มาตราเงินไทยโบราณ

มาตราเงินไทยสมัยโบราณคือสมัยสุโขทัยถึงสมัย ร. 4 ใช้อัตราต่อไปนี้

800 เบี้ย = 1  เฟื้อง
2 เฟื้อง   =  1  สลึง
4 สลึง     =  1 บาท
4 บาท     =  1 ตำลึง
20 ตำลึง  =  1 ชั่ง

เงินตราไทยสมัยนั้นนอกจากเบี้ยแล้วใช้โลหะเงินแท้ และวัดค่า ตามน้ำหนัก เช่น 1 หนัก 15 กรัม 1ชั่งหนัก80 บาทคือ 1200 กรัม

เงิน 1บาท สมัยโบราณมีค่ามากถึง 6400 เบี้ย เงินเบี้ยทำมาจากหอยเบี้ย หอยเบี้ยนี้เดิมมีมากแถวชายฝั่งอันดามัน ของไทย ต่อมาบริเวณนี้หายาก จึงมีพ่อค้าจากอินเดีย และตะวันออกกลางนำเอาหอยเบี้ยแถบเกาะมัลดีฟส์ และตะวันออกกลาง มาขายในประเทศไทย เงืน 10 เบี้ย สมัยอยุธยา ซื้อข้าวแกงได้ 1 จาน อากรตลาดที่เก็บสมัยอยุธยา ถึง สมัย ร.3 เก็บ วันละ 10 เบี้ยสำหรับแม่ค้าที่เอาสินค้ามา 1 ตะกร้า หริอ กระจาด(เรียกว่ากระเดียดเร่) 15 เบี้ย สำหรับสินค้า 1 หาบ(ในเอกสารเรียกว่า หาบเร่) ถ้าแผงลอยเสีย 20 เบี้ย ในสมัย ร.3(2394-2411)  เส้นไหม 0.6 กก. ราคา 4 บาท งาช้าง  2.4 กก. ราคา 4 บาท ทองคำผง(เอกสารเรียก ทองคำผุย) 1 บาท ราคา 12 บาท ในปี2403 ตรงกับ สมัย ร.4 ที่ตลาดโคราช ไข่ไก่ 800 ฟอง ราคา 1 บาทเท่า ไก่ 48 ตัว ดังนั้นใครมีเงิน 1 บาท ก็อยู่ไปได้เป็นเดือน หากเทียบราคา ทองสมัยนั้นกับทองสมัยนี้ๆทอง 1บาทราวๆ 20,000บาท สมัย ร.4  12 บาท ต่างกัน 1666 เท่า

ต่อมาสมัย ร.4 ไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมามากขึ้น มีการ ผลิตเหรียญโลหะขี้นมาใช้เป็นครั้งแรก ทำให้การใช้เงินเบี้ยลดลง และรัฐบาลยังกำหนดหน่วยเงินเพิ่มขึ้นคือ 1 อัฐ= 1ใน 8 เฟื้อง(12.5 สตางค์) 1 โสฬส= 1 ใน 16 เฟื้อง(6.25 สต.)

ต่อมาสมัย ร.5  จึง ใชัระบบสากลเต็มตัว คือยกเลิกหน่วยเงินตราแบบเก่า มาใช้เพียงสอง หน่วยคือ บาท กับ สต. มาจนทุกวันนี้ ซึ่งทำให้สะดวกอย่างมากในการทำบัญชี และการซื้อขาย

ที่มา สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินอีสาน (ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2558 )
       ทรงวิทย์ แก้วศรี และ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 1(กรุงเทพฯ;หอสมุดแห่งชาติ 2530 )
ภาพ หอยเบี้ย ซึ่งใช้เป็นเงินตราของไทยในสมัย  ร.4 ขึ้นไป
ที่มาภาพ https://encrypted-tbn2.gstatic.com

1 ความคิดเห็น: