รถยนต์ญี่ปุ่นชิงตลาดรถยนต์ฝรั่งได้อย่างไร

ยุโรปผลิตรถยนต์ได้ก่อนทวีปใด ต่อมาก็มาเติบโตที่ทวีปอเมริกา ในไม่ช้าสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้มากที่สุดในโลกจากการที่เฮนรี่ ฟอร์ด นำระบบการผลิตแบบสายพานมาใช้เป็นคนแรก ทำให้ลดต้นทุนการผลิตอย่างมาก รถฟอร์ดกลายเป็นรถขายดีที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นกลับกลายเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้มากที่สุด ญี่ปุ่นชิงตลาดรถไปจากฝรั่งได้อย่างไร

ญีปุ่นเริ่มผลิตรถยนต์ช้ากว่ายุโรป ราว 50 ปี ช้ากว่าสหรัฐ ราว 30 ปี ในปี 2477 ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ได้เพียง 2,845 คันหรือ ร้อยละ 0.08 ของรถยนต์ของรถยนต์ที่ผลิตทั่วโลก ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นมีนโยบายขยายดินแดน มีการเพิ่มกำลังทหาร และใช้รถบรรทุกทหารและยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมาก จึงจ้างบริษัทโตโยต้า  นิสสัน และจิโดชา โคกิโอ (ต่อมาคืออีซูซุ) หล้งสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ให้กลับมายืนได้ใหม่ โดยมีมาตรการ (1) ตั้งกำแพงภาษีรถยนต์นำเข้า (2) กำหนดโควตาจำนวนรถยนต์นำเข้า (3) จำกัดเงินทุนของหุ้นส่วนที่เป็นชาวต่างประเทศ (4) เร่งนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เรียนรู้และพัฒนาจากเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้ของญี่ปุ่นดีกว่าของฝรั่งให้ได้โดยเร็ว เพราะมาตรการเหล่านี้รัฐบาลจะอุ้มระยะหนึ่งเท่านั้น ประกอบกับคนญี่ปุ่นมีความรักชาติมากจึงเลีอกที่จะซื้อรถญี่ปุ่นมากกว่ารถฝรั่ง ในไม่ช้ารถญี่ปุ่นก็ค่อยๆชิงตลาดรถฝรั่งในญี่ปุ่น และขยายไปยังต่างประเทศ ในปี 2523 จำนวนรถญี่ปุ่นมากเป็นที่สองของโลก เป็นรองเฉพาะสหรัฐ พอถึงปี 2532 ญี่ปุ่นก็แซงหน้าสหรัฐ คิอผลิตได้ 8,370,000 คัน สหรัฐผลิตได้เพียง 6,807,000 คัน ในปี 2535 ญี่ปุ่นผลิต 12,499,000 คัน

สำหรับในเมืองไทย อุตส่าหกรรมรถยนต์เพื่งมาเริ่มต้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2503 บริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ ได้ตั้งขึ้นประกอบรถยนต์เบนซ์ เป็นบริษัทแรก แต่ในในไม่ช้าบริษัทญี่ปุ่นก็เข้ามาตั้ง โรงงานประกอบรถยนต์บ้างและมีจำนวนมากกว่าของฝรั่ง โดยในปี 2505 มีสองบริษัทคือ บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี สิทธิผลจำกัด ผลิตรถยี่ห้อ มิตซูบิชิ และ ฟูโซ่ บรษัทสยามกลการและนิสสัน จำกัด ผลิตยี่ห้อนิสสัน และ ซูซูกิ ปี 2507 มี 2 บริษัทคือบิษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัดและบริษัทไทยฮีโน่อุตสาหกรรมจำกัด  ปี 2509 ตั้งบริษัทอีซูซุมอเตอร์ ปี 2513 บริษัทบางชันเยเนอรัลแอสเซมบลี จำกัดผลิตรถฮอนด้า โอเปิล และโฮลเดน ในปี 2516 มี 3 บริษัทคือ บริษัทวายเอ็มซี แอสเซมบลี จำกัด ผลิตรถ บีเอ็มดับลิว เปอโยต์ และซีตรอง บริษ้ทสยามอุตสาหกรรมรถยนต์ จำกัด ผลิตรถนิสสัน บริษัทไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัดผลิตรถยนต์ ดาฟ ปี 2517 บริษัทสุโกศลมาสด้าอุตสาหกรรมรถยนต์ จำกัด ผลิตรถมาสด้าและ ฟอร์ด ปี 2519 บริษัทไทยสวีดีชแอชเซมบลี จำกัด ผลิตรถรถรถวอลโว่ และเรโนลท์ จะเห็นว่าบางยีห้อผลิตจากสองบริษัท บางบริษัทผลิตหลายยี่ห้อ บริษัทเหล่านี้ในช่วงต้นๆ เป็นโรงงานนำชิ้นส่วนจากเมืองแม่มาประกอบในเมืองไทย ต่อมารัฐบาลไทยต้องการให้มีการผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ในเมืองไทยมากขึ้นเพื่อจะได้เกิดการจ้างงานในเมืองไทยมากขึ้น สัดส่วนของขิ้นส่วนที่ผลิตในเมืองไทยจึงเพิ่มขึ้นในตอนหลัง

การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองไทยโดยเฉพาะรถญี่ปุ่นซึ่งมีหุ้นใหญ่ถึง 8 ใน 12 บริษัทเกิดจากนโบายของรัฐบาลไทยที่เข้าไปโอบอุ้มโดยมีมาตรการทางกฏหมายและกำแพงภาษี พอสรุปได้ดังนี้ ในเดือนมกราคม 2521 มีกฏหมายกำหนดให้ (1) ห้ามนำเข้ารถยนต์ที่มีขนาดต่ำกว่า 2,300 ซี.ซี. (2) ห้ามตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น ผลของมาตรการนี้ทำให้ผู้ขายอะไหล่รถยนต์ฝรั่งค่อยๆ เลิกกิจการเพราะรถยนต์ฝรั่งมักมีขนาดใหญ่เกิน 2,300 ซี.ซี. จะไม่มีเพิ่ม คนขายอะไหล่ก็จะขายได้น้อยลง ในขณะที่รถญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าฝรั่งจึงมีผลดีทั้ง กินน้ำมันน้อยกว่า และราคารถก็ถูกกว่า (3) เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ขนาดตั้งแต่ 2,300 ซีซีขึ้นไป. 300% ของราคารถ หากรวมภาษีทุกชนิด จะต้องเสียภาษี ถึง 616% ของราคารถ (4) รถเก๋งที่นำมาประกอบในประเทศ (CKD) ต้องเสียภาษี 125.3%  ผลของมาตรการเหล่านี้ทำให้รถต่างประเทศที่มีขนาดต่ำกว่า 2,300 ซีซี. เข้ามาไม่ได้ ถ้าจะนำชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศต้องเสียภาษี 125.3% รถขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2,300 ซึซี.นำเข้าได้แต่ต้องเสียภาษีถึง 616% ทำให้รถราคาแพงมากๆ คนไทยจึงถูกบังคับโดยไม่ทีทางเลี่ยงให้ซื้อรถในประเทศซึ่งถูกกว่า แต่เนื่องจากไม่คู่แข่งผู้ผลิตรถในประเทศจึงตั้งราคารถสูงกว่าราคารถที่ขายในต่างประเทศ เช่นรถโตโยต้าสตาเลต ราคาในอิตาลี 279,870 บาท แต่ราคาในประเทศไทย 350.000 บาท รถเบนซ์ 300 E ในอิตาลีและฝรั่งเศส ราคาประมาณ 1ล้านบาท แต่ราคาในประเศไทย 2.5 ล้านบาท นี่คือยุคทองของการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย ซึ่งอ้นที่จริงก็คือการปกป้องรถยนต์ญี่ปุ่นเพราะ 8 ใน 12 บริษัทผลิตรถยนต์เป็นญี่ปุ่น  การปกป้องอย่างสุดๆดำเนินต่อมาจนถึงรัฐบาลอานันท์ ปัณยารชุณ ได้ลดมาตรการคุ้มครองดังกล่าวลง ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2534 ยกเลิกการห้ามนำเข้ารถขนาดต่ำกว่า 2,300 ซีซี.หลังจากห้ามนำเข้ามา 13 ปี ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตในประเทศกับต่างประเทศ นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพและราคาให้เหมาะสม ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ซื้อ นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ลดภาษีนำเข้ารถที่มีขนาดตั้งแต่ 2,300 ซีซี.จาก 300% เหลือ 100% ของราคารถที่นำเข้า  ถ้ารวมภาษีทุกชนิด ก็ลดจาก 616% เหลือ 210.8% รถที่นำชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาประกอบในประเทศลดภาษีจาก 112% เหลือ 30% หรือถ้ารวมภาษีทุกชนิดลดจาก 125.3% เหลือ 106%


รถเชฟโลเลตุรุ่นปี 1952 (พ.ศ.2495)


รถอเมริกัน ไกเซอร์ เวอจิเนียรุ่นปี 1949 (พ.ศ.2492)


รถดัตสัน นำเข้าไทยราว 2505-2515 ราคาขณะนั้น 30,000 บาท


รถดัตสันรุ่น 620 หรือรุ่นช้างเหยียบ เป็นรุ่นที่นิยมมากเพราะความทนทาน


รถโตโยต้ากะบะรุ่นแรกๆ ที่ยังใชักันอยู่ในปัจจุบัน


รถดัตสันรุ่นแรกๆ

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ผู้จำหน่ายรถญี่ปุ่นในไทยยังมีบริการหลังขายที่ดีกว่ารถฝรั่งคือมีศูนย์บริการซึ่งเป็นทั้งตัวแทนจำหน่ายรถและอะไหล่ เมื่อถึงรอบตรวจเช็คก็ตรวจเช็คและเปลี่ยนอะไหล่ให้ ศูนย์ดังกล่าวกระจายอยู่ทั่วประเทศทำให้ผู้ซื้อรถญี่ปุ่นสะดวกเวลาตรวจเช็คหรือรถเสียไม่ต้องเดินทางมากรุงเทพฯ เหมือนรถฝรั่ง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้รถญี่ปุ่นเข้ามาครองตลาดแทนรถฝรั่ง ในเวลาเพียงไม่ถึงสองทศวรรษหลังจากที่ญี่ปุ่นมาตั้งโรงงานในไทย

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัตและช่อ วายุภักตร์ รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทของยานยนต์ญี่ปุ่นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังตมอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปจจุบัน( ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น )1995  www.thaicarlover.com  www.motortrivia.com

*เผยแพร่ในเว็บบล็อก เมื่อ 20กค.2558
  http://suwit-history.blogspot.com/

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 กรกฎาคม 2558 เวลา 11:11

    เรียบเรียง ได้อย่างยอดเยี่ยม จากอดีตถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ สำหรับเรื่องราวประวัติการผลิตรถยนต์ คนญี่ปุ่นมุ่งมั่น มีวินัยและทุ่มเทมาก คิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ มีเป้าหมายที่ชัดเจน และ ขับเคลื่อนตลอดเวลา จึงนำมาซึ่งความสำเร็จและเป็นผู้นำอยู่เสมอครับ

    ตอบลบ