราว400คนส่งไปดูแลอีสานใต้ ได้ผลดีมากจึงผลิตตำรวจส่งไปทั่วประเทศ

ประการที่สี่ แม่น้ำหลักในอีสานทุกสายล้วนแต่ไหลลงแม่น้ำโขง และเป็นแม่น้ำสายเล็กมาก พอหน้าแล้งก็แห้งเป็นช่วงๆเดินเรือได้เฉพาะหน้าฝน จึงเป็นอุปสรรคต่อการค้า แม่น้ำโขงใช้เดินเรือค้าขายได้เฉพาะช่วงเหนือคอนพระเพ็ง หลี่ผีขึนมาใต้ลงไปทำไม่ได้เพราะติดแก่งหลี่ผีมหึมาขวางก้น


ประการสุดท้ายเพราะสังคมอีสานสมัยนั้นแต่ละหมู่บ้านพึ่งตัวเองได้สูงมาก ผลิตข้าวได้พอเพียง กับข้าวก็มีผักป่ารอบๆหมู่บ้าน มีปลาอุดม ผู้เขียนเคยสัมภาษณ์ผู้เฒ่าอายุ80ปีเมื่อปี2529 ที่บ้านท่าสะอาดใต้ อ.เซกา จ.หนองคาย ท่านบอกว่าสมัยหนุ่มไปทอดแหในแม่น้ำสงครามโครมเดียวได้ปลาค้อนกะต่า(เกือบสิบ กก.)กินไม่หมดต้องเอาไปแบ่งให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงเสมอ ในป่ายังมีสัตว์น้อยใหญ่เช่นกวาง เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า กะปอม แย้ แมงกินูน แมงเบ้า แมงกุดจี่ฯลฯ เสื้อผ้าก็ทอเอง วัสดุสร้างบ้านก็ตัดจากป่ารอบๆหมู่บ้าน ยารักษาโรคก็ใช้สมุนไพรจากป่า ดังนั้นชาวบ้านจึงพึ่งตัวเองได้สูงมากไม่ต้องพึ่งห้าง หรือเซเว่นอีเลฟเว่นเหมือนคนไทยในปัจจุบันการค้าในยุคนั้นจึงเกิดขึ้นยาก


อ่านเพิ่มเติม »