วัดพระธาตุหนองบัว อุบลราชธานี

วัดพระธาตุหนองบัว ตั้งอยู่ใน อ.เมือง อุบลราชธานี สร้างในปี 2498 สร้างจำลองเจดีย์พุทธคยาในวาระฉลอง  25 พุทธศตวรรษ แต่เสร็จสมบูรณ์ในปี 2512 ขนาดกว้าง 17 เมตร สูง 57 เมตร บรรจุพระบรมสาริกธาตุ ภายในยังสร้างเจดีย์สำคัญ เช่น พระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุแช่แห้ง ขนาดเล็ก ผนังและเพดานสร้างลวดลายปิดทองวิจิตรยิ่งนัก

วัดนี้มีพื้นที่ 50 ไร่เศษ ห่างจากศากลางจังหวัดไปทางเหนือราว 5 กม.


อ่านเพิ่มเติม »

วัดป่ากุง บุโรพุทโธ แห่งอีสาน

วัดป่ากุง หรือวัดประชาคมวนาราม ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ไปตามถนนสายวาปีปทุม  20 กม.แล้วเลี้ยวขวาไปทาง อ.ศรีสมเด็จอีก 9 กม.ถึงวัด ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ

ไฮไลท์ของวัดนี้คือมหาเจดีย์ซึ่งเกิดจากในปี 2531หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระเกจิสำคัญสายวิปัสนาของอีสาน ท่านไปดูงานที่บรมพุทโธ ในเกาะชวา บรมพุทโธเป็นพุทธสถานที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียสมัยโบราณ หลวงปู่ศรี ได้ส่งสถาปนิกและช่างไปจำลองบรมพุทโธมาสร้างในอีสานมีผู้มีจิตศรัทธาและคนที่นับถือในหลวงปู่ได้บริจาคเงินสร้างมหาเจดีย์ 40 ล้านบาท

เริ่มก่อสร้าง 5 มีนาคม 2547  สร้างเสร็จ 3 พฤกษภาคม 2549 มหาเจดีย์สร้างด้วยหินทราย มี 7ชั้น มีภาพพุทธประวัติแกะสลักบนหินทรายอย่างสวยงามรอบๆฐานเจดีย์ ยอดเจดีย์ทำด้วยทองคำหนัก 110  กก. และ บรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า

บริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นมากสมเป็นวัดป่า น่าไปเที่ยวและไหว้พระนะครับ

อ่านเพิ่มเติม »

วัดสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ

วัดสระกำแพงใหญ่ อยู่ใน อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ มีมีสิ่งน่าสนใจที่สุดคือมีปราสาทสระกำแพงใหญ่ซึ่งเป็นปราสาทโบราณที่ใหญ่ที่สุดในจ.ศรีสะเกษ

ปราสาทนี้สร้างตามแบบของศิลปขอมที่เรียดว่า ศิลปะบาปวน  บาปวนเป็นชื่อของปราสาทขอมซึ่งเป็นต้นแบบของการสร้างปราสาทขอมในเมืองไทยอีกหลายแห่ง อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ปราสาทพนมวัน จ.นครราชสีมา ปราสาทเปือยน้อย จ.ขอนแก่น กู่กาสิงห์ และกู่พระโกณา จ.ร้อยเอ็ด ปราสาทภูเพ็ก จ.สกลนคร

นักประวัติศาสตร์ศิลป์กำหนดช่วงศิลปะแบบบาปวนอยู่ในช่วง พ.ศ.1550-1620 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1(1549-1593)และรัชสมัยพระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่2(1593-1609)

ในปราสาทสระกำแพงใหญ่มีอาคารสร้างด้วยหินทราย 6 หลัง ตรงกลางมี3 หลัง ทางขวามี 2 หลัง เรียกว่าบรรณาลัยคือห้องสมุด แสดงให้เห็นว่าขอมเป็นชาติที่ให้ความสำคัญมากในเรื่องความรู้ และคนไทยในสมัยก่อนรัชกาลที่หก ก็ยกย่องภาษาขอม คนที่บวชเรียนนอกจากต้องผู้ภาษาไทยแล้วยังต้องรู้ภาษาขอมเพื่อที่จะอ่านคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและคาถาต่างๆที่บันทึกเป็นภาษาขอมได้ ภาษาไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงให้นักปราชญ์คิด รวมทั้งตัวเลข ก็นำมาจากภาษาขอมเป็นส่วนใหญ่

อาคารทางซ้ายในปราสาทมีหลังเดียว วัสดุหลักที่ใช้ก่อสร้างปราสาททั้งหมดส่วยใหญ่เป็นหินทรายหินทราย

ในปัจจุบัน ในวัดยังมีสิ่งคัญคือหลวงพ่อหิน อายุนับพันปีซึ่งคนในแถบนี้นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มักมาบนให้ท่านช่วยเสมอๆ หลวงพ่อหินอยู่ในวิหาร ทางซ้ายมือใกล้ประตูวัด อยู่นอกปราสาท

นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นของพระเกจิดังของเมืองไทยตั้งอยู่รอบวิหารหลวงพ่อหินด้วย

ผู้เขียนหน้าปราสาทแถวกลาง

นาคห้าเศียรทำด้วยหินทราย นาคเป็นวัตว์ที่คนในลุ่มน้ำโขงนับถือมากสร้าวไว้เฝ้าปราสาท

อ่านเพิ่มเติม »

ไหหินภาค 2

ผมที่ทุ่งไหหิน หน้าโลงหิน(ถ่ายเมื่อ26กค.2549)
ผมต้องเขียนเรื่องไหหินอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเขียนเรื่องนี้เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2560 เพราะได้อ่านบทความในสารคดี ฉบับ ตค.2560 หน้า40-49 ของ รชฏ มีตุวงศ์ เป็นบทความเรื่องไหหินที่ดีที่สุดที่เคยอ่านมา หลายท่านไม่มีโอกาสได้อ่านวารสารนี้ ผมจึงขอนำมาเล่าอย่างสรุปอีกที

ผู้สร้างไหหินในลาวคือชาวขมุหรือข่าซึ่งเป็นคนที่มีชีวิตในลาวไทยตั้งแต่สมัยหินถึงปัจจุบัน นี่เป็นความเห็นของ ศ.ปรานี วงษ์เทศ ม.ศิลปากร ซึ่งผมเห็นด้วย เพราะคนกลุ่มนี้เก่งเรื่องถลุงเหล็กมีภาพขมุที่ฝรั่งพบในลาวตีเหล็กในสมัย ร.4-5 การสร้างโลงจากหินต้องใช้เหล็กสกัด

แหล่งที่มีหินที่เอามาทำโลงหินมักอยู่ไม่ห่างจาก พื้นที่ซึ่งจะตั้งโลง บาง พื้นที่ห่างไป1-2กม. แต่แหล่งที่ผลิตโลงอันใหญ่สุดและเป็นเหมือนพระเอก (หนักราว 15 ตัน ขนาด 2×2.5 เมตร) มาจากภูเค็ง ซึ่งห่างไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 9 กม.หินที่ใช้ 88% เป็นหินทราย ที่เหลือเป็นหินกรวด หินปูน

วิธีขนไหหินมาอาจใช้เรือแพ ช้าง ถ้าไม่ใหญ่ใช้แรงคน

พื้นที่ไหหินกระจายอยู่ในแขวงเชียงขวางมากที่สุด แขวงหลวงพระบางมีเพียงเล็กน้อยที่ภูคูน โดยกระจายราวๆ100กลุ่ม มีไหหินมากกว่า 2000ใบ ในพื้นที่ราว5500 ตารางกิโลเมตร

แหล่งที่เป็นไฮไลท์ของไหหินคือแหล่งที่ 1 ซึ่งมีไหหินใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ซึ่งใครที่มาทุ่งไหหินต้องไปชมรวมทั้งผมด้วย มีไหหิน339 ใบแต่แหล่งที่มีไหหินมากที่สุดอยู่ที่บ้านป่าแก้ว เมืองแปก แขวงเชียงขวาง มี 371 ใบ

มีนักโบราณคดีหลายคนขุดตรงใกล้ไหหิน พบภาชนะดินเผาใส่กระดูกที่เอามาจากไหหิน นี่คือประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 คือครั้งที่1 ใส่ในไหหิน จนเนื้อเน่าเปื่อยเหลือแต่กระดูก หลายปีต่อมาจึงเอากระดูกนั้นมาใส่หม้อดินฝังครั้งที่สอง ซึ่งผมเคยเห็นการฝังครั้งที่2 ตอนไปวิจัยเผ่าข่าเลิง(กะเลิง)ในอ.คำชะอี น.มุกดาหารเมื่อราว20กว่าปีที่แล้ว

รชฏ ยังได้ค้นคว้าต่อไป พบว่าในแขวงหัวพันหรือซำเหนือ มีวัฒนธรรมหินตั้งของคนสมัยหินโดยการสร้างแท่งหินเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้ทำเป็นโลงเพียงตั้งไว้ตรงที่ฝังศพ

รชฏ ยังพบว่าในภาคเหนือของเมืองไทยมีความเชื่อในเรื่องการฝังศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในจ.เชียงรายและพะเยาซึ่งที่น่าสนมากคือที่ดอยวง ดอยเวียง ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงรายมีไหหิน ทรงสี่เหลี่ยมขนาด 1×1.3 ม. อายุ 3000-5000 ปี ส่วนที่ อ.พาน อ.เทิง อ.เชียงของ จ.เชียงราย อ.เมือง จ.พะเยา มีหินตั้ง ปักตรงที่ฝังศพ นี่คงเป็นยุคต้นๆของวัฒนธรรมหินตั้งในไทย ส่วนในลาวทุ่งไหหินเป็นพัฒนาการขั้นที่สองคือสร้างโลงหินเพื่อใส่ศพเป็นการฝังครั้งที่ 1 เพื่อรอเวลาฝังครั้งที่ 2 ไม่กี่ปีต่อมา

น่าจะมีนักโบราณคดีทำวิจัยต่อที่ดอยวง ดอยเวียง เชียงรายนะครับ



ผมกับดร.เบ็ญจวรรณ นาราสัจจ์และดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์หน้าโลงหินที่ใหญ่มี่สุดในทุ่งไหหิน(ถ่ายเมื่อ26กค.2549)


อ่านเพิ่มเติม »

วัดโอกาส นครพนม

วัดโอกาส เป็นอีกวัดหนึ่งของนครพนม ที่เก่าแก่ สวยงามและศักดิ์สิทธิ์ วัดนี้สร้างในพ.ศ.1994 หรือเมื่อกว่า 500 ปีมาแล้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี 2181 เดิมชื่อว่าวัดพระศรีบัวบานพระเจ้าติ้ว เพราะมีพระพุทธรูปสร้างด้วยไม้ติ้ว บุทองคำหนัก 30 บาท

ชาวเมืองนี้นับถือว่าท่านศักดิ์สิทธิ์ช่วยดับทุกข์และสร้างความร่มเย็น และโอกาสดีๆให้ผู้มากราบไหว้ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดโอกาส  แต่อีกกระแสร์หนึ่งที่ชื่อนี้เพราะวัดนี้มีข้าโอกาสคือไพร่ที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้กับวัดนี้เพื่อดูแลวัดให้สะอาด ช่วยซ่อมแซมศาสนสถาน และถ้าวัดมีที่ดินที่อาจติดวัดหรือห่างวัด ข้าโอกาสจะได้เพาะปลูกในที่วัด พอได้ผลผลิตก็นำผลผลิตส่วนหนึ่ง (ราว10%) มาถวายวัดเหมือนเป็นค่าเช่า ข้าโอกาสไม่ต้องถูกบ้านเมืองเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่ชนิดอื่น ยกเว้นเวลาเกิดศึกสงครามจะถูกเกณฑ์ไปรบเหมือนไพร่ชนิดอื่น ข้าโอกาสนี้จะสืบต่อจากรุ่นพ่อสู่ลูก

วัดนี้สมัยก่อนมีข้าโอกาสหนึ่งหมู่บ้านดูแล (แต่วัดพระธาตุพนมมีข้าโอกาสหรือข้าวัดหลายหมู่บ้านดูแล) ระบบนี้เลิกไปเมื่อ ร.5 ทรงตรา พรบ.เลิกไพร่และทาสในปี 2448
ผู้เขียนหน้าโบสถ์วัดโอกาส(พย.59)

ผู้เขียนหน้าประตูโบสถ์อันวิจิตร(พย.2559)

ประตูโบสถ์อันวิจิตร

สามภาพหลัง หน้าต่างไม้สลักอันวิจิตร





อ่านเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุ นครพนม

วัดมหาธาตุเป็นอีกวัดหนึ่งของจ.นครพนมที่สวยงาม เก่าแก่ แต่คนส่วนมากไม่รู้จักเพราะนักท่องเที่ยวมีเวลาน้อยถ้ามาจ.นครพนมก็จะต้องมาไหว้แต่พระธาตุพนม ที่จริงวัดมหาธาตุอยู่ในตัวเมืองนครพนมนี่เอง ในขณะที่พระธาตุพนมอยู่ห่างจากเมืองนครพนมลงไปทางใต้ราว 50 กม.ที่พักก็ไม่สะดวกเท่าพักในเมืองนครพนม

วัดมหาธาตุตามป้ายประวัติที่ทางวัดทำไว้ระบุว่าวัดนี้สร้างใน พ.ศ.1150 ถ้าข้อมูลนี้ถูกต้องวัดนี้มีอายุกว่า 1400 ปี รุ่นใกล้เคียงกับพระธาตุพนม  แต่ไม่ระบุว่าใครสร้าง เดิมชื่อวัดมิ่งเมือง แต่เนื่องจากมีพระธาตุของพระอรหันต์และธาตุของชาวบ้านสร้างไว้ในวัดเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดธาตุ

ในปี 2463 จึงมีการสร้างพระธาตุเลียนแบบพระธาตุพนมองค์เก่าที่ถล่มไปในปี2518 แต่ขนามย่อมกว่าคือสูง 24 เมตรสร้างเสร็จและสมโภชในปี 2465 และนำพระธาตุพระอรหันต์มาบรรจุเหมือนเดิมและเรียกว่าพระธาตุนคร นับแต่นั้นมาก็ตั้งชื่อเสียใหม่ว่าวัดมหาธาตุ

วัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง องค์พระธาตุนครอยู่ห่างจากแม่น้ำราว40 เมตร ด้านตะวันออกมีถนนและทางเดินอันสวยงามสำหรับชมวิวทิวเขาฝั่งลาวที่งดงามมากและวิวแม่น้ำโขง ชาวเมืองนิยมมาเดินและวิ่งบนทางเดินยาวเป็นกิโลเมตรขนานไปกับแม่น้ำโขง

แผ่นป้ายจารึกประวัติวัดมหาธาตุ

พระธาตุนครถ่ายเมื่อ พย.2559

ผู้เขียนหน้าพระธาตุนคร พย.2559

พระอุโบสถวัดมหาธาตุ พย.2559

พระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ พย.2559


อ่านเพิ่มเติม »

พระธาตุเชิงชุม: ศูนย์รวมพระพุทธบาทสี่พระพุทธเจ้า

พระธาตุเชิงชุมเป็นพระธาตุที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดของจ.สกลนคร

ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงกับพระอานนท์และทรงประทับรอยพระบาทไว้หลายแห่งซึ่งในปัจจุบันคือพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนแพง พระพุทธบาทเวินปลา และยังเสด็จมาที่ภูกำพร้าซึ่งต่อมาจะมีการสร้างพระธาตุพนม พระองค์เสด็จมาที่ริมหนองหานหลวงตรงภูน้ำลอดเชิงชุม เป็นชัยภูมิที่เป็นมงคลเนินที่น้ำไม่ท่วม ปัจจุบันมีตาน้ำขนาดกว้างราว 2 เมตรยาว 2.5 เมตร มีน้ำใสตลอดเวลามีทางน้ำใต้ดินยาวมากเชื่อมกับสระพังทองริมหนองหานหลวง พระองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่าตรงนี้เคยมีพระพุทธเจ้าในกัลป์ก่อนๆคือพระกกุสันธะ พระโกนาคมะ พระกัสสปะ ได้เคยเสด็จมาและประทับรอยพระบาทไว้ พระองค์จึงประทัยรอยพระบาทไว้เป็นรอยที่สี่ พระเจ้าสวรรณพิงคารแห่งเมืองหนองหานหลวงทรงทราบก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากทรงถอดมงกุฏทองและเครื่องประดับถวายเป็นพุทธบูชากับทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้

กษัตริย์และเจ้าเมืองสมัยต่อมาได้เสริมต่อจนพระธาตุสูงเท่าที่เห็นในปัจจุบัน
 
นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีมีความเห็นว่าพระธาตุเชิงชุมคงจะสร้างขึ้นหลังพระธาตุพนมคือหลังพ.ศ.1200 รูปทรงก็คล้ายคลึงแต่มีขนาดเล็กกว่าพระธาตุพนม

พระธาตุเชิงชุมอยู่ริมหนองหาน ถนนเจริญเมือง อ.เมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพุทธสถานที่พุทธศาสนิกชนและนักท่องเทียวต้องมาไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล

ผู้เขียนได้มาไหว้พระธาตุเชิงชุมเมื่อ 21 ตค. 2560  เห็นว่าวัดนี้มีพระธาตุที่เก่าแก่สวยงาม มีสระบัวที่ออกดอกสะพรั่งงดงามมาก มีสิงห์ตั้งเรียงรายกับพระยานาคคู่เฝ้าพระธาตุดูสง่างามน่าเกรงขาม
มีที่จอดรถกว้างขวาง
พระธาตุเชิงชุมถ่ายเมื่อ21 ตค.60

พระยานาคซึ่งคนลุ่มแม่น้ำโขงนับถือ สร้างเพื่อให้พิทักษ์พระธาตุ

พระองค์แสนซึ่งชาวบ้านนับถือมาก ช่วงนี้กำลังบูรณะอาคารที่ประดิษฐานพระประธาน

ผู้เขียนหน้าพระประธาน

ประตูไม้สลักได้งดงาม

สิงห์เฝ้าพระธาตุสง่างามและน่าเกรงขาม

สระบัวหน้าวัดบานสะพรั่งงดงามมาก

อ่านเพิ่มเติม »

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น เกิดเมื่อ 20 มค. 2413 (ต้น ร. 5) ที่บ้านคำบง ต.โขงเขียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นบุตรคนโต (มีน้องอีก8คน) ของนายคำด้วง นางจันทร์ แก่นแก้ว ท่านผิวขาวร่างเล็ก เฉลียวฉลาด ความจำดีมาก ชอบอ่านหนังสือ ตอนเล็กท่านค่อนข้างขี้โรคยายเลี้ยงท่านด้วยความรักเพราะเป็นหลานคนโต และวันหนึ่งยายก็พูดกับท่านว่า" เมื่อโตมาเจ้าต้องบวชให้ยายเพราะยายเลี้ยงเจ้ายาก"

อายุ15 ปีท่านก็บวชเณรให้ยาย ท่านชอบมากอยากจะบวชไปเรื่อยๆแต่บวชได้สองปี บิดาก็ขอร้องให้สึกไปช่วยทำนา เนื่องจากท่านเป็นลูกคนโตเป็นแรงงานสำคัญที่จะต้องช่วยทำงานเลี้ยงน้องอีกเป็นพรวน

22 มิย.2336 อายุ 23 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีทองหรือวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง อุบล โดยมีพระอริยกวี(อ่อน)เป็นพระอุปปัชฌาย์ แต่หลังจากท่านศึกษาพระวินัยจนแตกฉาน ท่านก็มาเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโลซึ่งเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมซึ่วเป็นแนวทาวทื่ท่านสนใจ          

หลวงปู่เสาร์ได้พาท่านและเณรอีกรูปไปธุดงค์แถบแม่น้ำโขง แถวเมืองท่าแขก ฝั่งซ้ายแม่โขงซึ่งเพิ่งตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในปี2436 ท่านฝึกการใช้ชีวิตในป่าเขาท่ามกลางสัตว์ป่าเช่นเสือ ช้างหมาป่า งู และไข้ป่าทั้งสามรูปเป็นไข้ป่าแต่ก็เอาชีวิตรอดมาได้ สามปี หลังจากกลับมาวัด้ลียบไม่นานหลวงปู่เสาร์ก็พาท่านไปธุดงค์ในพม่าทำให้ท่านมีความมั่นใจมากขึ้น

ในเวลาต่อมาท่านสามารถบินเดี่ยวได้ ท่านเดินทางไปธุดงค์องค์เดียวไปฝึกวิปัสนาในถ้ำที่ถ้ำบิ่ง อ.วังสะพุง จ.เลย ถ้ำไผ่ขวาง นครนายก (ถ้ำนี้มีพระธุดงค์มรณภาพมาก่อนแล้วหกรูป) ถ้ำสิงห์โต เขาพระงาม ลพบุรี และอีกหลายแห่งในภาคเหนือ(12ปี) และอีสาน ท่านจึงมีลูกศิษย์มากมายราวๆ200-300รูป

ศิษย์สำคัญซึ่งต่อมาเป็นเกจิมีชื่อคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่สิงห์ ขันตยาโม ศิษย์รุ่นต่อๆมามีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร  หลวงปู่แหวน สุจิณโณ  หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  หลวงปู่สิม พุทธจาโร  หลวงปู่หลุย จันทสาโร  หลวงปู่ชา สุภัทโธ หลวงตามหาบัว เป็นต้น

ท่านมรณภาพที่วัดป่าสุภัทโธ อ.เมือง สกลนคร เมื่อ 11 พย. 2492  เจริญชนมายุ 80 ปี 56 พรรษา

ลูกศิษย์ได้เผาศพท่าน และสร้างโบสถ์ที่สวยงามตรงนั้นดังที่เห็นในปัจจุบัน

และยังสร้างพิพิธภัณฑ์บริขารของท่าน ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งท่องเทียวสำคัญของจังหวัดสกลนครที่นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนมากราบเพื่อเป็นศิริมงคล

ขอยกคติธรรมบางส่วนของท่านมาเผยแพร่ในที่่นี้
"ผู้เห็นคุณค่าของตน จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ไม่ตกต่ำ เพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็ได้สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดีปฏิบัติให้มั่นคง"
วันนี้ครบรอบ68ปีที่ท่านละสังขาร เรายังไม่ลืมท่านเพราะวัตรปฏิบัติและคำสอนของท่าน

หลวงปู่มั่น 2413-2492

โบสถ์ที่สร้างตรงที่ฌาปนกิจหลวงปู่มั่น


พิพิธภัณฑ์บริขารหลวงปู่มั่น

ผู้เขียนหน้ารูปปั้นของหลวงปู่มั่น

พระพุทธรูปที่ตั้งประจำในห้องปู่มั่น

ไตรจีวรของหลวงปู่มั่น

เครื่องใช้ของหลวงปู่มั่น

หนังสือที่หลวงปู่อ่าน

อ่านเพิ่มเติม »