ผลกระทบของรถไฟอีสานในอดีต

หลังจากมีการเปิดเดินรถไฟสายอีสานในปี 2443 แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในภาคอีสาน สรุปได้ดังนี้

1. การเพิ่มขึ้นของการขนส่งสินค้า ก่อนสร้างทางรถไฟ สินค้าเข้าออกอีสานเฉลียปีละ 2100 ตัน หลังมีทางรถไฟ เพิ่มเป็น 22,565 ตันในปีเดียว หรือเพิ่มเป็น 10.7 เท่า ในปี 2461 เพิ่มเป็น 91,299 ตัน (43.5เท่า)

2. ชนิดของสินค้าเข้าออกอีสานได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สินค้าเข้า อาทิ ไม้ขีดไฟ ตะเกียง ตะเกียงเจ้าพายุ น้ำมันก๊าด สบู่ ด้าย สีย้อมผ้า ร่ม เทียนไข กระจก เครื่องเหล็ก เครื่องทองเหลือง น้ำตาลทราย กะปิ น้ำปลา อาหารกระป๋อง แม้กระทั่งสังกะสี หลังมีทางรถไฟบ้านที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟและมีฐานะดีพากันเปลี่ยนจากมุงแฝกไปมุงสังกะสีแทน ส่วนสินค้าออก อาทิ ไม้ ครั่ง เกล็ดลิ่น ชัน ผลเร่ว (ใช้ทำยารักษาโรคท้อง) เขากวาง กระดูกเสือ น้ำมันยาง

3. ชาวนาที่อยู่ในรัศมีราว 50 กม. จากทางรถไฟ พากันปลูกข้าวเพิ่มขึ้น เพื่อขายและนำเงินไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ในปี 2454 มณทลนครราชสีมาปลูกข้าว 213,213ไร่ ในปี 2465 เพิ่มเป็น 549,420 ไร่

4. ปริมาณคนเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2443 จำนวนตั๋วโดยสารรถไฟสายโคราชขายได้ 37,693 ใบ ในปี 2444 เพื่อเป็น 111,500 ใบ ปี 2447 เพิ่มเป็น 199,020 ใบ

5. การค้าขายใกล้สถานีรถไฟขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีตลาดเกิดขึ้นมากมาย

6. เกิดอาชีพใหม่ๆ ได้แก่
6.1  อาชีพกรรมกร กรรมกรสร้างทางรถไฟ กรรมกรแบกของขึ้นลงรถไฟ
6.2  อาชีพโสเภณี เกิดตามชุมชนใหม่ใกล้สถานีรถไฟเช่น โคราช บ้านไผ่ ขอนแก่น
ในช่วงแรกส่วนใหญ่จะเป็นหญิงจีน
6.3  อาชีพบริการที่พัก ตามเมืองใหญ่ที่มีสถานีรถไฟเช่นโคราช อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานีมีโรงแรมตั้งขึ้นเพื่อบริการคนเดืนทางที่ต้อง้ดินทางต่อไปที่อื่น
6.4  อาชีพขนส่งอาทิให้เช่าเกวียนขนส่งสินค้าต่อมาก็มีรถรับจ้างนานาชนิด
6.5  อาชีพเจ้าของโรงยาฝิ่น ส่วนมากเป็นคนจีนเช่นเดียวกับเจ้าของโรงแรม
6.6  อาชีพอุตสาหกรรม เช่นเจ้าของโรงสีข้าว โรงเลื่อย โรงฟอกหนัง โรงน้ำแข็ง
6.7  วิชาชีพชั้นสูง เช่นในปี2480มีการสำรวจอาชีพในมณทลอุบล มีครูอาจารย์ 2,893 คน วิศวกร 23 คน ทนายความ 22 คน แพทย์ 11 คน คนเหล่านี้ส่วนมากมาจากภาคกลาง
7. อาชีพหัตถกรรมลดลงเช่นการทอผ้า การตีเหล็ก เพราะมีของนอกเข้ามามีคุณภาพดีกว่าเดิม หัตถกรรมจึงค่อยเลิกผลิตไป โดยเฉพาะพื้นที่ไม่ห่างสถานีรถไฟ

8. มีการย้ายสถานที่ราชการเช่น ที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย ศิขรภูมิมา อยู่ใกล้สถานีรถไฟ ย้ายศาลากลางจังหวัดขุขันธ์มาอยู่ที่สถานีรถไฟศรีสะเกษ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดศรีสะเกษ

9. มีคนอีสานส่วนหนึ่งมีโอกาสได้ไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ซึ่งมีทั้งโรงเรียนมัธยมมากมาย และมีมหาวิทยาลัย คนเหล่านี้ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสูงในเวลาต่อมา 


ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต:ประวัติศาสตร์อีสานเล่มที่ 2 (ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2557 หน้า 106-175.

*เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิย. 2558
  suwit-history.blogspot.com


ภาพที่ 1  ชาวนาอีสานที่อยู่ในรัศมี 60 กม. จากสถานีรถไฟผลิตข้าวเพื่อขาย


ภาพที่ 2  โรงสีไฟของชาวจีนซื้อข้าวจากชาวนามาสีเพื่อขาย


ภาพที่ 3  ตลาดวารินชำราบในปัจจุบัน


ภาพที่ 4  ตลาดอ.จีระขอนแก่น ในปัจจุบัน


ภาพที่ 5  ตลาดท่าเสด็จ  หนองคายในปัจจุบัน


ภาพที่ 6  โรงแรมรุ่นแรกในอีสานสร้างด้วยไม้


ภาพที่ 7  โรงแรมรุ่นแรกในอีสานสร้างด้วยไม้


ภาพที่ 8  โรงฟอกหนังในปัจจุบัน


ภาพที่ 9  โรงน้ำแข็งในปัจจุบัน


ภาพที่ 10  โรงเลื่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น