ตลาดขายของป่า ในจังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อวาน 15 กันยายน 2561 ผมมีโอกาสไปชมตลาดนาจะหลวย ใต้สุดของ จังหวัดอุบลราชธานี ติดเขมร มีของป่าขายในตลาดเยอะ เช่น บ่าง ตัวละ 350 บาท กระรอก กระแต งูสิง แสดงว่าแถวนี้ยังมีป่าอยู่มากครับ มีผักป่าหลายอย่างที่ไม่รู้จัก







ภาพ งูสิงถุงละ 70 บาท






ช่วงเย็นไปเที่ยวตลาดบุณฑริก ตะวันออกเฉียงใต้สุดของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างช่องตาอู จัมปาสัก แขวงจำปาสัก 9 กม. มีกะบอง (ไต้) ทั้งของไทย เขมรมาขาย ขิงเขมรจะอาบด้วยยางนา ของไทยห่อใบตองกุง ที่น่าสนใจ คือ แท่งยาวกลมดำๆ ทายซิคืออะไร



เฉลย มันคือ แอบดักกบ และดักปลา เองครับ


ภาพ ปูภูเขา หรือ ปูขน เพิ่งรู้ว่าบนภูก็มีปู มันอยู่ตามซอกหิน 
ชาวบ้านเอาเนื้อไก่ไปล่อ


อ่านเพิ่มเติม »

ตลาดปากคลองตลาด

ตลาดปากคลองตลาด ตั้งขึ้นเมื่อปี 2496 ส่วนตลาดยอดพิมานคือส่วนขยายเป็นส่วนหนึ่งของปากคลองตลาดครับ ปากคลองตลาดมีตลาดเฉพาะทางสามตลาดคือ

ตลาดขายผัก
ตลาดขายดอกไม้
ตลาดขายผลไม้

ตลาดปากคลองเป็นแม่แบบของตลาดไท  และตลาดสี่มุมเมืองซึ่งเป็นสองตลาดสดขายส่งทีใหญ่ที่สุดในอาเซียน


กล้วยไม้นี้ถ่ายที่ปากคลองตลาด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 (ตลาดนี้น่าจะเป็นตลาดดอกไม้ความเชื่อ (ไหว้พระ  พระพิฆเณศ พระพรหม พระภูมิ) ที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีแผงขายดอกไม้ราว 200 แผง)








อ่านเพิ่มเติม »

งานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “กำเนิดและพัฒนาการของตลาดสดและผู้ค้ารายย่อยในภาคอีสาน”

งานสัมมนาทางวิชาการ เรื่องกำเนิดและพัฒนาการของตลาดสดและผู้ค้ารายย่อยในภาคอีสานจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 09:00-16:00 . ห้องประชุม 2 อาคาร 5 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้รวมจำนวน 83 คน 

อ่านเพิ่มเติม »

รับรางวัล "เมธีวิจัยอาวุโส" ของ สกว.

เมื่อวาน (10มค61) ไปรับรางวัลเมธีวิจัยอาวุโสของสกว.โดยพลอากาศเอก ดร.ปาจิน จั่นตองเป็นผู้มอบ

ปีนี้มีคนได้รางวัลนี้ 13 คน โดย 2 คนอยู่ในสายสังคมศาสตร์ อีก 11 คนสายวิทย์-เทคโน

เลยถือโอกาสฟังการบรรยาย (มี 104 คน ที่มาบรรยายผลการวิจัย) กับเสนอผลงานวิจัยเป็นโปสเตอร์ 331โครงการ มีคนเข้าฟังราว 1200 คน ต้องใช้โรงแรม 8 โรง โรงแรมที่ประชุมคือ โรงแรมรีเจนต์ ชะอำ บลีซ รีสอร์ต ซึ่งใหญ่มาก ห้องประชุมจุคน 1200 คนได้ ติดทะเล สวยงามมากครับ

อ่านเพิ่มเติม »

งานไหมขอนแก่น

งานไหมขอนแก่นเป็นงานไหมที่ใหญ่ที่สุดของไทย เดิมเรียกว่างานกาชาดซึ่งจัดในต้นฤดูหนาวเพราะชาวนาเกี่ยวข้าวแล้วมีเงินมาเที่ยว อากาศไม่ร้อนฝนไม่ตกทำให้สะดวกทั้งการเดินทางและสินค้าที่วางขายไม่เสียหาย

ต่อมาในปี 2522 นายเภอเปือยน้อย ได้จัดประเพณีผูกเสี่ยวระหว่างคนเพศเดี่ยวกัน คนที่ผ่านการทำพิธีนี้จะเป็นเพื่อนกัน คอยช่วยเหลือกันจนตาย ทางจังหวัด้เห็นว่าประเพณีนี้ดีควรรักษาไว้

ในปี 2523 จึงยกระดับและนำมารวมกับงานไหมเป็นงานไหมและประเพณีผูกเสี่ยวเรื่อยมาจนปัจจุบัน แต่ราว5ปีที่ผ่านมาทางผู้จัดเงานได้เชิญเพื่อนบ้านมาขายผ้าและการแสดงทางวัฒนธรรมของประเทศ ปีนี้มีลาว เขมร วียดนาม พม่า และจีนส่งสินค้าและการแสดงทางวัฒนธรรมบนเวที

ในงานปีนี้จัดในวันที่ 29 พย.60-10 ธค.60 มีร้านมาขายสินค้าราวๆ 700 ร้าน มีการทำพิธีผูกเสี่นวในวันที่29 มีการประกวดบายสีส่วนการแสดงพื้นบ้านบนเวทีมีทุกคืน

สำหรับสินค้ามีจากภาคอีสารราว60-70% ที่เหลีอมาจากภาคอื่นและประเทศอื่น สินค้าราว60% เป็นอาหารทั้งสำเร็จรูปและทำร้อนๆ ผลไม้ ที่เหลือเป็นเสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใข้ในบ้าน

ค่าที่ ร้านขนาดราว 3×4 เมตรเสีย 4000 บาทตลอดงาน 14 วัน แต่พวกมาตั้งในศาลาประชาคมเสีย9000บาทต่อร้าน/14วัน แต่ในเต๊นท์ติดแอร์มีสองเต๊นท์ เต๊นท์นานาชาติ ร้านที่อยู่ในนี้เป็นร้านที่เจ้าภาพเชิญมามีของลาว จีน เขมร เวียดนาม พม่า และไทยมีราว 20-30 ร้านพวกนี้ไม่เสียค่าที่ อีกเต๊นท์ที่ติดแอร์เสียค่าที่ 12,000 บาท ต่อ 14 วัน ผ้าไหมที่ขายในสองเต๊นท์นี้คุณภาพสูง ราคาไม่แพง

มาดามของผู้เขียนชอบซื้อผ้าไหม ผมจึงถามว่าไหมอีสานของจัวหวัดใดฝีมือเยี่ยมสุด เธอบอกว่า ไหมแพรวา บ.โพน กาฬสินธุ์  แต่ราคาก็สูงสุดด้วย แต่ถ้าผืนที่ฝีมือพอกัน ผ้าไหมสุรินทร์ถูกกว่า อันดับ2 ไหม บ.เขว้า ชัยภูมิ อันดับ 3  ไหมชนบท ผมดูแล้วอันดับ 2 กับ3 ฝีมือดีใกล้เคียงกันมาก ปีนี้มาดามก็ซื้อผ้าไหมชนบท 2 ผืนๆละ 4000 บาท อีกผืน 2800 บาท

นอกจากไหม 4 จังหวัดที่ว่า ยังมีไหมจากจังหวัดอื่นและผ้าฝ้ายมากมายมาวางขาย ราคาไม่แพง
งานไหมที่จัดมา 27 ปี ผู้เขียนได้เห็นมาตั้วแต่ปี 2524 ทุกปี ได้เห็นการพัฒนาฝีมือทั้งการดีไซน์ลวดลาย สี ความประณีตในการทอ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆและตลาดก็กว้างขึ้นไปขายที่งาน OTOP ที่เมืองทอง และร้านโอทอปของจ้งหวัดต่างๆ และงานกาชาดฯลฯ











อ่านเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุหนองบัว อุบลราชธานี

วัดพระธาตุหนองบัว ตั้งอยู่ใน อ.เมือง อุบลราชธานี สร้างในปี 2498 สร้างจำลองเจดีย์พุทธคยาในวาระฉลอง  25 พุทธศตวรรษ แต่เสร็จสมบูรณ์ในปี 2512 ขนาดกว้าง 17 เมตร สูง 57 เมตร บรรจุพระบรมสาริกธาตุ ภายในยังสร้างเจดีย์สำคัญ เช่น พระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุแช่แห้ง ขนาดเล็ก ผนังและเพดานสร้างลวดลายปิดทองวิจิตรยิ่งนัก

วัดนี้มีพื้นที่ 50 ไร่เศษ ห่างจากศากลางจังหวัดไปทางเหนือราว 5 กม.


อ่านเพิ่มเติม »

วัดป่ากุง บุโรพุทโธ แห่งอีสาน

วัดป่ากุง หรือวัดประชาคมวนาราม ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ไปตามถนนสายวาปีปทุม  20 กม.แล้วเลี้ยวขวาไปทาง อ.ศรีสมเด็จอีก 9 กม.ถึงวัด ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ

ไฮไลท์ของวัดนี้คือมหาเจดีย์ซึ่งเกิดจากในปี 2531หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระเกจิสำคัญสายวิปัสนาของอีสาน ท่านไปดูงานที่บรมพุทโธ ในเกาะชวา บรมพุทโธเป็นพุทธสถานที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียสมัยโบราณ หลวงปู่ศรี ได้ส่งสถาปนิกและช่างไปจำลองบรมพุทโธมาสร้างในอีสานมีผู้มีจิตศรัทธาและคนที่นับถือในหลวงปู่ได้บริจาคเงินสร้างมหาเจดีย์ 40 ล้านบาท

เริ่มก่อสร้าง 5 มีนาคม 2547  สร้างเสร็จ 3 พฤกษภาคม 2549 มหาเจดีย์สร้างด้วยหินทราย มี 7ชั้น มีภาพพุทธประวัติแกะสลักบนหินทรายอย่างสวยงามรอบๆฐานเจดีย์ ยอดเจดีย์ทำด้วยทองคำหนัก 110  กก. และ บรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า

บริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นมากสมเป็นวัดป่า น่าไปเที่ยวและไหว้พระนะครับ

อ่านเพิ่มเติม »

วัดสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ

วัดสระกำแพงใหญ่ อยู่ใน อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ มีมีสิ่งน่าสนใจที่สุดคือมีปราสาทสระกำแพงใหญ่ซึ่งเป็นปราสาทโบราณที่ใหญ่ที่สุดในจ.ศรีสะเกษ

ปราสาทนี้สร้างตามแบบของศิลปขอมที่เรียดว่า ศิลปะบาปวน  บาปวนเป็นชื่อของปราสาทขอมซึ่งเป็นต้นแบบของการสร้างปราสาทขอมในเมืองไทยอีกหลายแห่ง อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ปราสาทพนมวัน จ.นครราชสีมา ปราสาทเปือยน้อย จ.ขอนแก่น กู่กาสิงห์ และกู่พระโกณา จ.ร้อยเอ็ด ปราสาทภูเพ็ก จ.สกลนคร

นักประวัติศาสตร์ศิลป์กำหนดช่วงศิลปะแบบบาปวนอยู่ในช่วง พ.ศ.1550-1620 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1(1549-1593)และรัชสมัยพระเจ้าอุทัยทิตย์วรมันที่2(1593-1609)

ในปราสาทสระกำแพงใหญ่มีอาคารสร้างด้วยหินทราย 6 หลัง ตรงกลางมี3 หลัง ทางขวามี 2 หลัง เรียกว่าบรรณาลัยคือห้องสมุด แสดงให้เห็นว่าขอมเป็นชาติที่ให้ความสำคัญมากในเรื่องความรู้ และคนไทยในสมัยก่อนรัชกาลที่หก ก็ยกย่องภาษาขอม คนที่บวชเรียนนอกจากต้องผู้ภาษาไทยแล้วยังต้องรู้ภาษาขอมเพื่อที่จะอ่านคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและคาถาต่างๆที่บันทึกเป็นภาษาขอมได้ ภาษาไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงให้นักปราชญ์คิด รวมทั้งตัวเลข ก็นำมาจากภาษาขอมเป็นส่วนใหญ่

อาคารทางซ้ายในปราสาทมีหลังเดียว วัสดุหลักที่ใช้ก่อสร้างปราสาททั้งหมดส่วยใหญ่เป็นหินทรายหินทราย

ในปัจจุบัน ในวัดยังมีสิ่งคัญคือหลวงพ่อหิน อายุนับพันปีซึ่งคนในแถบนี้นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มักมาบนให้ท่านช่วยเสมอๆ หลวงพ่อหินอยู่ในวิหาร ทางซ้ายมือใกล้ประตูวัด อยู่นอกปราสาท

นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นของพระเกจิดังของเมืองไทยตั้งอยู่รอบวิหารหลวงพ่อหินด้วย

ผู้เขียนหน้าปราสาทแถวกลาง

นาคห้าเศียรทำด้วยหินทราย นาคเป็นวัตว์ที่คนในลุ่มน้ำโขงนับถือมากสร้าวไว้เฝ้าปราสาท

อ่านเพิ่มเติม »