การปฏิรูปการเก็บภาษีในอีสานสมัย ร.5

การเก็บภาษีในภาคอีสานตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงสมัย ร.2 เก็บส่วยเพียงอย่างเดียว ซึ่งน้อยกว่าภาคกลางมาก ต่อมาในสมัย ร.3 จึงมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกสามชนิดคืออากรค่านา อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย และเก็บเฉพาะเมืองที่ขึ้บกับโคราช 10 เมืองคือ โคราช พิมาย นางรอง ปักธงชัย จัตุรัส บำเหน็จณรงค์ ชัยภูมิ พุทไธสง ประโคนชัย และบุรีรัมย์ เมืองอีกราว80% ที่เหลือเสียชนิดเดียวคือส่วยในขณะที่ภาคกลางต้องเสียภาษีถึง 59 ชนิด

การเก็บอากรสุราและบ่อนเบี้ยใช้วิธีประมูล ใครเสนอราคาสูงสุดรัฐบาลก็ตั้งคนนั้นเป็นนายอากร เก็บได้ก็ส่งรัฐตามที่ประมูลส่วนที่เก็บได้เกินเท่าไรก็เป็นของนายอากรทั้งหมด ในพื้นที่ประมูลใครจะตั้งบ่อน ผลิตสุราไม่ได้ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากนายอากรๆจึงผูกขาดกิจการที่ว่าคนเดียว

ในสมัย ร.5 จึงได้มีการปฏิรูปการเก็บภาษีครั้งใหญ่คือ หนึ่ง เปลี่ยนการเก็บส่วยจากสิ่งของเป็นเงินตรา ตอนแรกปี2442ทดลองเก็บชายฉกรรจ์ คนละ 3.50 บาทแต่ได้เงินน้อยเพราะยกเว้นให้คนหลายจำพวกคือ ข้าราชตั้งแต่สมียน กำนันขึ้นไป ลูกหลานข้าราชการสัญญาบัตร ครู นักดนตรี นักปราชญ์ ช่าง นักพรต นักบวช คนพิการ คนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี สตรี และคนรวย(คนที่ช้าง 1เชือก ขึ้นไป หรือม้า 5ตัว หริอแม่ควาย 15 ตัวขึ้นไป หรือ แม่วัว 30 ตัวขึ้นไป) ต่อมาในปี 2444 จึงประกาศเก็บอตราใหม่ ชายฉกรรจ์คนละ 4 บาทและยกเลิกข้อยกเว้นไปเกือบหมด





ประการทีสอง รัฐบาลตั้งสรรพกรจาก กระทรวงมาเก็บเงินภาษี เงินรัชชูปการที่กำนัน เก็บมาคนละสี่บาท ให้ส่งสรรพกร 91.25%  ที่เหลือ 8.75% ให้เจ้าเมืองกรมการเมืองและกำนัน นอกจากนั้น ภาษีที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้งหมดให้ส่งที่สรรพกร และเก็บทั่วทั้งประเทศ

การปฏิรูปภาษีดังกล่าวทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่า มีเงินมาสร้างทางรถไฟ สร้างโรงเรียน สถานที่ราชการต่างๆ สร้างกองทัพสมัยใหม่และจ่ายเงินเดือนให้ช้าราชการทั้งประเทศเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย

แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มเจ้าเมืองเก่าก็ไม่พอใจเพราะรายได้ลดไปมากเนื่องจากยักยอกส่วยแบบเก่ามิได้ ชาวบ้านก็ไม่พอใจที่ต้องหาสินค้าไปขายไกลๆเพื่อหาเงินสี่บาทมาเสียภาษีรัชชูปการ อันเป็นสาเหตุหนึ่งในการก่อกบฏผู้มีบุญ ปี2445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น