ปัญหารางรถไฟไทย

ถึงเวลาแล้วที่ไทยจะต้องปฏิวัติรถไฟเพราะปล่อยให้ล้าหลังมานานมาก ทั้งที่การขนส่งทางรางมีต้นทุนต่ำกว่าทางถนนมากคือทางถนน 2.12 บาท/ตัน/กิโลเมตร ในขณะที่ขนส่งทางรางต้นทุนเพียง 0.95 บาท/ต้น/กิโลเมตร 

สถิติในปี 2556 คนไทยดินทางระหว่างจังหวัดใช้รถโดยสาร 34.6% รถส่วนตัว 51.37% เครื่องบิน 7.36% รถไฟมีเพียง6.67% ส่วนการขนส่งสินค้าขนทางรางมีเพียง 2.24%
   
ปัญหาที่กำลังถกเถียงกันมากขณะนี้คือรถไฟไทยที่กำลังจะปฏิวัติจะเป็นรางคู่หรือเดี่ยว หรือผสม ขนาดของราง และความเร็ว
    
ก่อนอื่นจะกล่าวถึงขนาดของรางก่อน เริ่มต้นของการสร้างทางรถไฟไทย นายเบทเก (Bethge) วิศวกรเยอรมันและอธิบดีกรมรถไฟคนแรกได้วางระบบไว้ดีมาก คือใช้ขนาดความกว้าง 1.435 เมตรซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานโลก (standard guage)

แต่ต่อมาตอนจะสร้างทางรถไฟสายใต้ อังกฤษคัดค้าน เพราะเกรงว่าเยอรม้นจะเข้าไปมีอิทธพลในภาคใต้และมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ขณะนั้นไทยเป็นผู้น้อยและได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษ (5 เมษายน 2440) ให้อังกฤษคุ้มครองไทย

แต่มีเงื่อนไขว่าภาคใต้ของไทยตั้งแต่เมืองบางสะพานลงไป ไทยจะให้สัมปทานแก่ชาติใดไม่ได้ถ้าอังกฤษไม่ยินยอม รัชกาลที่ 5 (2411-2453) ทรงแก้ปัญหาด้วยการแยกกรมรถไฟเป็น 2 กรมคือกรมรถไฟเหนือดูแลทางรถไฟฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา) รวมภาคอีสาน ภาคเหนือ-ภาคตะวันออก) มีคนเยอรมันเป็นอธิบดี ฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนสุดชายแดนใต้ ให้กรมรถไฟใต้ซึ่งมีคนอังกฤษเป็นอธิบดี การสร้างทางรถไฟสายใต้จึงใช้รางแบบที่ใช้ในมลายูและจะได้เชื่อมต่อกันได้

คือขนาด1เมตร การมีราง 2 ระบบได่สร้างปัญหมากมาย เวลาหัวรถจักรและตู้โดยสารหรือตู้สินค้าเสียหรือไม่พอ จะใช้แทนกันไม่ได้ระหว่างกรมรถไฟทั้งสอง เพราะขนาดของรางกับล้อไม่เข้ากัน

ปัญหาหนี้ยืดเยื้อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 (2453-2468) เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยจึงรวมกรมรถไฟเป็นกรมรถไฟหลวงมีกรมพระกำแพงเพชรอัค่รโยธินเป็นผู้บัญชาการ และให้ใช้ระบบรางแบบ1เมตรเหมือนกันทั้งประเทศ

ในปัจจุบันรถไฟต้องมีความเร็วสูงกว่าเดิมมาก แต่ขนาดของรางเมตรจึงล้าสมัย และอันตรายเวลาวิ่งเร็วเพื่อรักษาเวลาทำให้รถไฟตกรางเสมอ ดังปรากฏในภาคเหนือบ่อยและหากมองในภาพรวมของรถไฟโลก มีความยาวของรางแบบ1เมตรของทุกประเทศรวมกัน 7% ในขณะที่ 93% ใช้รางขนาดกว้างกว่า1เมตร หากนับเฉพาะชนิด 1.435 เมตรมีผู้ใช้ 60% ของรางรถไฟทั้งโลก ผู้เขียนจึงเสนอให้ใช้แบบนี้เพราะมีผู้ผลิตทั้งหัวรถจักร

ตู้โดยสาร ตู้สินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้เราเลือกได้มาก ต่อไปถ้าเราผลิตได้เองก็อาจผลิตขายก็มีคนต้องการมาก

อนึ่งประเทศที่ใช้ราง 1.435 เมตร มีทุกทวีปทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ อาฟริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย รวม720,000 กิโลเมตร โดยเฉพาะจีน ซึ่งตั้งใจจะสร้างทางรถไฟเข้าลาวและไทยก็ใช้รางแบบนี้  ขณะนี้ไทยมีทางรถไฟแบบ 1 เมตร 4,042 กม เป็นแบบ 1.435เมตร 29กม

แต่มีผู้ทักท้วงว่าควรใช้รางแบบ 1 เมตร เพราะพม่า เขมร เวียดนาม มาเลเซีย เป็นรางแบบ 1 เมตร จะได้เชื่อมต่อกันได้ ผู้เขียนเห็นว่าการเชื่อมกับลาวและเวียดนามไม่น่ามีปัญหามากเพราะลาวมีทางรถไฟไม่ถีง 10 กิโลเมตร ส่วนเวียดนามก็สร้างแบบ 1.435  เมตรถึง 527 กิโลเมตรในภาคเหนือที่จะเชื่อมกับจีน ก็เหลือเขมรซึ่งมีทางรถไฟเพียง 690 กิโลเมตร คงจะเจรจาไม่ยากนัก คงต้องใช้ความพยายามมากหน่อย

สำหรับพม่าซึ่งมีทางรถไฟถึง 5031กิโลเมตรกับมาเลเซียซึ่งมีทางรถไฟแบบนี้ 1793 กิโลเมตร แต่ระหว่างเจรจาทำข้อตกลงเราก็ควรสร้างแบบมาตรฐาน 1.435 เมตรต่อไป ควรจะสร้างแบบรางคู่ มิฉะนั้นเราจะเพิ่มความเร็วไม่ได้

ส่วนรถไฟความเร็วสูงตามมาตรฐานโลกต้อง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ไหนๆจะสร้างแล้วก็ทำให้ทันสมัยไปเลย เพราะถ้าเราสร้างแบบ 160 กิโลเมตรกว่าเราจะสร้างเสร็จอีก 5-8 ปี ถึงตอนนั้นก็ยิ่งล้าสมัย ผู้เขียนได้นั่งรถไฟ TGV ของฝรั่งเศสเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ความเร็ว 320 กิโลเมตร/ชม มันนิ่มมาก อยากให้เมืองไทยมีของดีๆ แบบนี้ (ฝรั่งเศสมีประชากร 60 กว่าล้านคนพอๆ กับไทย)
   
แผนที่ในภาพสุดท้ายจะเห็นว่าสีม่วงเเป็นประเทศที่ใช้รางขนาด 1 เมตร ไทยก็อยู่กลุ่มนี้ ส่วนสีฟ้ามีมากที่สุดถึง 60% ใช้ขนาดราง 1.435 เมตร

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต เบื้องลึกการเสียดินแดนและปัญหาปราสาทพระวิหารจากรศ 112 ถึงปัจจุบัน (กรุงเทพ สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ 2553) thaipublica.org/2014/08/the_truth


*เผยแพร่ครั้งแรก 29 มิย. 2558
  suwit-history.blogspot.com



ภาพที่ 1   แผนที่เชื่อมต่อทางรถไฟอาเซียนกับจีนในอนาคต


ภาพที่ 2  รถไฟไทยในปัจจุบัน


ภาพที่ 3  รถไฟความเร็วสูงของจีน


ภาพที่ 4  ผู้เขียนกับรถไฟ tgv ที่สถานีรถไฟดีจอง ฝรั่งเศส พค 2558 



ภาพที่ 5 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น