รถไฟไทยเริ่มต้นในรัชกาลที่ 5 (2411-2453) เป็นรถไฟของบริษ้ทเอกชนเดนมาร์กที่ได้รับสัมปทานในปี 2429 แต่กว่าจะเปิดเดินรถก็ 11 เมษายน 2436 เพราะบริษัทมีทุนน้อยจนรัฐบาลต้องให้ยืมเงิน
แต่รถไฟที่มีบทบาทในประเทศไทยคือ รถไฟของรัฐบาล กล่าวคือในปี 2430 รัฐบาลได้จ้างวิศวกรชาวอังกฤษสำรวจภาคเหนือและอีสาน ต่อมาในเดือนตุลาคมรัฐบาลได้ตั้งกรมรถไฟ โดยจ้างนายเบทเก (Bethge) วิศวกรเยอรมันเป็นอธิบดี มีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ต่อมารัฐบาลได้ตัดสินใจสร้างรถไฟสายอีสานเป็นสายแรก เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสมีท่าทีคุกคามไทยมากที่สุด โดยยึดเขมรและเวียดนามและสิบสองจุไทไปแล้ว ในปี 2434 มีการประมูลสร้างรถไฟสายอีสานช่วงกรุงเทพฯ-โคราช
บริษัทอังกฤษชนะการประมูลในราคา 9.96 ล้านบาท เงินค่าก่อสร้างนำมาจากการขายหุ้นๆ ละ 100 บาท จำนวน 160,000 หุ้น แต่ปรากฏว่าบริษัทอังกฤษสร้างช้ากว่าสัญญามาก รัฐบาลจึงเลิกสัญญาและสร้างเองช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา เสร็จเปิดเดินรถ 26 มีนาคม 2439 และเสร็จถึงโคราชเปิดเดินรถ 21 ธันวาคม 2443 ขนาดความกว้างของราง แบบ Standard Guage (1.435 เมตร)
@ ภาคอีสานเปิดเดินรถถึงอุบลราชธานี (สถานีปลายทางอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ) เมื่อ 1 เมษายน 2473 ถึงขอนแก่นปี 2476 ถึงอุดรธานีปี 2484 และหนองคายปี 2499 (ร.9)
@ ภาคเหนือถึงปากน้ำโพปี 2848 ถึงเชียงใหม่ปี 2464 ช่วงที่เสียเวลาถึง 11 ปี คือตอนสร้างอุโมงค์ขุนตาลซึ่งยาว 1.3 กม.
@ ภาคใต้ถึงสุไหงโกลกปี 2464 (ร 6)ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปิดใช้ทางรถไฟ 932 กม. กำลังก่อสร้าง 690 กม. รัชกาลที่ 6 มีทางรถไฟเปิดใช้ 2581 กม. กำลังก่อสร้าง 497 กม.
@ ภาคตะวันออกถึงฉะเชิงเทราปี 2450 อารัญประเทศปี 2469 (ร.7)
@ ภาคตะวันตกถึงสุพรรณบุรี ปี 2502 (ร.9)
ในปัจจุบัน(พย2557)ไทยมีทางรถไฟยาว4034กมโดย91.5%เป็นรางเดี่ยว ทำให้รถไฟไทย
ซิ่งช้ามากและไม่ค่อยตรงเวลา จากปี2494ถึงปัจจุบันรวม63ปีไทยมีทางรถไฟเพิ่มเพียง666กม
@ ภาพ1 รัชกาลที่ 5ทรงขุดดินพระฤกษ์ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดเทพศิรินทร์ 9 มีนาคม 2434 นับเป็นการเริ่มการสร้างทางรถไฟขนานใหญ่ในประเทศไทย
@ ภาพ 2 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงทำให้การรถไฟไทยก้าวหน้าในอันดับต้นๆ ของเอเชีย
@ ภาพ 3-4 รถไฟไทยรุ่นแรกๆ
@ ภาพ 5-6 รถไฟที่ใช้เครื่องดีเซล
@ ภาพ 7 สถานีรถไฟหัวลำโพงสร้างปี 2453 เสร็จปี 2559 (ร.6) ด้านหลัง
@ ภาพ 8 สถานีรถไฟหัวลำโพง ด้านหน้า
*เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิย 2558
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3
ภาพที่ 4
ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
ภาพที่ 7
ภาพที่ 8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น