ภัยแล้ง 2558

เมืองไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์มากเหลือเกิน จนฝรั่งที่เข้ามาเห็นถึงกับทึ่งและต้องบันทึกไว้ เช่น แชรแวส ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกไว้ว่า
"ป่าไม้ของราชอาณาจักรนี้มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่มาก กินพื้นที่กว่าครึ่งไปทีเดียว และทึบมากจนแทบจะผ่านไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงได้รับการพิจารณาจากองค์พระเจ้าแผ่นดินเสมอว่าเป็นกำแพงปราการป้องกันอริราชศัตรู"
ภาคกลางน้ำท่วมเสมอแต่ไม่เป็นปัญหาเพราะชาวนาสยามใช้ข้าวพันธุ์ที่โตตามน้ำ น้ำท่วมกลับทำให้พื้นที่ภาคกลางอุดมสมบูรณ์มาก เพราะน้ำพัดพาตะกอนดินซึ่งเกิดจากใบไม้ กิ่งไม้ที่ย่อยสลายเป็นปุ๋ยลงมาสู่พื้นนาทุกปี

พิ้นที่ป่าไม้และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทยดำรงอยู่ตลอดมา จนเมื่อ 4  ทศวรรษที่ผ่านมาป่าไม้จึงถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เหตุผลเนื่องมาจาก (1) การให้สัมปทานป่าไม้ในช่วงทศวรรษที่ 2510-2530 และ (2) การขยายพื้นที่เพาะปลูกทั้งข้าวและพืชไร่ เพื่อสนองความต้องการตามประชากรที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการส่งออก

ผลก็คือป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็วจาก 300,104 ตร.กม.หรือ 58.49 % ของพื้นที่ประเทศ ในปี 2495 ลดลงเหลือ 221,707 ตร.กม. หรือ 43.21% ในปี 2516  เหลือ 149,053 ตร.กม.หรือ 29.05% ในปี 2531 และเหลือ 131,485 ตร.กม. หรือ 25.63% ในปี 2541

ผลจากการที่ป่าไม้ถูกทำลายไปมากมาย ทำให้อากาศแปรปรวน ภ้ยน้ำท่วมและภัยแล้งเกิดถึ่ขึ้นและรุนแรงขึ้น เพราะเวลาฝนตกหนักทางภาคเหนือน้ำจะไหลลงมาภาคกลางอย่างรวดเร็วเนื่องจากไม่มีป่าคอยชลอและซับน้ำเอาไว้ เช่น มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 หรือภัยแล้งในปีนี้ ผลคือทำให้น้ำในเขื่อนลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ตัวเลขปริมาณน้ำวันนี้ (14 กค 58) ในเขื่อนที่ใช้ได้จริงคิดเป็นร้อยละของความจุน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ เหลือ 3%  เขื่อนป่าสัก 4% เขื่อนสิรินธร 3% เขื่อนภูมิพล 1% และเขื่อนสียัด 1%

ผู้เขียนเห็นน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ในวันที่ 5 กค 58 บริเวณเหนือเขื่อนตรงที่มีแพท่องเที่ยวจอดบริการอยู่ราวๆ 100 แพ ระดับน้ำต่ำกว่าระดับน้ำสูงสุดราว 15 เมตร เจ้าของแพบอกว่าน้ำไม่เคยน้อยขนาดนี้มาก่อนนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

ข่าวออกสื่อมาหลายวันว่าหลายพื้นที่ขาดน้ำประปาเช่นลพบุรี เพราะคลองอนุศาสนันท์ (ช้ยนาท-ป่าสัก) แห้ง แถวธัญบุรี ราว 50,000 ครัวเรือน ขาดน้ำประปาเพราะคลอง 13 และคลองระพีพัฒน์ ซึ่งเชื่อมแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำบางปะกงน้ำแห้ง

ขอบคุณ คุณเสรี ทร้พย์เจริญ ที่แต่งกลอนเตือนสติคนไทยมาตั้งแต่ปี 2521 ในปฏิทินของบริษ้ทศรืมหาราชา ว่า
จะก่อกรรมทำเข็ญแก่ลูกหลาน
จงก่อการลักตัดไม้ทำลายป่า
แผ่นดินแห้งแล้งฝนผลตามมา
พายุกล้าน้ำท่วมใหญ่ใครรับกรรม

ที่มา: สุวิทย์ ธีรศาศวัต ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร (กรุงเทพ : ศิลปวัฒนธรรม  2548)  สำนักเศรษฐกิจการเกษตร สถิติการเษตรประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2556 และ  www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_biccm.html

*เผยแพร่ในเว็บบล็อกครั้งแรก 14 กค. 2558

ภาพที่ 1


ภาพที่ 2


ภาพที่ 3


ภาพที่ 4 (สี่ภาพแรก บริเวณแพท่องเที่ยวเหนือเขื่อนสิริกิติ์ แพต้องถอยมาจอดจากที่เดิมราว 4 กม. ถ่าย 5 กค 58)


ภาพที่ 5 พื้นที่ป่าต้นน้ำป่าสัก ถูกทำลาย จากการปลูกยางพารา อยู่รอยต่อของอ.ด่านซ้าย อ.หล่มสัก


ภาพที่ 6


ภาพที่ 7  แม่น้ำโขงบริเวณ สะพานมิตรภาพ 1  หนองคาย


ภาพที่ 8  คลองระพีพัฒน์ น้ำแห้ง ทำให้ไม่มีน้ำทำน้ำประปา บริเวณ อ.ธัญบุรี ปทุมธานี


ภาพที่ 9


1 ความคิดเห็น: