มหาวิกฤติเศรษฐกิจเยอรมัน ปี1923

ที่เรียกมหาวิกฤติเศรษฐกิจก็เพราะเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เยอรมันและอาจร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลก

สาเหตุมาจากการที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(1914-1918) ถูกมหาอำนาจฝ่ายชนะคือสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีบังคับให้ลงนามในสํญญาแวซายสร์ในปี1919 ตามสัญญานี้เยอรมันต้องเสียอาณานิคมที่มีทั้งหมดคือ1,027,120 ตารางไมล์ หมายความว่าเยอรมันสูญเสียแหล่งวัตถุดิบและตลาดจำนวนมหาศาล ยังเสียแค้วนอัลซาสและลอเรนน์ ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักคือเหล็กและถ่านหินที่สำคัญ คืนไปให้ฝรั่งเศส แคว้นซาร์ถูกฝั่งเศสยึดเพื่อขุดถ่านหินใช้หนี้ค่าปฏิกรรมสงคราม 7ล้านตัน ใช้หนี้เบลเยี่ยม 8 ล้านตัน ใช้หนี้อิตาลี่ 7.7ล้านตัน  เรือสินค้าเยอรมัน รวม 5.2 ล้านตัน ถูกยึดใช้หนี้ค่าที่เยอรมันยิงเรือสินค้าฝ่ายพันธมิตรระหว่างสงคราม เหลือเรือให้เยอรมันใช้ขนสินค้าเพียง ห้าแสนตัน และเยอรมันจะต้องสร้างเรือสืนค้าใช้หนี้ฝ่ายชนะอีกปีละ สองแสนตัน

เยอรมันยังต้องจ่ายเงินค่าปฏิกรรมให้ฝ่ายชนะ 132 พันล้านมาร์คทองคำ โดยทะยอยผ่อนส่งปีละ 50 ปอนด์ เป็นเวลา 49 ปี ค่าปฏิกรรมสงครามนี้ มีปริมาณถึง 10 เท่าของค่าปฏิกรรมสงครามทั้งหมดในศตวรรษที่19

ยิ่งกว่านั้นเยอรมันยังต้องรับภาระเลี้ยงดูทหารนับล้านที่ปลดประจำการ กับบูรณะประเทศที่ทรุดโทรม แต่รายได้ก็ลดลงจากการผลิตที่ลดลงเพราะ ขาดวัตถุดิบ ขาดเงินทุนหมุนเวียน เครื่องจักรขาดอะไหล่ การส่งสินค้าก็ลำบากเพราะเรือถูกยึดไปเกือบหมด ทางรถไฟก็มีขาดการซ่อมแซม ปํญหาคนว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ นี่คือภาระอันสาหัสที่รัฐบาลซึ่งเพิ่งเริ่มต้นประชาธิปไตยทันทีตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง

ฟางเส้นสุดท้ายขาดลง เมื่อเยอรมันไม่มีเงินจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ฝรั่งเศสกลัวจะไม่ได้เงินก็ส่งทหารมายึดแค้วนรูห์เป็นประกัน คนงานเยอรมันในแคว้นนี้จึงประท้วงฝรั่งเศสด้วยการสไตรค์ คนงานพวกนี่จึงขาดรายได้ รัฐบาลเยอรมันกลัวคนงานจะอดตายจึงพิมพ์ธนบัตรมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้คนงาน

ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะเวินเฟ้ออย่างรุนแรง(hyperinflation) อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก เงินพันล้าร์นมาร์กซื้อไม้ขีดไฟได้เพียงกล่องเดียว ค่าแรงกรรมกรจ่ายเป็นรายวันเพราะต้นเดือนกับปลายเดือนต่างกันมาก กรรมกรได้รับค่าแรงวันละ 1 ตะกร้า ต่อมาไม่กี่วันค่าแรงเท่านั้นไม่พอกิน ค่าแรงจึงปรับเป็นวันละ สองตะกร้า ต่อมาค่าแรงก็ต้องขึ้นทุกวัน แต่ต่อมาไม่นานค่าแรงต้องขึ้นวันละหลายครั้ง ทางรัฐบาลเวลาพิมพ์ธนบัตรต้องเพิ่มตัวเลขในแบงค์ทุกวัน

ผลของเงินเฟ้อดังกล่าวทำให้มนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะข้าราชการบำนาญ คนที่มีเงินเก็บไว้ในธนาคารมีสภาพหมดตัว

ผลต่อการเมืองทำให้รัฐบาลล้มไปหลายชุดเพราะแก้ปัญหาไม่ทันใจ ผลการเลือตั้งทำให้พรรคที่เดินสายกลางคะแนนลดลงไปเรื่อยๆ แต่พรรคหัวเอียงซ้ายและเอียงขวาอย่างพรรคนาซีที่เสนอนโยบายแก้ปํญหาด้วยวิธีที่รุนแรงเฉียบขาดได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้เป็นรัฐบาลในที่สุด

เยอรมันยังโชคดีมากที่มีนักการธนาคารและนักการทูตอเมริกันชื่อCharles G. Dawes ได้เข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจเยอรมันแผนนี้จึงเรียกว่าDawes Plan โดยทุ่มเงินจำนวนมากเข้ามาช่วย และออกมาตรการหลายอย่างทำให้เศรษฐกิจเยอรมันหลุดออกมาจากเหวได้ 7 ปี จึงเกิด The Great Depession

ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต ฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นผู้เผด็จการเหนือเยอรมันได้อย่างไร วารสารประวัติศาสตร์ ปีที่8 ฉบัยที่2 พค.-สค.2526 หน้า 118-121
ธนบัตรที่รัฐบาลพิมพ์เตรียมไว้จ่ายเงินเดือน
ที่มา https://encrypted-tbn1.gstatic.com

เงินไร้ค่าพ่อแม่ก็ปล่อยให็ลูกๆเอาเล่น
ที่มาhtpps://encrypted-tbn2.gstatic.com

บางคนก็ทิ้งเงินจนกลายเป็นขยะรกถนน
ที่มา https://encrypted-tbn3.gstatic.com

ธนบัตรเยอรมันในปี1923 
ที่มา https://encrypted-tbn0.gstatic.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น