กบฎเกือกขาว 2476-2477

กบฎเกือกขาวเกิดขึ้นในปี2476-77 ช่วงหลังการเปลี่น
ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยเพียงปีสองปี ซึ่งรัฐบาลกำลังกวาดล้างกบฎบวรเดช(2476) ผู้นำกบฏเกือกขาวคือหมอลำคำสา สุมังกะเศษ เป็นคนร่างเล็ก และเที่ยวบอกชาวบ้านแถวบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ว่าเมื่อชาติก่อนเขาคือ พระชาดาเป็นพวกกบฎผู้มีบุญปี 2445  ถูกฆ่าตายแล้วมาเกิดเป็นเขา ชาวบ้านจึงเรียกเขาว่าหมอลำน้อยชาดา ท่านชอบนุ่งขาวห่มขาวและใส่เกือก(รองเท้า)ขาวเสมอ สานุศิษย์ซึ่งมีจำนวนมากก็แต่งกายแบบเดียวกัน  จนร้องเท้าสีขาวในเมืองมหาสารคามขาดตลาด เกือกขาวจึงกลายเป็นสัญลักณ์ของกลุ่มนี้

หมอลำน้อยชาดาเที่ยวสั่งสอนและให้คำทำนายว่า ต่อไปคนจะเดือดร้อน ไฟจะไหม้ แผ่นดินจะไหว คนจะตายมากมายนอกจากคนที่อยู่ในศีลในธรรม แล้วจะมีศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยเกิดขึ้น คนจะเสมอภาพกัน จะมีต้นกัลปพฤกษ์เกิดขึ้น ใครไปยืนใต้ต้นนี้แล้วจะขอสิ่งใดก็จะได้ อีกสองสามปีพระศรีอริยเมตไตรยก็จะปรากฎ

เขาบอกชาวบ้านว่าไม่ต้องส่งลูกไป รร.หลอกเสียเวลาทำมาหากิน และอย่าไปกราบไหว้พระสงฆ์ พวกนี้ไม่ใช่พระแต่เพียงนุ่งเหลืองเฉยๆ เขายังทำนายว่าเวียงจันทน์จะกลับมารุ่งเรือง เขาจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองเวียงจันทน์ จะเกิดรบกันกับภาคกลาง เขาจะชนะ

เขาพาชาวบ้านชุมนุมอยู่สองสามเดือน โดยไม่มีอาวุธ ทางการจับเขา ศาลตัดสินจำคุกเขาสี่ปี

แต่เรื่องไม่จบเพราะเขามีลูกศิษย์ที่ยังศรัทธาในดัวเขาและอุดมการณ์ ลูกศิษย์ 17 คน จึงชุมนุมกันต่อ มีนายชาลี มหาวงษ์ นายบึ้ง ข่ายเพชร ตั้งตัวเป็นผู้วิเศษอ้างว่าเหาะเหินเดินอากาศได้ พวกเขายังเผยแพร่คำสอน คำทำนายของหมอลำน้อยชาดาต่อไปและบางคืนก็ไปชุมนุมโห่ร้องใกล้เรือนจำ ตะโกนว่าจะบุกไปแย่งตัวหมอลำน้อยชาดาออกจากคุก

ทางการจึงจับ 17คน นี้  ศาลจำคุกนายชาลี และนายสีสมุด คนละ 6 เดือน ที่เหลืออีก 15 คน ถูกปรับคนละ 6 บาท

แต่เรื่องก็ยังไม่จบง่ายๆ แกนนำอีกสี่คนที่หนีไปได้คือ นายบึ้ง  นายโส  นายอำ นายแก้ว แห่ง ตำบลแวงนั่ง(ปัจจุบันคือที่ตั้งศาลากลางหลังใหม่ของจ.มหาสารคาม) ได้ปลุกระดมชาวบ้านต่อ จึงถูกตำรวจจับ ศาลตัดสินเมื่อ 25 มิย. 2477 นายโส นายแก้ว คนละ 1 ปี

ศิษย์คนสุดท้ายของหมอลำน้อยชาดาที่ก่อการคือ นายสิงโต บ้านดงน้อย ต. ท้ายโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ แต่งตัวแบบหมอลำน้อยและสั่งสอนให้ราษฎรถือศีลอย่างเคร่งครัด เขาบอกชาวบ้านว่าเขาเป็นโอรสของเจ้าอนุวงศ์ชื่อเจ้าฝ่าตีนแดงที่หนีรอดไปได้ เขาชักจูงใให้ราษฎรอพยพไปอยู่ฝั่งลาวหลายครัวเรือนรวมทั้งครอครัวของเขาด้วย
สำนักงานเทศบาลตำบลแวงน่าง


ตลาดสดเทศบาลตำบลแวงน่าง
ที่มาภาพทั้งสองhttp:encrypted_tbno.gstants.com



ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488 เล่ม 2 หน้า 202-203 (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ข. 2557)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น