ภาคอีสานสมัยก่อนเก็บส่วยกันอย่างไร

รัฐไทยปกครองภาคอีสานทั้งหมดและลาวครั้งแรกในปี 2322ผลประโยชน์ที่รัฐไทยสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัชกาลที่สามคือ ส่วย แรงงาน และในส่วนที่เป์นประเทศราชเช่น หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาสักต้องส่งคือเครื่องราชบรรณาการได้แก่ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องประกอบบรรณาการเช่นงาช้าง ผ้าไหม ต้องส่งสามปีต่อคร้ง ส่วนแรงงานก็ถูกเกณฑ์เป็นครั้งคราวเช่นเกณฑ์ไปขุดคูเมือง สร้างกำแพงกรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่หนึ่ง สร้างพระเมรุสมัยต้นรัชกาลที่สาม

ดังนั้นรายได้หลักของรัฐไทยจากภาคอีสานคือส่วย

ใครที่ต้องเสียส่วย  เฉพาะชายฉกรรจ์ที่สูงสองศอกคืบ คือ 125 ซม(วัดจากเท้าถึงไหล่). คนที่ได้รับยกเว้น คือ ภิกษุสามเณร ผู้หญิง ชายอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปี ขุนนาง คนพิการ บัา ไบ้ ข้าทาส

อัตราที่เสียและสิ่งของที่เสีย รัฐบาลเป็นผู้กำหนด เช่นผลเร่ว ครั่งคนละ 12 กก. ขี้ผึ้ง  งาช้าง  2.4 กก. ป่าน  15-30 กก. เส้นไหม 0.6 กก. ทองคำผุย(ทองคำผง) 2-3 สลึง แต่ละเมืองจะเสียอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นและเสียเท่ากันทุกปี




ระบบการเก็บแต่ละเมืองจะมี ขุนนางสี่กองรับผิดชอบคือกองเจ้าเมือง กองอุปฮาด กองราชวงศ์ และกองราชบุตร ไพร่สักกัดกองใดถึงเวลาก็นำไปส่งกองนั้น

เมื่อรวบรวมครบจำนวน พอถึงกำหนดที่ต้องส่งกรุงเทพฯ เจ้าเมืองจะมอบให้อาญาสี่คนหนึ่ง ส่วนมากมักจะเป็นราชวงศ์นำกองคาราวานส่วยไปส่งกรุงเทพฯ

เส้นทางทางบกจะใช้เกวียน หรือโคต่างบรรทุกกระทอที่สานด้วยไม้ไผ่ใส่ส่วย มุ่งตรงไปโคราช จากโคราชไปได้สองทางคือทางปากช่อง กับทางวังน้ำเขียว กบินทร์บุรี ที่กบินทร์จะเปลี่ยนกระทอเพราะเดินทางมานานมักจะชำรุด และชั่งน้ำหนักส่วยแล้วเจ้าเมืองกบินทร์จะรายงานให้สมุหนายกทราบ จากนี้จะใช้เรือล่องไปตามแม่น้ำปราจีน บางปะกง คลองแสนแสบ ปลายทางที่ กทม. ถ้าลงไปทางปากช่อง ถึงสระบุรีก็เปลี่ยนกระทอ ชั่งน้ำหนักรายงานให้สมุหนายก แล้วลงเรือไปตามแม่น้ำป่าสัก เจ้าพระยาถึง กทม.

ปัญหาสำคัญของส่วยคือการคอรัปชั่นส่วยโดยแจ้งจำนวนไพร่ต่ำกว่าความจริงมาก ซึ่งผู้เขียนได้แยกเขียนอีกบทความหนึ่งแล้ว






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น