พระไอยการลักษณะผัวเมีย :ความไม่เท่าเทียมของหญิงชายไทยก่อนปฏิวัติ 2475

หลักฐานสำคัญที่บ่งบอกเราว่าสังคมไทยก่อนปฏิวัติ 2475 เป็นสังคมที่หญิงเป็นเบี้ยล่างของชาย คือกฎหมายตราสามดวงซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 จึงยกเลิกกฏมายอาญาแบบเก่า มาใข้แบบใหม่ ส่วนกฏหมายแพ่งแบบเก่ามายกเลิกหลังปฏิวัติ 2475 ไม่นาน

หลักฐานการไม่เท่าเทียมกันของชายหญิงอยู่ใน พระไอยการลักษณะผัวเมีย และพระไอยการทาษ แต่เพื่อให้บทความนี้กระชับจึงขอยกเฉพาะ พระไอยการลักษณะผัวเมีย โดยสังเขป กฏหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายตราสามดวง ขอสรุปไว้ดังนี้

พระไอยการลักษณะผัวเมีย ตราขึ้นครั้งแรกใน พศ. 1904  ม.1-71 สมัยพระเจ้าอู่ทอง ฉบับที่สอง ตราเพิ่มเติม ม.72-74 ใน พศ.1905 ฉบับที่สาม ม.75-141 พศ.2347 (รัชกาลที่ 1) สาระสำคัญ มีดังนี้

1. ชนิดของเมีย มีสามชนิดคือ

    1.1 เมียที่พ่อแม่กุมมือให้เป็นเมียชาย เรียกว่าเมียกลางเมือง
    1.2 เมียที่ชายขอมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาหรือเมียน้อย เรียกว่า เมียกลางนอก
    1.3 เมียที่ชายซื้อมาหรือไถ่มาเรียกว่าเมียกลางทาษี

2. การแต่งงานที่ถูกต้องตามกฏหมาย พ่อแม่ หริอผู้ปกครอง หรือนายทาสต้องอนุญาต

3. หญิงเมื่อแต่งงาน จะกลายเป็นสมบัติของผัว ชายอื่นจะไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ หญิงทาสที่เป็นเมียของทาส นอกจากจะเป็นเมียของผัวแล้วยังต้องทำงานตามคำสั่งของนายทาสด้วย

4.กฏหมายห้ามแต่งงานหลายกรณี เช่น

    4.1 หลานทำชู้กับเมียลุง ตา ปู่ อาว์ (ชายที่เป็นน้องของพ่อ) อา (หญิงที่เป็นน้องของพ่อ) น้า โทษผู้ฝืนคือ จับทั้งคู่ใส่ตรวน ขิ่อ คา เอาหมึกสักหน้า เอาเชือกหนังผูกคอ ตีฆ้องแห่ประจานรอบตลาด เอาขึ้นขาหย่าง ยิงด้วยลูกสันโดด ตีด้วยลวดหนัง 25-50 ที แล้วจับทั้งคู่ลอยแพนอกเมือง (ม.35 )

    4.2 พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง ยาย หลานตา หลานลุงน้าหลาน ทำชู้กันให้ทำโทษโดยลอยแพในทะเล ญาติพี่น้องต้องทำพลีกรรมด้วยไก่แปดตัวที่ประตูเมืองทั้งสี่ ให้พระ พราหมณ์ สวดทำพิธีระงับอุบาทว์จัญไร ญาติพี่น้องที่รู้เรื่องแล้วมิได้ว่ากล่าว ให้ลงโทษตามโทษานุโทษ

      4.3 ภิกษุสามเณร ได้เสียกับหญิง มีโทษปราชิก และปรับไหม (ม.40) ถ้าจำเลยทำร้ายและข่มขืนหญิง ให้ปราชิกเฆี่ยน 29-50 ที แล้วส่งไปเป็นตะพุ่นช้างหญิงให้ทำโทษดุจหญิงนอกใจผัว (ม.41)

    4.4 นายทาสไปเอาเมียทาส ให้ปล่อยผ้วและเมียเป็นไท ถ้าเมียไม่ไปกับผัว ให้นายทาสจ่ายค่าตัวเมียให้ผัวด้วย

    4.5 นายทาสหรือพี่น้องลูกหลานนายทาส ข่มขืนทาสหญิงๆร้องแรก มีสักขีพยานให้ลดต่าตัวทาสลง 1/4  แต่ถ้าหญิงทาสยินยอมให้ร่วมหลับนอนไม่มีโทษ (ม.46)

    4.6 ทาสแต่งงานกันเอง แล้วพากันหนีไปอยู่ที่อื่น โดยที่พ่อแม่และนายทาสไม่อนุญาต ไม่ว่านานแค่ไหน ทั้งคู่ก็ยังเป็นทาสอยู่ และไม่ถือเป็นผัวเมียกัน หากนางเมียทาสมีชู้จะฟ้องเอาผิดชายชู้มิได้ (ม.48)

5.โทษของการมีชู้

     5.1 ลงโทษตามชนิดของเมียตามลำดับ
     5.2 การมีชู้ มีประเภท คือ

    (1) ไม่ถึงชำเรา มี 5 ประการ

    ๑, จับมือถือนม
    ๒. ผัวไม่อยู่ไปหาเมียท่านบนเริอน
    ๓. ไปหาเมียท่านในที่ลับ
    ๔. ลักลอบพูดกับเมียท่าน
    ๕  ไปหาเมียท่านถึงห้องนอน
    ให้ปรับไหมตามลำดับ

    (2) เป็นชู้ถึงชำเรา (ได้เสียกัน) มีโทษแตกต่างกัน เช่น

    ๑. เมียมีชู้ให้เอาเฉลวปะหน้า ทัดดอกชบาแดง สวมคอพวงมาลัยดอกชบา ประจาน 3 วัน ชายชู้ให้ปรับใหม

    ๒. เมียมีขู้กับชายคนเดียวสองครั้ง ให้ปรับสองเท่า โกนหัวเมีย ขึ้นขาหย่างประจานรอบตลาด ตีด้วยลวดหนัง 2 ที

    ๓. เมียมีชู้ สามครั้ง ไม่ให้ลงโทษชายชู้ ส่วนเมียให้ลากไถนานาประจานแทนควาย 3 วัน และสักแก้มเป็นภาพชายหญิง

    ๔. การผิดเมียท่านถึงชำเรา โทษเป็นสองเท่าของการชำเรา

    ๕. ทำชู้เมียท่านที่ไปราชการ เพิ่มโทษเป็นสองเท่า

    ๖. จับชู้ได้คาหนังคาเขา (หญิงนอนหงาย ชายนอนคว่ำ ) ให้ผัวฆ่าเสียทั้งคู่ ถ้าฆ่าเฉพาะเมีย ให้ปรับผัว แต่ถ้าเมียหนีรอดตายไปได้ ให้จับเมียเป็นทาสหลวง (ม.8-9)

    ๗. เมียนอกใจหากไม่ฆ่า ให้ริบทรัพย์ ทั้งคู่มาเป็นของผัว ไล่เมียไปให้มีเสื้อผ้าชุดเดียวที่สวมไป (ม.10)
 
6 การสิ้นสุดของผัวเมีย

    6.1 ผัวตาย ต้องรอให้ทำศพผัวเสร็จก่อนจึงจะมีผัวใหม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนให้ญาติผัวจับเมียเอาตะกร้อสวมหัวถึงตา แห่ประจานรอบบ้านผัวสามรอบ ปรับใหมชายชู้1ล้านเบี้ย

    6,2 เมียหนีผัวไปไดัผัวใหม่จนมีลูกสามคนขึ้นไป ถือว่าขาดจากผัวเดิม ถ้ามีลูกกับผัวใหม่สองคนยังถือว่าเป็นเมียผัวเก่า

    6.3 ผัวไปบวช เป็นพระภิกษุ สามเณร หากสืกมาเมียยอมเป็นเมียก็ถือว่ายังเป็นเมีย แต่ถ้าเมียไม่ยอมก็แล้วแต่เมีย

    6.4 ผัวอนุญาตให้เมียไปบวขชี แม้สึกมาจะเอาผัวเดิมหรือผัวใหม่ก็ได้ (ม.37-39)

    6,5 ผัวเมียทะเลาะกัน ผัวลงเรือนทิ้งเมียไป 3 เดือนถึง1 ปี 4 เดือนตามระยะทางห่างระหว่างเรือนของเมียกับเรือนของพ่อแม่ผัว เมื่อพ้นกำหนด ให้เมียส่งเฒ่าแก่ผู้ใหญ่กำนันผู้ใหญ่บ้านนำขันหมาก สินสอด ทุนไปคืนผัวหรือพ่อแม่ของผัว แล้ว ความเป็นผัวเมียขาดกัน (ม49)

    6.6 ชายหญิงแต่งงานกัน ไม่มีขันหมาก สินสอด หรือมีทุนแล้วขายหมดไป ถ้าหญิงบอกเลิกกับชาย ความเป็นผัวเมียก็หมดไป แต่ถ้ามีขันหมาก สินสอดต้องคืนผัวก่อน ความเป็นผัวเมียจึงจะขาดกัน (ม.49)

    6.7 ผัวเมียโกรธกัน ผัวเอาสินเดิมลงเรือนและเอามีดฟันเสาเรือน แม้จากไปวันเดียวความเป็นผัวเมียก็ขาดกัน (ม.51)
  
ที่มา: กฏหมายตราสามดวง เล่ม ๒( กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา 2515) เผยแพร่ครั้งแรก 13 กันยายน 2558
   




อ่านเพิ่มเติม »

รถยนต์ญี่ปุ่นชิงตลาดรถยนต์ฝรั่งได้อย่างไร

ยุโรปผลิตรถยนต์ได้ก่อนทวีปใด ต่อมาก็มาเติบโตที่ทวีปอเมริกา ในไม่ช้าสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้มากที่สุดในโลกจากการที่เฮนรี่ ฟอร์ด นำระบบการผลิตแบบสายพานมาใช้เป็นคนแรก ทำให้ลดต้นทุนการผลิตอย่างมาก รถฟอร์ดกลายเป็นรถขายดีที่สุดในโลกเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นกลับกลายเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ได้มากที่สุด ญี่ปุ่นชิงตลาดรถไปจากฝรั่งได้อย่างไร

ญีปุ่นเริ่มผลิตรถยนต์ช้ากว่ายุโรป ราว 50 ปี ช้ากว่าสหรัฐ ราว 30 ปี ในปี 2477 ญี่ปุ่นผลิตรถยนต์ได้เพียง 2,845 คันหรือ ร้อยละ 0.08 ของรถยนต์ของรถยนต์ที่ผลิตทั่วโลก ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นมีนโยบายขยายดินแดน มีการเพิ่มกำลังทหาร และใช้รถบรรทุกทหารและยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมาก จึงจ้างบริษัทโตโยต้า  นิสสัน และจิโดชา โคกิโอ (ต่อมาคืออีซูซุ) หล้งสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ให้กลับมายืนได้ใหม่ โดยมีมาตรการ (1) ตั้งกำแพงภาษีรถยนต์นำเข้า (2) กำหนดโควตาจำนวนรถยนต์นำเข้า (3) จำกัดเงินทุนของหุ้นส่วนที่เป็นชาวต่างประเทศ (4) เร่งนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เรียนรู้และพัฒนาจากเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้ของญี่ปุ่นดีกว่าของฝรั่งให้ได้โดยเร็ว เพราะมาตรการเหล่านี้รัฐบาลจะอุ้มระยะหนึ่งเท่านั้น ประกอบกับคนญี่ปุ่นมีความรักชาติมากจึงเลีอกที่จะซื้อรถญี่ปุ่นมากกว่ารถฝรั่ง ในไม่ช้ารถญี่ปุ่นก็ค่อยๆชิงตลาดรถฝรั่งในญี่ปุ่น และขยายไปยังต่างประเทศ ในปี 2523 จำนวนรถญี่ปุ่นมากเป็นที่สองของโลก เป็นรองเฉพาะสหรัฐ พอถึงปี 2532 ญี่ปุ่นก็แซงหน้าสหรัฐ คิอผลิตได้ 8,370,000 คัน สหรัฐผลิตได้เพียง 6,807,000 คัน ในปี 2535 ญี่ปุ่นผลิต 12,499,000 คัน

สำหรับในเมืองไทย อุตส่าหกรรมรถยนต์เพื่งมาเริ่มต้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2503 บริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ ได้ตั้งขึ้นประกอบรถยนต์เบนซ์ เป็นบริษัทแรก แต่ในในไม่ช้าบริษัทญี่ปุ่นก็เข้ามาตั้ง โรงงานประกอบรถยนต์บ้างและมีจำนวนมากกว่าของฝรั่ง โดยในปี 2505 มีสองบริษัทคือ บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี สิทธิผลจำกัด ผลิตรถยี่ห้อ มิตซูบิชิ และ ฟูโซ่ บรษัทสยามกลการและนิสสัน จำกัด ผลิตยี่ห้อนิสสัน และ ซูซูกิ ปี 2507 มี 2 บริษัทคือบิษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัดและบริษัทไทยฮีโน่อุตสาหกรรมจำกัด  ปี 2509 ตั้งบริษัทอีซูซุมอเตอร์ ปี 2513 บริษัทบางชันเยเนอรัลแอสเซมบลี จำกัดผลิตรถฮอนด้า โอเปิล และโฮลเดน ในปี 2516 มี 3 บริษัทคือ บริษัทวายเอ็มซี แอสเซมบลี จำกัด ผลิตรถ บีเอ็มดับลิว เปอโยต์ และซีตรอง บริษ้ทสยามอุตสาหกรรมรถยนต์ จำกัด ผลิตรถนิสสัน บริษัทไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัดผลิตรถยนต์ ดาฟ ปี 2517 บริษัทสุโกศลมาสด้าอุตสาหกรรมรถยนต์ จำกัด ผลิตรถมาสด้าและ ฟอร์ด ปี 2519 บริษัทไทยสวีดีชแอชเซมบลี จำกัด ผลิตรถรถรถวอลโว่ และเรโนลท์ จะเห็นว่าบางยีห้อผลิตจากสองบริษัท บางบริษัทผลิตหลายยี่ห้อ บริษัทเหล่านี้ในช่วงต้นๆ เป็นโรงงานนำชิ้นส่วนจากเมืองแม่มาประกอบในเมืองไทย ต่อมารัฐบาลไทยต้องการให้มีการผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ในเมืองไทยมากขึ้นเพื่อจะได้เกิดการจ้างงานในเมืองไทยมากขึ้น สัดส่วนของขิ้นส่วนที่ผลิตในเมืองไทยจึงเพิ่มขึ้นในตอนหลัง

การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองไทยโดยเฉพาะรถญี่ปุ่นซึ่งมีหุ้นใหญ่ถึง 8 ใน 12 บริษัทเกิดจากนโบายของรัฐบาลไทยที่เข้าไปโอบอุ้มโดยมีมาตรการทางกฏหมายและกำแพงภาษี พอสรุปได้ดังนี้ ในเดือนมกราคม 2521 มีกฏหมายกำหนดให้ (1) ห้ามนำเข้ารถยนต์ที่มีขนาดต่ำกว่า 2,300 ซี.ซี. (2) ห้ามตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น ผลของมาตรการนี้ทำให้ผู้ขายอะไหล่รถยนต์ฝรั่งค่อยๆ เลิกกิจการเพราะรถยนต์ฝรั่งมักมีขนาดใหญ่เกิน 2,300 ซี.ซี. จะไม่มีเพิ่ม คนขายอะไหล่ก็จะขายได้น้อยลง ในขณะที่รถญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าฝรั่งจึงมีผลดีทั้ง กินน้ำมันน้อยกว่า และราคารถก็ถูกกว่า (3) เก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ขนาดตั้งแต่ 2,300 ซีซีขึ้นไป. 300% ของราคารถ หากรวมภาษีทุกชนิด จะต้องเสียภาษี ถึง 616% ของราคารถ (4) รถเก๋งที่นำมาประกอบในประเทศ (CKD) ต้องเสียภาษี 125.3%  ผลของมาตรการเหล่านี้ทำให้รถต่างประเทศที่มีขนาดต่ำกว่า 2,300 ซีซี. เข้ามาไม่ได้ ถ้าจะนำชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศต้องเสียภาษี 125.3% รถขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2,300 ซึซี.นำเข้าได้แต่ต้องเสียภาษีถึง 616% ทำให้รถราคาแพงมากๆ คนไทยจึงถูกบังคับโดยไม่ทีทางเลี่ยงให้ซื้อรถในประเทศซึ่งถูกกว่า แต่เนื่องจากไม่คู่แข่งผู้ผลิตรถในประเทศจึงตั้งราคารถสูงกว่าราคารถที่ขายในต่างประเทศ เช่นรถโตโยต้าสตาเลต ราคาในอิตาลี 279,870 บาท แต่ราคาในประเทศไทย 350.000 บาท รถเบนซ์ 300 E ในอิตาลีและฝรั่งเศส ราคาประมาณ 1ล้านบาท แต่ราคาในประเศไทย 2.5 ล้านบาท นี่คือยุคทองของการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย ซึ่งอ้นที่จริงก็คือการปกป้องรถยนต์ญี่ปุ่นเพราะ 8 ใน 12 บริษัทผลิตรถยนต์เป็นญี่ปุ่น  การปกป้องอย่างสุดๆดำเนินต่อมาจนถึงรัฐบาลอานันท์ ปัณยารชุณ ได้ลดมาตรการคุ้มครองดังกล่าวลง ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2534 ยกเลิกการห้ามนำเข้ารถขนาดต่ำกว่า 2,300 ซีซี.หลังจากห้ามนำเข้ามา 13 ปี ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตในประเทศกับต่างประเทศ นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพและราคาให้เหมาะสม ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ซื้อ นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ลดภาษีนำเข้ารถที่มีขนาดตั้งแต่ 2,300 ซีซี.จาก 300% เหลือ 100% ของราคารถที่นำเข้า  ถ้ารวมภาษีทุกชนิด ก็ลดจาก 616% เหลือ 210.8% รถที่นำชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาประกอบในประเทศลดภาษีจาก 112% เหลือ 30% หรือถ้ารวมภาษีทุกชนิดลดจาก 125.3% เหลือ 106%


รถเชฟโลเลตุรุ่นปี 1952 (พ.ศ.2495)


รถอเมริกัน ไกเซอร์ เวอจิเนียรุ่นปี 1949 (พ.ศ.2492)


รถดัตสัน นำเข้าไทยราว 2505-2515 ราคาขณะนั้น 30,000 บาท


รถดัตสันรุ่น 620 หรือรุ่นช้างเหยียบ เป็นรุ่นที่นิยมมากเพราะความทนทาน


รถโตโยต้ากะบะรุ่นแรกๆ ที่ยังใชักันอยู่ในปัจจุบัน


รถดัตสันรุ่นแรกๆ

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ผู้จำหน่ายรถญี่ปุ่นในไทยยังมีบริการหลังขายที่ดีกว่ารถฝรั่งคือมีศูนย์บริการซึ่งเป็นทั้งตัวแทนจำหน่ายรถและอะไหล่ เมื่อถึงรอบตรวจเช็คก็ตรวจเช็คและเปลี่ยนอะไหล่ให้ ศูนย์ดังกล่าวกระจายอยู่ทั่วประเทศทำให้ผู้ซื้อรถญี่ปุ่นสะดวกเวลาตรวจเช็คหรือรถเสียไม่ต้องเดินทางมากรุงเทพฯ เหมือนรถฝรั่ง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้รถญี่ปุ่นเข้ามาครองตลาดแทนรถฝรั่ง ในเวลาเพียงไม่ถึงสองทศวรรษหลังจากที่ญี่ปุ่นมาตั้งโรงงานในไทย

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัตและช่อ วายุภักตร์ รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทของยานยนต์ญี่ปุ่นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังตมอีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปจจุบัน( ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น )1995  www.thaicarlover.com  www.motortrivia.com

*เผยแพร่ในเว็บบล็อก เมื่อ 20กค.2558
  http://suwit-history.blogspot.com/

อ่านเพิ่มเติม »

รถโดยสารรุ่นแรกของอีสาน

รถยนต์ที่มาวิ่งในภาคอีสานครั้งแรกคือ รถพระที่นั่งของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชากรมรถไฟหลวงสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงขับรถดังกล่าวมาตรวจราชการในภาคอีสาน ในพ.ศ. 2465 ส่วนรถโดยสารคันแรกเท่าที่มีหลักฐานมาวิ่งที่จังหวัดร้อยเอ็ด ในพ.ศ. 2469 แต่ไม่มีรายละเอียด สถิติรถยนต์ที่เก่าที่สุดคือในปี 2480 มีรถโดยสารทั้งภาคอีสานเพียง 21 คันมีเพียง 6 จังหวัดที่มีรถโดยสาร  ในปี 2503 มี 353คัน  ปี 2513 มี 1689 คัน  ปึ 2531 มี 13,035 คัน  ปี 2536 มี 18,117 คัน และ ปี 2556 มี 25,126 คัน

จากการสัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งบริษัทรถโดยสาร พบว่าการเกิดขี้นของรถโดยสารมีความคล้ายคลึงกัน คิอเริ่มต้นจากรถบรรทุกข้าว และต่อมาก็กลายเป็นทั้งบรรทุกข้าวและบรรทุกคน สมัยนั้นไม่ต้องขออนุญาตเส้นทาง ใครมีรถอยากจะวิ่งเส้นทางใดก็ได้ เนื่องจากมีรถน้อยมากๆ

จะยกตัวอย่างรถสายขอนแก่น-เมืองเลย ผู้ก่อตั้งเดิมขับรถบรรทุกข้าวสารของเถ้าแก่ซึ่งเป็นญาติกันจากโรงสีที่ชุมแพ มาส่งที่ขอนแก่น ในปี 2487-2488  มีชาวบ้านที่ชุมแพบ้าง หนองเรือบ้าง ดอนโมงบ้าง ขอโดยสารมาด้วยเขาก็รับมา ทีแรกก็ไม่ได้เก็บเงิน แต่ชาวบ้านเขาเกรงใจก็ยัดเยียดให้ ตั้งแต่นั้นมารถบรรทุกข้าวก็กลายเป็นทั้งรถบรรทุกและรถโดยสาร สมัยนั้นถนนยังเป็นหลุมเป็นโคลน รถจึงวิ่งเพียงวันละสองเที่ยวคือ เช้า 1 เทึยว บ่ายสามโมงอีก 1 เที่ยว ระยะทางจากชุมแพถึงขอนแก่น 80 กม. ใช้เวลาวิ่ง 2-3 ชม.

ในปี 2497 เขาก็ลาออกจากเถ้าแก่ มาทำกิจการของตนโดยซื้อ รถ Desoto รถอเมริกัน ของเหลือจากสงครามโลกครั้งที่สอง (2482-2488) ราคา 48,000 บาท มาบรรทุกข้าวแถบเมืองเลย วังสะพุง มาส่งที่ขอนแก่น ช่วงนั้นเมืองเลยไม่มีรถโดยสารสักคัน จึงมีพ่อค้าที่มาซื้อของที่ขอนแก่นเอาไปขายที่เมืองเลยขอโดยสารมาด้วย จึงเป็นรายได้อีกทาง แต่สมัยนั้นถนนเมืองเลย-ขอนแก่นมีสภาพแย่มาก โดยเฉพาะฤดูฝน รถติดหล่มบ้างผู้โดยสารก็ลงมาช่วยเข็น บางทีสะพานขาด ในรถของเขาต้องมีขวาน ค้อน ตะปู เลื่อย เอาไว้ตัดไม้ข้างทางมาซ่อมสะพานที่ขาดหรือชำรุดมาก ระยะทางไป-กลับ เมืองเลย-ขอนแก่น 412 กม ใช้เวลาวิ่ง 4-5 วัน หลายครั้งที่รถเสียกว่าจะไปซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนก็หลายวัน แต่ชาวบ้านที่จะไปขอนแก่นก็ต้องมารอทุกวัน เพราะรถมีอยู่คันเดียว ปัจจุบันรถสายขอนแก่น-เมืองเลยมี 45 คัน เป็นของเขา 5 คัน เขายังเป็นผู้ก่อตั้งรถสายขอนแก่น-เชียงใหม่  สายขอนแก่น-บัวใหญ่ และสายอุดร-กรุงเทพฯ อีกด้วย


การบรรทุกคนและสินคัาทางบกของไทยสมัยก่อนใช้เกวียนเป็นหลัก


รถโดยสารกำลังจะข้ามแม่น้ำสายหนึ่งในอีสาน ถ่ายราวปี 2505 พอถึงฤดูฝนเมื่อระดับน้ำสูงถึงเครื่อง รถจะหยุดให้บริการจะต้องรอน้ำลดพอรถวิ่งได้จึงจะเปิดบริการอีก


รถโดยสารบริเวณใกล้หอนาฬิกา เมืองมหาสารคาม ถ่ายในปี 2505 รถโดยสารรุ่นนี้ชาวบ้านเรียกรถคอกหมู มีที่นั่งเป็นไม้ปูยาวสองแผ่นขนานไปกับตัวรถ สินค้าส่วนใหญ่เอาไว้บนหลังคา ถ้าผู้โดยสารข้างล่างเต็มจะให้ผู้ชายขึ้นไปนั่งบนหลังคา


รถโดยสารในเมืองมหาสารคาม ถ่ายในปี 2506


ม้าและเกวียน พาหนะทางบกที่สำคัญในสมัยก่อน ถ่ายในสมัย ร.5


ภาพรถโดยสารสายขอนแก่น-น้ำพองรุ่นแรกยังให้บริการในปี 2538 แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว


รถโดยสารรุ่นแรกๆระหว่างขอนแก่นกับหมู่บ้านใหญ่ๆในปี 2538 ยังให้บริการ แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว


รถโดยสารสายขอนแก่น-บ้านทุ่ม รุ่นแรก ในปี 2538 เลิกใช้แล้ว

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต และ ช่อ วายุภักตร์ รายงานการวิจัยบทบาทของรถยนต์ญี่ปุ่นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ The Sumitomo Foundation 1995

*เผยแพร่ครั้งแรกในเว็บบล็อก 18 กรกฎาคม 2558
  http://suwit-history.blogspot.com/

อ่านเพิ่มเติม »

ภัยแล้ง 2558

เมืองไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์มากเหลือเกิน จนฝรั่งที่เข้ามาเห็นถึงกับทึ่งและต้องบันทึกไว้ เช่น แชรแวส ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกไว้ว่า
"ป่าไม้ของราชอาณาจักรนี้มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่มาก กินพื้นที่กว่าครึ่งไปทีเดียว และทึบมากจนแทบจะผ่านไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงได้รับการพิจารณาจากองค์พระเจ้าแผ่นดินเสมอว่าเป็นกำแพงปราการป้องกันอริราชศัตรู"
ภาคกลางน้ำท่วมเสมอแต่ไม่เป็นปัญหาเพราะชาวนาสยามใช้ข้าวพันธุ์ที่โตตามน้ำ น้ำท่วมกลับทำให้พื้นที่ภาคกลางอุดมสมบูรณ์มาก เพราะน้ำพัดพาตะกอนดินซึ่งเกิดจากใบไม้ กิ่งไม้ที่ย่อยสลายเป็นปุ๋ยลงมาสู่พื้นนาทุกปี

พิ้นที่ป่าไม้และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทยดำรงอยู่ตลอดมา จนเมื่อ 4  ทศวรรษที่ผ่านมาป่าไม้จึงถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เหตุผลเนื่องมาจาก (1) การให้สัมปทานป่าไม้ในช่วงทศวรรษที่ 2510-2530 และ (2) การขยายพื้นที่เพาะปลูกทั้งข้าวและพืชไร่ เพื่อสนองความต้องการตามประชากรที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการส่งออก

ผลก็คือป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็วจาก 300,104 ตร.กม.หรือ 58.49 % ของพื้นที่ประเทศ ในปี 2495 ลดลงเหลือ 221,707 ตร.กม. หรือ 43.21% ในปี 2516  เหลือ 149,053 ตร.กม.หรือ 29.05% ในปี 2531 และเหลือ 131,485 ตร.กม. หรือ 25.63% ในปี 2541

ผลจากการที่ป่าไม้ถูกทำลายไปมากมาย ทำให้อากาศแปรปรวน ภ้ยน้ำท่วมและภัยแล้งเกิดถึ่ขึ้นและรุนแรงขึ้น เพราะเวลาฝนตกหนักทางภาคเหนือน้ำจะไหลลงมาภาคกลางอย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่มีป่าคอยชลอและซับน้ำเอาไว้ เช่น มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 หรือภัยแล้งในปีนี้ ผลคือทำให้น้ำในเขื่อนลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ตัวเลขปริมาณน้ำวันนี้ (14 กค 58) ในเขื่อนที่ใช้ได้จริงคิดเป็นร้อยละของความจุน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ เหลือ 3%  เขื่อนป่าสัก 4% เขื่อนสิรินธร 3% เขื่อนภูมิพล 1% และเขื่อนสียัด 1%

ผู้เขียนเห็นน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ในวันที่ 5 กค 58 บริเวณเหนือเขื่อนตรงที่มีแพท่องเที่ยวจอดบริการอยู่ราวๆ 100 แพ ระดับน้ำต่ำกว่าระดับน้ำสูงสุดราว 15 เมตร เจ้าของแพบอกว่าน้ำไม่เคยน้อยขนาดนี้มาก่อนนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

ข่าวออกสื่อมาหลายวันว่าหลายพื้นที่ขาดน้ำประปาเช่นลพบุรี เพราะคลองอนุศาสนันท์ (ช้ยนาท-ป่าสัก) แห้ง แถวธัญบุรี ราว 50,000 ครัวเรือน ขาดน้ำประปาเพราะคลอง 13 และคลองระพีพัฒน์ ซึ่งเชื่อมแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำบางปะกงน้ำแห้ง

ขอบคุณ คุณเสรี ทร้พย์เจริญ ที่แต่งกลอนเตือนสติคนไทยมาตั้งแต่ปี 2521 ในปฏิทินของบริษ้ทศรืมหาราชา ว่า
จะก่อกรรมทำเข็ญแก่ลูกหลาน
จงก่อการลักตัดไม้ทำลายป่า
แผ่นดินแห้งแล้งฝนผลตามมา
พายุกล้าน้ำท่วมใหญ่ใครรับกรรม

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร (กรุงเทพ : ศิลปวัฒนธรรม  2548)  สำนักเศรษฐกิจการเกษตร สถิติการเษตรประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2556 และ  www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_biccm.html

*เผยแพร่ในเว็บบล็อกครั้งแรก 14 กค. 2558

ภาพที่ 1


ภาพที่ 2


ภาพที่ 3


ภาพที่ 4 (สี่ภาพแรก บริเวณแพท่องเที่ยวเหนือเขื่อนสิริกิติ์ แพต้องถอยมาจอดจากที่เดิมราว 4 กม. ถ่าย 5 กค 58)


ภาพที่ 5 พื้นที่ป่าต้นน้ำป่าสัก ถูกทำลาย จากการปลูกยางพารา อยู่รอยต่อของอ.ด่านซ้าย อ.หล่มสัก


ภาพที่ 6


ภาพที่ 7  แม่น้ำโขงบริเวณ สะพานมิตรภาพ 1  หนองคาย


ภาพที่ 8  คลองระพีพัฒน์ น้ำแห้ง ทำให้ไม่มีน้ำทำน้ำประปา บริเวณ อ.ธัญบุรี ปทุมธานี


ภาพที่ 9


อ่านเพิ่มเติม »

รถยนต์รุ่นแรกในสหรัฐอเมริกา

รถยนต์ในทวีปอเมริกาเริ่มต้นหลังยุโรปหลายสิบปี แต่ในเวลาไม่นานก็แซงหน้ายุโรปไป เป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์มากที่สุดในโลกติดต่อกันหลายสิบปี เพิ่งมาเสียแชมป์ให้ญี่ปุ่นในปี 1989 จนถึงปัจจุบัน

รถยนต์คันแรกที่สร้างขึ้นในสหรัฐคือปี 1893 (สมัย ร.5) โดยพี่น้องตระกูล Duryea แต่ขายไม่ออก ต่อมา Henry Ford (1863-1947) ได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในปี 1896 ที่ดีทรอยต์ แต่มีปัญหาค่าแรงช่างและเวลาที่ใช้ในการฝึกหัดช่างเขาจึงคิดระบบการผลิตแบบใหม่ขึ้นในปี 1903 ทำให้รถยนต์ราคาถูกมากโดยวิธีผลิตแบบmass production ใช้สายพานในการลำเลียงชิ้นส่วนผ่านช่างที่ยืนรอ ช่างแต่ละจุดจะประกอบชิ้นส่วน 1-2 ชิ้น ระบบนี้ทำให้การผลิตเร็วมากและรถทุกคันได้มาตรฐานเดียวกันหมด เมื่อรถเสียก็มีชิ้นส่วนขนาดมาตรฐานขาย ทำให้การซ่อมรวดเร็วมาก ระบบที่ฟอร์ดใช้ภายหลังมีคนนำไปใช้ในโรงงานนานาชนิด เขาจึงเป็นคนปฎิวัติระบบอุตสาหกรรมซึงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ในปี 1903 เขาผผลิตตรถได้ 600 คัน

รถยนต์ฟอร์ด model T ที่ฟอร์ดผลิตด้วยระบบสายพานราคาเพียงคันละ 260$  ออกสู่ตลาดในปื 1908 (ต้นสมัยร.6) ขายดีมากขายได้ถึง 15 ล้านคัน ฟอร์ดกลายเป็นมหาเศรษฐึ ต่อมามีนักประดิษฐ์อเมริกันอีกหลายคนได้ผลิตรถนต์ออกขาย แต่ฉีกแนวใหม่คือทำรถหรูราคาแพงเพื่อขายคนรวยอาทิ

แรนซัม โอลส์ (1864-1950) ผลิตรถ Oldsmobile
วิลลิส เดฟ บิวอิค ผลิตรถ Buick
พี่น้องตระกูลดอดจ์ ผลิตรถ Dodge
วอลเตอร์ ไครส์เลอร์ ผลิตรถ Chryler

ปี 1904 สหรัฐผลิตรถยนต์ได้รวม 2,753,111คัน
ปี 1964 สหรัฐผลิตรถยนต์ได้รวม 9,307,860 คัน
ปี 1984 สหรัฐผลิตรถยนต์ได้รวม 7,774,000 คัน
ปี 1989 หรัฐผลิตรถยนต์ได้รวม 6,897,600 คัน


ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต:คำบรรยายวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป 2 (ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ ค.ศ.1789 ถึง ปัจจุบัน) ขอนแก่น:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554

*เผยแพร่ในเว็บบล็อกครั้งแรก 3 กค.2558
  suwit-history.blogspot.com



ภาพที่ 1  Henry Ford ผู้สร้างรถฟอร์ดและนำระบบสายพาน (MASS PRODUCTION) มาใช้เป็นคนแรก เป็นผู้ปฏิวิติการผลิตแบบอุตสาหกรรมซึ่งยังใช้มาถึงปัจจุบัน


ภาพที่ 2 ระบบสายพานการผลิตในโรงงานรถยนต์ฟอร์ด เมืองดีทรอยต์


ภาพที่ 3  รถฟอร์ด model T ทำสถิติขายดีที่สุด ถึง 15 ล้านคัน


ภาพที่ 4  Ransom Olds ผู้ผลิตรถหรู โอลสโมบิล


ภาพที่ 5 รถยนต์หรูผลิตในสหรัฐเมื่ราวหกทศวรรษที่แล้ว หลังสงครามโลกครั้ง 2 (ภาพที่ 5-10)


ภาพที่ 6


ภาพที่ 7


ภาพที่ 8


ภาพที่ 9


ภาพที่ 10

อ่านเพิ่มเติม »

รถยนต์รุ่นแรกของโลก (ตอนที่2)

ผู้มีบทบาทในการพัฒนารถยนต์รุ่นแรกๆจนสามารถขายได้อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรกคือเบนซ์กับเดมเลอร์

เบนซ์ (Karl Benz :1844-1929) เป็นวิศวกรเยอรมัน บิดาเป็นวิศวกรขับรถไฟ แต่ถูกฆ่าตายเมื่อเขาอายุเพียง 2 ขวบ มารดาของเขาจึงลำบากมากในการเลี้ยงดูและส่งเสียเขาจบมหาวิทยาลัยคานรูห์ ในด้านวิศวกรรมเครื่องกล เมื่อปี 1864 ในปี1883 เขากับ Max Rose , Friedrich Wilhem Eblinger ได้ตั้งบริษัท Benz&Company Rheinisch Gasmotoren-Fabic แต่เรียกสั้นๆ ว่า Benz & Cie  มีพนักงาน 25 คน 

ในปี 1885 (ต้นสมัย ร.5) เขาผลิตรถยนต์คันแรกสำเร็จ เป็นรถสามล้อ เพื่อสะดวกในการเลี้ยว ขนาดเครื่องเพียง 958 cc. 0.8 แรงม้า ความเร็ว 16กม./ชม.น้ำหนัก 265กก. เขาได้ใบลิขสิทธิ์ในวันที่ 29 มกราคม 1886 เขาเรียกมันว่า Benz Patent Motor

Wagon เป็นรถสันดาปภายในใช้น้ำมัน  ในปี 1887 เขาออกรถรุ่น 2 และ 3 ใช้ล้อไม้ และยังไม่มีเกียร์ ปี 1888 เขาขายรถได้เป็นครั้งแรก เขาได้นำรถไปแสดงในงาน World Expo ที่ปารีส ปี1889 ทำให้รถเบนซ์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ช่วงปี 1888-1893 เขาขายรถได้เพียง 25 คัน 

ในปี 1888 เบอธา ภรรยาของเขากับลูกชาย 2 คน ขับรถไปเยี่ยมแม่ยายที่เมือง Pforzheim ซึ่งห่างจากบริษัทของเขาที่เมือง Mannheim 106 กม. นับเป็นการเดินทางไกลครั้งแรกของรถเบนซ์ เบอธาได้เห็นข้อบกพร่องของรถหลายอย่าง ได้บอกสามี เบนซ์ได้นำไปแก้ไขปรับปรุงทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ยอดขายจึงเพิ่มขึ้นจนต้องเพิ่มพนักงานเป็น430คน มียอดขาย 572 คัน ในปี 1899  ถือว่าเป็นบริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น

อนึ่งในปี 1893 เขาผลิตรถรุ่น Victoria มี 2 ที่นั่ง 3 แรงม้า ทำความเร็งสูงสุด 18 กม./ชม. เป็นรุ่นที่คนนิยม ปี 1894 เขาส่งรถ Benz Velo ลงสนามแข่งรถครั้งแรกของโลก ที่ Paris-Rouen มี Emile Roger เป็นคนขับและผู้จำหน่ายเบนซ์ในฝรั่งเศส เขาชนะระยะทางแข่ง 126 กม.ใช้เวลา 10 ชม. 1 นาที ความเร็วเฉลี่ย 12.7กม./ชม.

รถพัฒนาขึ้นเพราะมีการแข่งข้นหลายบริษัท Gottlieb Daimler (1834-1900) วิศวกร น้กออกแบบชาวเยอรมันกับ Wilhem Mayback คู่หูและยอดนักออกแบบของเดมเลอร์ เดมเลอร์ตั้งบริษัท DMG ในปี 1890  เขาเป็นผู้สร้างจักรยานยนต์สันดาปภายใน และต่อมาได้ผลิตรถยนต์ Mercedes -35 hp ในปี 1902 เป็นรุ่นที่มีแรงม้าสูงกว่ารถรุ่นเก่ามากคือ 35 แรงม้า ผลิดออกมา 36 คันในปีนั้น ทำให้เบนซ์ต้องพัฒนารถของตน คือรุ่น Parsifil ในปี 1903  ทำความเร็วสูงสุดถึง 60 กม./ชม.

หลังสงครามโลกครั้ง 1 เศรฐกิจตกต่ำมาก เพื่อความอยู่รอด ในปี 1926 (ต้นสมัย ร.7) บริษัทเบนซ์กับเดมเลอร์ก็รวมกันใช้ชื่อว่า Daimler-Benz corporation และเอาตราดาวของเดมเลอ่มารวมกับคำว่า Benz
 
 นอกจากบุคคลดังกล่าวแล้วยยังมีนักประดิษฐ์อีกหลายคนที่ทำให้รถยนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอาทิ Wllhem Maybac (1840-1929)ในปี1893 สร้างCarburator ที่มีนมหนูทำให้การเผาไหม้ของน้ำมันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  John Boyd Dunlop(1840-1921) สัตวแพทย์ชาวสก๊อตเป็นคนแรกที่สร้างยางรถจักรยานที่มียางใน ภายหลังจึงมีผู้ซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้างยางรถยนต์ สองพี่น้อง Edouard และ Andre Michelin ได้ตั้งบริษัทผลิตตยางรถยนต์ที่มีคุณภาพสูงในปี1889  ต่อมาได้สร้างยางเรเดียลเป็นรายแรกRobert Bosch(1861-1942) ตั้งบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ในปี1886 ปัจจุบันเป็นบริษัทอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก บอชสร้างignition coilตัวจุดระเบิดเครื่องยนต์ในปี1897 Louis Renault (1877-1944) ผู้สร้างระบบขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยเพลาในปี1896 เขาตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆจองฝรั่งเศส


ขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพจาก

Wikipedia. Karl Benz. Retrieved 3 July 2015, from https://en.m.wikipedia.org/wiki/Karl_Benz#Benz.27s_first_factory_and_early_inventions_.281871.E2.80.931882.29

Wikipedia. Gottlieb Daimler. Retrieved 3 July 2015, from https://en.m.wikipedia.org/wiki/Gottlieb_Daimler,

Daimler.  Retrieved 3 July 2015, from http://www.daimler.com/dccom/0-5-1324882-1-1324893-1-0-0-0-0-0-0-0-0-0-0-0-0-0-0.html


ที่มา:  สุวิทย์ ธีรศาศวัต คำบรรยายวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป 2(ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ ค.ศ.1789 ถึงปัจจุบัน) ขอนแก่น:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554

*เผยแพร่ในเว็บบล็อกครั้งแรก 2 กรกฎาคม 2558



ภาพที่ 1 เบนซ์ผู้ก่อตั้งและผลิตรถเบนซ์


ภาพที่ 2 แบบจำลองรถเบนซ๋คันแรก


ภาพที่ 3  แบบจำลองเครื่องยนต์เบนซ์คันแรก


ภาพที่ 4  รถ Benz Velo รถเบนซ์คันแรกที่ส่งเข้าแข่งครั้งแรกของโลกที่ปารีสปี 1894


ภาพที่ 5  รถ Benz Victoria ปี 1893


ภาพที่ 6  รถเบนซ์ที่นำไปทำรถโดยส่ารคันแรกของโลก ปี 1895 Benz Netphener


ภาพที่ 7 เดมเลอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัท DMG และผลิตรถ Mercedes


ภาพที่ 8  รถจักรยานยนต์สันดาปภายในคันแรกของโลก


ภาพที่ 9  รถเมอซีเดส 35 แรงม้าปี 1902 ทำให้เบนซ์ต้องเร่งพัฒนารถของตน


ภาพที่ 10 ตราดาวสามแฉกของเดมเลอร์ กับตราเบนซ์(คำว่า Benz) ถูกรวมกันเพราะการรวมบริษ้ทในปี1926


ภาพที่ 11  John Boyd Dunlop ผู้ประดิษฐ์ยางรถจักรยานที่มีลมเป็นคนแรก ทำให้ล้อเหล็กและล้อไม้หมดไป


ภาพที่ 12  Wilhelm Maybacผู้สร้างคาร์บูเรเตอร์ที่มีนมหนูเป็คนแรก


ภาพที่ 13  Robert Bosch ผู้สร้างignition coil เป็นคนแรก


ภาพที่ 14  Louis Renault ผู้สร้างระบบขับเคลื่อนรถด้วยเพลาเป็นคนแรก

อ่านเพิ่มเติม »

รถยนต์รุ่นแรกของโลก (ตอนที่ 1)

รถยนต์มีพัฒนาการมาก่อนรถไฟ แต่กลับพัฒนาช้ามากในยุคแรกๆ จนรถไฟก้าวหน้าไปเร็วกว่ามาก เพราะรถไฟเป็นพาหนะที่ขนส่งสินค้าและคนได้รวดเร็วเป็นจำนวนมาก แต่รถไฟมีข้อจำกัดคือไปได้เฉพาะพื้นที่ซึ่งมีรางเท่านั้น รถยนต์จึงตอบโจทย์ได้ดีกว่าในกรณีคนขนและสินค้าไปได้ ทุกที่ที่มีถนน ตรอก ซอย

วิศวกรคนที่สร้างรถยนต์มีหลายคนได้ประดิษฐ์ชิ้นส่วนของรถยนต์ทำให้ประสิทธิภาพของรถยนต์ดีขึ้นเรื่อยๆ จึงจะขอแบ่งกล่าวเป็น 2 ตอน ตอนแรกนี้เป็นช่วงก่อนเบนซ์และเดมเลอร์ บุคคลที่สำคัญในช่วงแรกมี 3 คน คือ คูโยต์ เลอนัวร์ และมาคัส

คนแรก คูโยต์ (Nicolas -Joseph Cugnot 1725-1804) เป็นวิศวกร ฝรั่งเศส จบวิศวกรรมทหาร เขาเป็นคนออกแบบและสร้างรถยนต์ไอน้ำคันแรกของโลก ทดลองวิ่งในปี 1769 (ตรงกับพ.ศ. 2312 ต้นสมัยกรุงธนบุรี) รถนี้มี 3 ล้อ หน้า 1 หล้ง 2 ล้อ มีน้ำหนัก 2.5 ตัน มีความเร็วเพียง 3.6 กม/ชม มีการทดลองครั้ง 2 ในปี 1771 ล้มเหลวเพราะรถควบคุมไม่อยู่ รถวิ่งไปชนกำแพงคลังสรรพวุธ รัฐบาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งต้องการรถลากปืนใหญ่ จึงสั่งยุติโครงการ แต่ก็มอบบำนาญให้คูโยต์ปีละ 600 livres

คนที่ 2 คือ เลอนัวร์ (Jean-Joselh-Etienne Lenior 1822-1900) เป็นวิศวกรเบลเยี่ยม แต่อพยพและอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1850 เป็นต้นมา ในปี 1859 (ตรงกับสมัย ร.4) เขาสร้างเครื่องยนต์สันดาปภายใน ชนิด 2 จังหวะ ใช้ไอถ่านหินกับอากาศผสมกันจุดระเบิดด้วยไฟฟ้า นับเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในเครื่องแรกของโลก ในปี 1863 เขาสร้างรถยนต์ที่เขาเรียกมันว่า Hippomobile ใช้ไฮโดรเจนแก๊ส เป็นเชื้อเพลิง มีสูบเดียวสันดาปภายใน แต่ทำความเร็วเพียง 9 กม/ 3 ชม ทดลองครั้งที่ 2 ในปีเดียวกัน เร็วขึ้นคือ 11 กม/ 90 นาที รถของเขาไม่เป็นที่นิยมเพราะประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ยังต่ำมาก

คนที่ 3 คือ มาร์คัส (Siegfried Markus 1831-1898) เป็นชาวเยอรมัน-ออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดในเยอรมัน ต่อมาย้ายมาอยู่เวียนนา ปี 1852 ช่วงปี 1856-1898 เขาเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ในปี 1870 (ต้น ร.5) เขาสร้างเครีองยนต์สันดาปภายในอย่างง่าย ใช้แก๊สโซลีน ในปี 1875 เขาสร้างรถยนต์สันดาปภายในสำเร็จเป็นตรั้งแรก ใช้แก๊สโซลีน ปี 1888 เขาร่วมมือกับนักประดิษฐ์และร่วมทุนกับชาวโมราเวียนอีก 3 คน สร้างรถยนต์มาร์ค้สคันที่ 2  ตอนนี้เขาเป็นที่รู้จักทั่วโลก แต่พอถึงตอนนี้ได้มีวิศวกรที่เก่งกว่าคือ เบนซ์กับเดมเลอร์ ซึ่งจะกล่าวต่อไปในตอนที่ 2

อุปสรรคสำคัญของการพัฒนารถยนต์ช่วงแรกคือ (1) มีกฎหมายธงแดงออกมาในอังกฤษปี 1865 เนื่องจากมีรถยนต์ไอน้ำระเบิด ทำคนบาดเจ็บ และตาย หลายครั้ง จึงห้ามรถวิ่งเร็วกว่า 6.5 กม/ชม และต้องมีคนถือธงแดง 3 คน วิ่งตะโกนบอกให้คนหลบไปห่างๆ กฎหมายนี้ยกเลิกบางส่วนในปี 1878 และเลิกที้งหมดปี 1896 (2) รถยังมีประสิทธิภาพต่ำ มีอันตรายมากเพราะไม่มีเบรค ไม่มีไฟ เวลาจะหยุดใช้สมอเรือโยนจากรถให้เกี่ยวต้นไม้ บางที่ไปเกี่ยวรั้วบ้านพังก็มี


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: 

Wikipedia. Nicolas-Joseph Cugnot. Retrieved 30 June 2015, from https://en.wikipedia.org/wiki/Nicolas-Joseph_Cugnot

Wikipedia. Étienne Lenoir. Retrieved 30 June 2015, from  https://en.wikipedia.org/wiki/%C3%89tienne_Lenoir
  
Wikipedia. Siegfried Marcus. Retrieved 30 June 2015, from  https://en.wikipedia.org/wiki/Siegfried_Marcus

*เผยแพร่ในเว็บบล็อกครั้งแรก 1 กรกฎาคม 2558

ภาพแรก Nicolas -Joselh Cugnot ผู้สร้างรถยนต์ไอน้ำคันแรกของโลก


ภาพ 2 รถยนต์ไอน้ำคันแรกบองโลก


ภาพ 3 อุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งแรกบองโลก


ภาพ 4 Jean-Joseph-Etiene Lenior วิศวกรเบลเยี่ยม ผู้สร้างเครื่องยนต์และรถยนต์สันดาปภายในคันแรกของโลก




ภาพ 5-6 รถยนต์สันดาปภายในของเลอนัวร์



ภาพ 7 Siegfried Markus ชาวเยอรมัน-ออสเตรียเชื้อสายยิวผู้สร้างรถยนต์สันดาปภายในใช้แก็สโซลีนเป็นคนแรก



ภาพ 8 -9 รถยนต์คันแรกและคันที่ 2 ของมาร์คัส

อ่านเพิ่มเติม »